ข้อควรระวังในการซื้อขายสินค้าออนไลน์|ข้อควรระวังในการซื้อขายสินค้าออนไลน์

ข้อควรระวังในการซื้อขายสินค้าออนไลน์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อควรระวังในการซื้อขายสินค้าออนไลน์

เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการสำรวจพบว่า คนไทยติดอันดับ 1 ที่นิยมซื้อขายสินค้าออนไลน์มากที่สุดในโลก

บทความวันที่ 21 เม.ย. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2017 ครั้ง


 ข้อควรระวังในการซื้อขายสินค้าออนไลน์

 
เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการสำรวจพบว่า คนไทยติดอันดับ 1 ที่นิยมซื้อขายสินค้าออนไลน์มากที่สุดในโลก ฟังแล้วน่าตกใจเพราะอัตราการเจริญเติบโตในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของคนไทยเติบโตเร็วมาก อะไรที่เป็นคุณอนันต์ ก็มีโทษมหันต์ มองในแง่ดีเป็นช่องทางหนึ่งในการเสนอขายสินค้าและบริการที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง โดยลงทุนต่ำ มองในแง่ร้ายเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพตั้งบริษัทฯ ขึ้นมาเพื่อหลอกลวงประชาชน ทำให้ประชาชนถูกหลอกลวงได้ง่าย เพราะไม่สามารถแยกแยะได้ว่า โฆษณาสินค้ารายใดเป็นของจริงหรือของปลอม
ในวันนี้ทนายคลายทุกข์จึงขอนำเสนอข้อกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ว่าทั้งผู้ขายและผู้ซื้อมีข้อควรระวังอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจและเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคที่สุจริตจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพ ที่อาศัยโซเชี่ยลมีเดียเป็นช่องทางในการหลอกลวง ต้มตุ๋นประชาชน ดังนี้
ข้อควรระวังของผู้ประกอบธุรกิจในการขายสินค้าหรือให้บริการทางออนไลน์ 
1.เป็นบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่บริษัทร้างหรือบริษัทที่อยู่ระหว่างการชำระบัญชี เพราะถ้าหากท่านนำบริษัทร้างมาขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต ก็ถือว่าท่านฉ้อโกงประชาชน เคยมีคดีลักษณะแบบนี้แล้วหลายคดี
2.นำเสนอขายสินค้าหรือบริการตามวัตถุประสงค์ตามที่จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น จดทะเบียนว่าขายอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือแต่ไปโฆษณาขายสินค้าประเภท เสื้อผ้าหรือเครื่องสำอางค์ เป็นต้น การกระทำลักษณะดังกล่าวก็อาจเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภคได้
3.ไม่นำเสนอขายสินค้าหรือบริการที่ผิดไปจากความจริงหรือเกินความจริง เช่น เครื่องสำอางค์ที่อ้างว่าทานแล้วจะหน้าใส หรืออาหารเสริมบางชนิดที่อ้างว่ากินแล้วผอม หรือทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว ซึ่งสิ่งเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องหลอกลวงประชาชนทั้งสิ้น
4.ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น เช่น ไม่นำภาพในเว็บไซต์ของบุคคลอื่นมาประกอบการขายสินค้า ไม่ใช้แพค
เก็จสินค้าในลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับกับสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่น  รวมทั้งไม่แอบอ้างว่าสินค้าที่ตนเองขายเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่น
5.การรับประกันคุณภาพสินค้าต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ รวมทั้งการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าควรระบุให้ชัดเจน ไม่สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค เช่น  โฆษณาว่ารับประกัน 3 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  แต่เมื่อผู้บริโภคนำสินค้าไปเปลี่ยนสินค้าหรือซ่อมแซมกลับไม่ยอมซ่อมแซม แก้ไข หรือเปลี่ยนสินค้า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการหลอกลวงผู้บริโภคเช่นกัน
ข้อควรระวังสำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการทางออนไลน์
1.ต้องตรวจสอบว่าผู้ประกอบธุรกิจจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ โดยตรวจสอบจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งตรวจสอบได้ไม่ยากนัก โดยเข้าไปที่ http://www.dbd.go.th หากไม่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ก็อย่าไปซื้อสินค้าด้วย
2.ประกอบธุรกิจมาเป็นเวลานานเพียงใด และประกอบธุรกิจในหรือนอกวัตถุประสงค์  บริษัทฯที่จดทะเบียนใหม่ ให้ผู้บริโภคใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะอาจเป็นบริษัทที่สุ่มเสี่ยงที่อาจตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคก็เป็นได้  แต่ถ้าเป็นบริษัทจดทะเบียนใหม่ แต่ถ้าเจ้าของกิจการเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงก็พอไว้ใจได้
3.ผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทางสังคมหรือไม่ ถ้าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงก็จะมีความรับผิดชอบสูง โอกาสที่จะหลอกลวงผู้บริโภคก็มีน้อยแต่ก็ให้ระมัดระวังเฟสบุ๊คปลอม อินสตาแกรมปลอม ที่เอาชื่อคนดังมาเป็นโปรไฟล์ หลอกลวงผู้บริโภค ก็มีอยู่หลายคดีที่มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนอยู่เป็นจำนวนมาก
4.การโฆษณาหรือการรีวิวสินค้าต้องไม่เกินความจริงหรือเหลือเชื่อ เช่น การขายสินค้าประเภทอาหารเสริมหรือยาที่ไม่มีรายงานวิจัยทางการแพทย์สนับสนุน  สิ่งเหล่านี้เป็นการกระทำที่ผู้บริโภคไม่ควรเข้าไปใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง
5.การชำระเงินค้าสินค้าหรือบริการ ต้องชำระเข้าบัญชีของบริษัทเท่านั้น ไม่ควรชำระเงินผ่านบัญชีส่วนตัว
6.การซื้อสินค้าประเภทใช้แล้วหรือสินค้ามือสอง เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ จะต้องขอรายละเอียดเกี่ยวกับการจดทะเบียน เอกสารเกี่ยวกับแสดงกรรมสิทธิ์ เพราะสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าควบคุม และผู้ขายอาจไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ เช่น อยู่ระหว่างการเช่าซื้อ หรือแย่งกรรมสิทธิ์มาจากบุคคลอื่นมาขาย เช่น ลักทรัพย์ รับของโจร เป็นต้น  หากท่านไปซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์มือสองทางอินเตอร์เน็ต ท่านอาจถูกดำเนินคดีข้อหารับของโจรก็เป็นได้ 
7.การซื้อสินค้าที่มีราคาสูงควรเดินทางไปพบที่สำนักงานของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อตรวจสอบว่ามีอยู่จริงหรือไม่อย่างไร เพราะภาพที่แสดงทางอินเตอร์อาจเป็นภาพที่ตัดต่อหรือตกแต่งให้ดูดี หรืออาจเป็นของปลอมก็เป็นได้
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการทางออนไลน์
1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, มาตรา 342, มาตรา 343
2. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, มาตรา 31, มาตรา 69, มาตรา 70
3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14, มาตรา 16
4. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก