คำพิพากษาคดีความลับทางการค้า|คำพิพากษาคดีความลับทางการค้า

คำพิพากษาคดีความลับทางการค้า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาคดีความลับทางการค้า

ปัจจุบันลูกจ้างมีการขโมยความลับทางการค้าของนายจ้างเป็นจำนวนมาก

บทความวันที่ 26 พ.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 6583 ครั้ง


 คำพิพากษาคดีความลับทางการค้า

ปัจจุบันลูกจ้างมีการขโมยความลับทางการค้าของนายจ้างเป็นจำนวนมาก และมีคดีความเกี่ยวกับความลับทางการค้าหลายคดี ปัจจุบันได้มีคำพิพากษาวางบรรทัดฐานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิของนายจ้างเกี่ยวกับความลับทางการค้า ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจ ห้ามเผยแพร่ให้กับคู่แข่งหรือบุคคลอื่น ดังนั้นสัญญาจ้างงานจึงมีการระบุห้ามลูกจ้างเผยแพร่ความลับทางการค้าหรือไปทำงานกับคู่แข่งภายในระยะเวลาที่กำหนด หากฝ่าฝืนต้องชดใช้ค่าปรับตามที่ตกลงไว้ตามสัญญาจ้าง 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364/2558   ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยเป็นพนักงานโจทก์ตำแหน่งหัวหน้างานผสมผลิตภัณฑ์บำรุงผิว มีหน้าที่ควบคุมการผลิตตามแผนงานของแผนกวางแผนได้กำหนดวัตถุดิบ ขั้นตอน และวิธีการผลิตแล้ว ฝ่ายผลิตมีหน้าที่ผลิตตามขั้นตอนและวิธีการที่ฝ่ายวางแผนกำหนด โจทก์ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการผลิตตามแผนงานของแผนกวางแผนดังกล่าวซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตโจทก์จะกำหนดเป็นรหัส พนักงานฝ่ายผลิตรวมทั้งจำเลยไม่ทราบว่าวัตถุดิบดังกล่าวคืออะไร ในการปฏิบัติงานดังกล่าวโจทก์จำเลยทำสัญญาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ข้อ 2 กำหนดว่า จำเลยขณะที่พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุอันใดก็ตาม ภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นสภาพการเป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยจะไม่ปฏิบัติงานเป็นพนักงานของนิติบุคคลอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม ในลักษณะการค้าประเภทชนิดเดียวกัน หรือคล้ายกันกับโจทก์หรือเป็นคู่แข่งทางการค้าของโจทก์ และข้อ 3 กำหนดว่า หลังจากที่จำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์แล้ว จำเลยจะไม่นำความลับหรือข้อมูลของโจทก์ ไม่ว่าความลับหรือข้อมูลนั้น ๆ จะเกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบในงานของจำเลยหรือไม่ก็ตามไปเปิดเผยด้วยวิธีใดก็ตามต่อผู้อื่นหรือนิติบุคคลอื่น ไม่ว่าผู้อื่นหรือนิติบุคคลนั้นๆ จะทำการค้าประเภทใดก็ตาม และข้อที่ 5 กำหนดว่า หากจำเลยผิดหรือฝ่าฝืนสัญญายอมให้โจทก์ฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหายและยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน 500,000 บาท แล้ววินิจฉัยว่า ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยนำความลับทางการค้าไปเปิดเผยให้บริษัทอื่นทราบฟังไม่ขึ้น สัญญาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ไม่เป็นโมฆะ แต่เป็นข้อตกลงที่ทำให้จำเลยถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ จึงมีลักษณะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมไม่อาจใช้บังคับได้
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการเดียวตามอุทธรณ์โจทก์ว่า ข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์เป็นสัญญาที่ขัดกับพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  พ.ศ.2540 หรือไม่ โดยโจทก์อุทธรณ์ในทำนองว่า เหตุที่โจทก์ต้องทำสัญญาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์เนื่องจากการผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางย่อมมีข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า เพื่อคุ้มครองความลับทางการค้า โจทก์จึงให้พนักงานของโจทก์ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องสำอางในระดับหัวหน้าทุกคนลงนามในข้อตกลง ทั้งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่เป็นธรรมและไม่ได้ขัดกับพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540  เห็นว่า โจทก์ผลิตเครื่องสำอางซึ่งในการประกอบกิจการโจทก์ต้องอาศัยการแข่งขันทางธุรกิจการค้า ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิตามสมควรที่จะป้องกันสงวนรักษาข้อมูลและความลับในทางการค้าเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของโจทก์ได้ จำเลยเป็นพนักงานโจทก์ตำแหน่งหัวหน้างานผสมผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการผลิตตามแผนงานของแผนกวางแผน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะทำความตกลงกับจำเลยเพื่อรักษาความลับทางการค้าของโจทก์ได้ด้วยการทำข้อตกลงกับจำเลยในการห้ามประกอบกิจการหรือปฏิบัติงานในกิจการอื่นที่แข่งขันกับโจทก์  เมื่อพิจารณาสัญญาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ข้อ 2 ที่กำหนดว่า  ในขณะที่จำเลยเป็นพนักงานหรือพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตามภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยไม่ปฏิบัติงานเป็นพนักงานของนิติบุคคลอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม ในลักษณะการค้าประเภทหรือชนิดเดียวกันหรือคล้ายกันหรือคู่แข่งทางการค้าของโจทก์นั้น เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าว มีกำหนดเวลาห้ามจำเลยอยู่ 1 ปี อันถือได้ว่าเป็นกำหนดเวลาพอสมควร สัญญาข้อตกลงเรื่องการขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่ทำให้จำเลยต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ  จึงเป็นข้อสัญญาที่เป็นธรรม และพอสมควรแก่กรณี อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
อนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนยุติว่า หลังจากจำเลยพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์ภายใน 1 ปี แล้วไปทำงานกับบริษัทที่มีลักษณะทางการค้าคล้ายกัน จึงมีลักษณะเข้าเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 2 ถือว่าจำเลยผิดสัญญาจ้าง อย่างไรก็ตามข้อตกลงในสัญญาที่มีข้อความว่าหากฝ่าฝืนข้อตกลง จำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเงินจำนวน 500,000 บาท นั้น ย่อมเป็นข้อสัญญาที่กำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า  จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้หรือโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 แต่การกำหนดค่าเสียหายนั้นเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดให้ได้ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์แล้วพิพากษาคดีเสียใหม่ตามรูปคดี พิพากษากลับ ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องค่าเสียหายตามสัญญาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ที่มา : หนังสือคำพิพากษาฎีกาของศาลฎีกา ปี พ.ศ. 2558 เล่ม 4
สาระสำคัญของการจ้างแรงงานคือความซื่อสัตย์สุจริตของลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างสุจริตก็จะไม่มีคดีขโมยความลับทางการค้า
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก