ผู้เอาประกันชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง|ผู้เอาประกันชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง

ผู้เอาประกันชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้เอาประกันชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง

ปัจจุบันมีคดีพิพาทระหว่างบริษัทประกันภัยประเภทประกันชีวิตไม่ยอมจ่ายค่าสินไหมทดแทน

บทความวันที่ 19 พ.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2695 ครั้ง


 ผู้เอาประกันชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง

 
ปัจจุบันมีคดีพิพาทระหว่างบริษัทประกันภัยประเภทประกันชีวิตไม่ยอมจ่ายค่าสินไหมทดแทนเมื่อผู้เอาประกันตาย โดยอ้างว่าไม่เปิดเผยความจริงหรือปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้ง ส่วนใหญ่เป็นโรคต้องห้าม ประวัติการรักษาโรคร้ายแรง ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างบริษัทประกันชีวิตกับผู้เอาประกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่วัตถุประสงค์ของการประกันชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่ดีทำให้ชีวิตของคนมีความยั่งยืนมั่นคงมากขึ้นในเวลาที่เจ็บป่วย รวมทั้งเป็นการออมเงินหลังจากที่ตัวเองได้ตายไปแล้ว ลูกหลานจะได้มีเงินทองใช้จ่ายได้ไม่ลำบาก มีผู้เอาประกันชีวิตหลายรายถามมายังทนายคลายทุกข์เกี่ยวกับข้อกฎหมายและคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับหน้าที่ในการเปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันในขณะทำสัญญาประกันชีวิต ทนายคลายทุกข์จึงขอให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและตัวอย่างคดีที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
1.ผู้เอาประกันภัยหรือผู้เอาประกันชีวิตมีหน้าที่ต้องเปิดเผยความจริง 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 865  ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป
 
2.ตัวอย่างคดีที่ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2535
             การที่สัญญาประกันชีวิตจะเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ต้องเป็นกรณีที่บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจ จะจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้ บอกปัด ไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ ซึ่ง กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นคือบุตรโจทก์ หาใช่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความ จริง ที่ บุตร โจทก์เป็นโรคลมชักให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบ ก็ไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ.
 
3.การเปิดเผยความจริงหมายความรวมถึงขณะต่ออายุสัญญาประกันชีวิตด้วย 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2501
             กรมธรรม์ประกันชีวิตขาดอายุ บริษัทต่ออายุให้ เพราะผู้ถูกประกันชีวิตทำใบรับรองว่าสุขภาพดีเช่นเดิม แต่ความจริงผู้ถูกประกันชีวิตรู้อยู่ว่า ป่วยเกี่ยวกับท้องและสุขภาพไม่สมบูรณ์เป็นการปกปิดความจริงอันควรต้องแจ้งให้บริษัททราบบริษัทบอกล้างสัญญาซึ่งเป็นโมฆียะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2516
            หน้าที่เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัย มิได้สิ้นสุดลงเพียงในชั้นยื่นคำเสนอขอเอาประกันภัยโดยกรอกคำตอบในแบบคำขอนั้นเท่านั้น แต่ยังคงมีอยู่ตลอดเวลาในระหว่างนั้นเรื่อยไปจนถึงเวลาที่ผู้รับประกันภัยสนองตอบรับจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วระหว่างคู่กรณี ฉะนั้น ในกรณีประกันชีวิต แม้ผู้เอาประกันภัยจะได้กรอกแบบคำขอเอาประกันชีวิตแล้ว โดยเฉพาะในข้อถามที่ 7 ว่า ตนไม่เคยเป็นโรคกระเพาะอักเสบ โรคตับอักเสบ ฯลฯ ยื่นส่งแก่บริษัทประกันภัยไปแล้วก็ตาม ถ้าภายหลังนั้นผู้เอาประกันภัยเกิดป่วยต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคกระเพาะอาหารและโรคตับแข็งซึ่งเป็นผลให้ข้อความจริงซึ่งได้แถลงไปแล้วแต่แรกนั้นคลาดเคลื่อนไม่ตรงต่อความเป็นจริง และผู้เอาประกันภัยย่อมทราบว่ายังอยู่ในระหว่างเวลาที่บริษัทยังพิจารณาคำขอ และยังมิได้ออกกรมธรรม์ตอบรับมา ทั้งข้อถามต่างๆ ในแบบคำขอนั้น ผู้เอาประกันภัยเองก็ได้ทราบและรับรองไว้ว่าเป็นข้อความจริงอันเป็นมูลฐานและสารสำคัญแห่งการออกกรมธรรม์ของฝ่ายผู้รับประกันภัยดังนี้ ย่อมมีผลให้สัญญาไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกล้างและคืนแต่ค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
 
4.ข้อความจริงที่ต้องเปิดเผยให้บริษัทประกันชีวิตทราบ จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมรับทำสัญญาประกันภัยด้วย 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2519
              เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยผู้รับประกันภัยถือว่าข้อความจริงที่ว่ารถเคยถูกชนมาก่อน ซึ่งโจทก์ผู้เอาประกันมิได้เปิดเผยให้จำเลยทราบนั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลเป็นการจูงใจจำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นกว่าที่เรียกไว้หรือเป็นเหตุบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย เพียงแต่มีผลให้จำเลยไม่ยอมรับประกันภัยในจำนวนเงินที่โจทก์เอาประกันภัยไว้ เท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 อันจะทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ 
             การเอาประกันภัยไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้ที่สุจริต จึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก