สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้|สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้

สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ปัจจุบันมีหนี้เสียเกิดขึ้นมากในระบบสถาบันการเงินและนอกระบบ จะเห็นได้จากสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ

บทความวันที่ 28 เม.ย. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3471 ครั้ง


 สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้

 
ปัจจุบันมีหนี้เสียเกิดขึ้นมากในระบบสถาบันการเงินและนอกระบบ จะเห็นได้จากสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อและเร่งฟ้องคดีต่อศาล ยกเว้นมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้สำเร็จเท่านั้น สิ่งที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ควรรู้ในการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเนื้อหาสาระในข้อตกลงควรมีข้อตกลงดังต่อไปนี้
1.หนี้ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกัน ณ วันที่ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ตกลงยอมรับว่า มีภาระหนี้สินกับเจ้าหนี้ เป็นเงินต้น ดอกเบี้ยในอัตราใด เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด เป็นต้น
2.หลักประกัน หลักประกันที่ลูกหนี้เคยให้ไว้เป็นประกันสัญญาสินเชื่อ เช่น เคยมีการจดจำนองบ้านและที่ดินหรือโรงงานไว้เพื่อประกันการชำระหนี้ หลักประกันนี้อาจจะเป็นของลูกหนี้โดยตรงหรือของบุคคลที่สามที่นำทรัพย์สินมาจดจำนองประกันหนี้บุคคลอื่นก็ได้ นอกจากนี้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องมีข้อตกลงว่า ลูกหนี้ ยอมรับและยืนยันว่าหลักประกันที่ให้ไว้ยังคงเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อไป
3.ข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จะต้องระบุว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการชำระหนี้อย่างไร เป็นการแปลงหนี้ใหม่หรือไม่ หรือเป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น โดยส่วนใหญ่ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
-การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
-การชำระดอกเบี้ย
-การเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้
-ลูกหนี้ ตกลงยินยอมให้เจ้าหนี้นำเงินที่ได้รับเข้าชำระหนี้โดยทันที
-กรณีมีหลักประกันเพิ่มเติม
4.เงื่อนไขและข้อตกลงอื่นๆที่เอื้อประโยชน์ให้กับเจ้าหนี้ในการติดตามผลการชำระหนี้
-ลูกหนี้จะแต่งตั้งบุคคลซึ่งเจ้าหนี้เห็นชอบเข้าเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี
-ลูกหนี้ยินยอมให้ตัวแทนของเจ้าหนี้เข้าตรวจดูหลักประกัน
-ลูกหนี้จะไม่จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร
-ลูกหนี้จะต้องจัดทำและส่งงบการเงิน
-ลูกหนี้จะต้องเอาประกันภัยและจัดการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยในทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
-ลูกหนี้จะแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบทันทีเมื่อมีข้อพิพาทในคดีอื่น
-ลูกหนี้จะรักษาทรัพย์สินต่างๆ ในสภาพพร้อมใช้งาน
-ลูกหนี้จะไม่ทำการโอนขาย ให้เช่า จำหน่าย กับทรัพย์สินของลูกหนี้
-ลูกหนี้จะดำรงไว้ซึ่งสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอยู่ขณะนี้
-ลูกหนี้จะไม่ก่อหนี้ ข้อผูกพัน/หรือภาระใดๆ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้
-ลูกหนี้จะไม่ควบคุมหรือรวมกับบุคคลอื่นใดเพื่อให้มีการเลิกบริษัท
-ลูกหนี้จะไม่ยื่นขอให้ศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งจะไม่ก่อภาระผูกพัน ไม่ว่าตามกฎหมาย
-ล้มละลาย กฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการหรือกฎหมายอื่นใด
5.การกระทำที่เป็นการผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
-ลูกหนี้ผิดนัดชำระเงินจำนวนใดๆ ที่ถึงกำหนดตามสัญญานี้
-ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด
-คำรับรองหรือคำยืนยันใดๆ ที่ลูกหนี้ให้ไว้ตามสัญญานี้ เป็นคำรับรองหรือคำยืนยันที่ไม่เป็นความจริง
-หนี้หรือภาระใดๆ ของลูกหนี้ที่มีอยู่กับบุคคลใดๆ หรือลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้นั้นถึงกำหนดชำระ
-ลูกหนี้หยุดหรือแสดงท่าทีว่าจะหยุดดำเนินกิจการของตน
-ลูกหนี้เข้าทำความตกลงใดๆ กับเจ้าหนี้หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
-มีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น ทำให้เจ้าหนี้เชื่อได้ว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เป็นคุณกับการประกอบกิจการของลูกหนี้
-ผู้ค้ำประกัน(ถ้ามี) เสียชีวิตหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือเลิกกิจการ หรือปิดกิจการหรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือขอยกเลิกการค้ำประกัน
6.ผลทางกฎหมายหากลูกหนี้ผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
-ลูกหนี้ตกลงยินยอมให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ เกิดกรณีผิดสัญญา
-ให้ถือว่าเป็นการผิดนัดในจำนวนหนี้ตามสัญญาสินเชื่อทั้งหมด
-ให้ถือว่าข้อตกลงผ่อนปรนต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้ เป็นอันสิ้นสุดลงทันที
-ให้ถือว่าบรรดาหนี้สินทั้งหมด เป็นอันถึงกำหนดชำระทันที
-ลูกหนี้ตกลงชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิม
-เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะระงับการใช้วงเงินสินเชื่อตามสัญญาสินเชื่อทั้งหมดหรือบางส่วนได้ทันที
ก่อนที่จะทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ต้องคิดก่อนนะครับว่าจะหาเงินที่ไหนมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ เพราะถ้าผิดนัดชำระหนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยทั่วไปสถาบันการเงินก็จะฟ้องเป็นคดีแพ่งทันทีเลย
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 รบกวนสอบถามเรื่อง ค้ำประกันค่ะ คือ ดิฉันได้เอา ตึกแถวไป ค้ำเงินกู้ให้บริษัท ของ ญาติ 

โดยวงเงิน ที่ทำสัญญา 1 ล้าน บาท แต่ต่อมา ทางบริษ ของญาติได้มีปัญหาการชำระเงินกับทางธนาคาร และ มีการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยทางธนาคาร ได้ รวม โฉนดทุกใบที่ค้ำเป็นสัญญา เดียวกัน ของดิฉัน 1 ชุด ของบริษัท 2 ชุด  และ ให้เซนต์ ปรับปรุง ในชุดเดียวกัน ทำให้ปัจจุบัน ดิฉัน ต้อง ไปรับสภาพหนี้ ของ ญาติ ด้วย โดย ไม่สามารถ ถอนการค้ำประกัน

ที่ไปเซนต์สัญญา ไว้กับธนาคาร อยากเรียบปรึกษาว่า หาก ดิฉัน ขายทรัพย์ที่ค้ำ และเอาเงิน

ชำระธนาคาร ในส่วนของ โฉนดของดิฉัน แล้ว จะมีทางไหม ค่ะ ที่จะออก จากการไป ค้ำหนี้ของญาติ ค่ะ  ด้วย ไม่ทราบในตอน ที่เซนต์ สัญญา ว่า ต้องไป รับ ภาระ หนี้ ที่ไม่เกียว กับ ดิฉันเลยค่ะ

ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเงินค่อนข้างเยอะ และรู้สึกว่า ไม่ยุติธรรมที่ต้องให้ ดิฉันไป แบกหนี้ของเขาไว้ด้วยค่ะ

โดยคุณ Mongkol 8 ส.ค. 2559, 16:29

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก