มารู้จักกับคดีผู้บริโภค|มารู้จักกับคดีผู้บริโภค

มารู้จักกับคดีผู้บริโภค

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

มารู้จักกับคดีผู้บริโภค

ปัจจุบันคดีแพ่งในศาลยุติธรรมเกือบ 100% เป็นคดีผู้บริโภคทั้งนั้น ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน

บทความวันที่ 16 มิ.ย. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3382 ครั้ง


 มารู้จักกับคดีผู้บริโภค

 
    ปัจจุบันคดีแพ่งในศาลยุติธรรมเกือบ 100%  เป็นคดีผู้บริโภคทั้งนั้น ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีคดีผู้บริโภคขึ้นสู่ศาลรวมทั้งสิ้น 246,942 คดี เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 22.9 ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจควรจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 และวิธีการฟ้องร้องดำเนินคดีเกี่ยวกับคดีผู้บริโภค เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากของผู้ประกอบธุรกิ ปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับคดีผู้บริโภค มีดังนี้
             1.ส่วนใหญ่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผิดศาล ไปฟ้องที่ศาลที่มูลคดีเกิด ที่ถูกต้องจะต้องฟ้องที่ศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนา ตามมาตรา 8
             2.อายุความทางแพ่งก็แตกต่างกัน คดีผู้บริโภคถ้ายังมีการเจรจาค่าเสียหายกันอยู่ อายุความจะสะดุดหยุดอยู่ จนกว่าจะมีการบอกเลิกการเจรจาถึงแม้จะเกิน 10 ปี ไปแล้ว ก็ฟ้องร้องดำเนินคดีกันได้ ตามมาตรา 14
             3.ฟ้องถ้าบกพร่อง คดีผู้บริโภคส่วนใหญ่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขได้ไม่ยากนักไม่เหมือนกับคดีแพ่งสามัญทั่วไป ตามมาตรา 20 วรรคสอง
             4.ผู้บริโภคเป็นโจทก์ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมตาม มาตรา 18 วรรคแรก
             5.การสืบพยานในศาล ข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบธุรกิจภาระการพิสูจน์ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภคพิสูจน์เพียงว่าได้รับความเสียหายจากสินค้าหรือการใช้บริการก็พอแล้ว ไม่ต้องพิสูจน์ว่า ความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้ประกอบการ ตามมาตรา 29
ตัวอย่างคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภค
              คำวินิจฉัยประธานศาลอุทธรณ์ที่  259/2553  โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด  มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการหลายประการ  เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน  2551 โจทก์ขายเครื่องพิมพ์เอกสารจำนวน 1 เครื่อง  ราคา  95,000 บาท  ให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงเป็นผู้ขายและเป็นผู้ประกอบธุรกิจ โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ซื้อเครื่องพิมพ์เอกสารดังกล่าวจากโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1  นำไปให้บริการแก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1  เชื่อว่านำไปใช้ในงานของจำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ซื้อและเป็นผู้บริโภค  เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นคดีพิพาทระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย  อันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการเป็นคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551  มาตรา 3 (1) ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์ฟ้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1  เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีผู้บริโภคตามมาตรา 3 (1) จึงเป็นคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 (3)
             คำวินิจฉัยประธานศาลอุทธรณ์ที่  23/2552 โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลย (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ดำเนินกิจการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน  เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2550  โจทก์ได้รับอุบัติเหตุจึงเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลดังกล่าว  แพทย์ของโรงพยาบาลทำการผ่าตัดรักษาโจทก์ซึ่งการตรวจรักษาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โจทก์หายจากอาการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุนั้น  อันมีลักษณะเป็นการจัดทำการงานให้อย่างหนึ่ง และแม้โจทก์เข้ารับการรักษาโดยใช้สิทธิรักษาพยาบาลกับสำนักงานประกันสังคม  จังหวัดปราจีนบุรีโดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายเอง  แต่ก็แสดงว่าทางโรงพยาบาลมีการเรียกเก็บเงินในการรักษาพยาบาลอยู่ด้วย  เพียงแต่โจทก์มิได้เสียค่าใช้จ่ายเองโดยตรงเท่านั้น  เมื่อการให้บริการของจำเลยมีการเรียกเก็บค่าบริการเป็นค่าตอบแทน  จึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ให้บริการและเป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านสาธารณสุข ส่วนโจทก์เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในสังจัดของจำเลย  โจทก์จึงเป็นผู้ใช้บริการและเป็นผู้บริโภคเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด  ซึ่งสืบเนื่องมาจากการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลดังกล่าวจึงเป็นคดีพิพาทระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการใช้บริการ  ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 (1) 
             คำวินิจฉัยประธานศาลอุทธรณ์ที่  40/2554 โจทก์ (วัด) มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัด การที่โจทก์นำตึกแถวอันเป็นทรัพย์สินของวัดออกไปให้จำเลยเช่าโดยเรียกค่าเช่าเป็นการตอบแทน  ซึ่งตามบทนิยามศัพท์ในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551  มาตรา 3 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 3 การขายและซื้อหมายความรวมถึงการให้เช่าและเช่าด้วย  โจทก์จึงเป็นผู้ขายและผู้ประกอบธุรกิจ  ส่วนจำเลยเป็นผู้ซื้อและผู้บริโภค  เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวที่เช่า  จึงเป็นคดีพิพาทระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ ตามกฎหมายอันเนื่องมาจาก  เป็นผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 (1) ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยถือเป็นคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551  มาตรา 21  
            คำวินิจฉัยประธานศาลอุทธรณ์ที่  784/2558  ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน  แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาโจทก์แถลงว่าไม่เคยให้ผู้ใดกู้ยืมเงิน  สาเหตุที่ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินเนื่องจากเป็นเพื่อนกับลูกเขยโจทก์  แต่พฤติการณ์แห่งคดีได้ความว่า โจทก์เรียกดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนโจทก์เป็นผู้ให้บริการทางการเงินจึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจ  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 3 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นผู้บริโภคตามบทบัญญัติดังกล่าว  คดีนี้เป็นคดีแพ่งระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 (1) เมื่อคดีของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้ประธานคดีผู้บริโภคในส่วนจำเลยี่ 2 ซึ่งโจทก์ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน  ซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงเป็นคดีผู้บริโภคด้วย
       (อ้างอิง หนังสือคำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 อ.เอื้อน  ขุนแก้ว)
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

สวัสดีค่ะ พอดีมีพี่เป็นเภสัช ได้ทำการเปิดเพจบนเฟสบุ๊ค และมีการเขียนบทความเรื่องข้อควรระวังเรื่องการใช้ยาไป โดยมีการแนบรูปเป็นตัวอย่างของยา ที่นี้ก็มีการแชร์กันไปพอสมควร และบริษัทของผลิตภัณฑ์นั้นได้โทรมาโดยบอกว่าทางเราต้องลบรูปนั่นออกไป และต้องเขียนคำแถลงการณ์ขอโทษ หลังจากนั้นก็โทรมาให้ต้องไปบริษัทเพื่อไปเขียนบทความที่บริษัทเค้าต้องการ ไม่อย่างงั้นจะฟ้องร้องค่ะ ในกรณีนี้สามารถมีวิธีไกล่เกลี่ยอย่างไรได้บ้างคะ หรือ ทางเราต้องยอมทำตามที่ทางบริษัทว่ามาคะ 

โดยคุณ ออฟ 16 มิ.ย. 2559, 16:28

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก