การขอคืนรถของกลางจากตำรวจ|การขอคืนรถของกลางจากตำรวจ

การขอคืนรถของกลางจากตำรวจ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การขอคืนรถของกลางจากตำรวจ

เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมามีข่าวดัง กรณีพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง

บทความวันที่ 4 ก.พ. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 9106 ครั้ง


การขอคืนรถของกลางจากตำรวจ


    เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมามีข่าวดัง กรณีพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้องยิงตัวตายเนื่องจากความเครียดจากการทำงาน ส่วนสาเหตุยังไม่ได้ข้อสรุป รายงานข่าวบางส่วนแจ้งว่า ถูกตำหนิจากผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการเป็นพนักงานสอบสวน คดียึดรถจำนวน 204 คัน ที่ห้างสรรพสินค้าไอที สแควร์ หลักสี่ เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2558 แต่สาเหตุที่แท้จริงยังไม่แน่ชัดว่าเครียดจากเรื่องอะไรจึงต้องฆ่าตัวตาย มีไฟแนนซ์ซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ถูกผู้เช่าซื้อนำไปจำนำไว้หลายราย  สอบถามผมมาขณะที่ไปบรรยายให้กับพนักงานยึดรถของไฟแนนซ์ โดยสอบถามว่า รถที่ถูกยึดไว้ในระหว่างการสอบสวน สามารถขอคืนได้หรือไม่อย่างไร ผมจึงได้ไปค้นคว้าเกี่ยวกับคดีที่ผ่านมาพบว่า ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีดังกล่าวมาแล้ว เรื่องแนวทางการคืนรถของกลางในระหว่างการดำเนินคดี โดยศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัย ดังนี้
    1.ต้องพิจารณาจาก ป.วิ.อ.มาตรา 132 เรื่องการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด
    2. การค้นและการยึดรถปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการค้น การยึดหรือไม่
    3. ประมวลระเบียบตำรวจแต่ละกองบัญชาการ
    4. ระเบียบกรมตำรวจเกี่ยวกับคดีข้อ 31  จะคืนได้ต่อเมื่อคดีถึงที่สุดเท่านั้น และต้องคืนให้แก่ผู้ต้องหาหรือผู้มีสิทธิเรียกร้องคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
    5. ระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับรถของกลาง พ.ศ.2532 ลงวันที่ 5 มกราคม 2532 ข้อ 5 วรรคสอง ข้อ 8 และข้อ 9 ที่กำหนดให้กรณีที่มีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์รถของกลางและเมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ให้พนักงานสอบสวนรอฟังการพิจารณาของศาลก่อนแล้วจึงจะดำเนินการตามข้อบังคับนี้ต่อไป กรณีปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของรถหรือเป็นผู้มีสิทธิจะรับรถก็ขอคืนได้ แต่หากไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของรถหรือเป็นผู้มีสิทธิขอรับรถ ให้เจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ดำเนินการตรวจสอบหลักฐานตามวิธีการที่ระเบียบกำหนดไว้
สรุป การขอคืนของกลางในชั้นพนักงานสอบสวนขอคืนได้ ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้เป็นพยานหลักฐาน และไม่มีผู้โต้แย้งกรรมสิทธิ์รถของกลาง และต้องคืนให้กับผู้ต้องหาหรือเจ้าของที่แท้จริงเท่านั้น หากคืนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็คงจะต้องรับผิดชอบฐานละเมิด
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 140/2545
    ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า โดยที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 กำหนดว่า เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐานให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจดังต่อไปนี้ (2) ค้นเพื่อพบสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิดหรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยค้น และ (4) ยึดไว้ซึ่งสิ่งของที่ค้นพบหรือส่งมาดังกล่าวในอนุมาตรา (2) และ (3) รวมทั้งมาตรา 186 กำหนดว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งต้องมีข้อสำคัญเหล่านี้เป็นอย่างน้อย (9) คำวินิจฉัยของศาลในเรื่องของกลางหรือในเรื่องฟ้องทางแพ่ง ประกอบกับประมวลระเบียบการตำรวจ ภาค 1 ระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ข้อ 31 กำหนดให้เจ้าพนักงานผู้จับหรือเจ้าพนักงานผู้รับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหาและยึดสิ่งของต่างๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานไว้ได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่นและระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับรถของกลาง พ.ศ.2532 ลงวันที่ 5 มกราคม 2532 ข้อ 5 วรรคสอง ข้อ 8 และข้อ 9 ที่กำหนดให้ในกรณีที่มีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์รถของกลางและเมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ให้พนักงานสอบสวนรอฟังการพิจารณาของศาลก่อนแล้วจึงจะดำเนินการตามข้อบังคับนี้ต่อไป กรณีปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของรถหรือเป็นผู้มีสิทธิจะรับรถก็ขอคืนได้ แต่หากไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของรถหรือเป็นผู้มีสิทธิขอรับรถ ให้เจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ดำเนินการตรวจสอบหลักฐานตามวิธีการที่ระเบียบกำหนดไว้
    สำหรับคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีดังกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และที่ 3 ได้คืนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 30-3256 กรุงเทพมหานคร และรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 30-3958 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นรถของกลางในคดีอาญา หมายเลขดำที่ 2464/2544 และที่ 2463/2544 ตามลำดับ ให้แก่นายบรรยงค์โดยไม่รับฟังพยานหลักฐานของผู้ฟ้องคดี และคดีทั้งสองยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดมีนบุรี และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 และที่ 5 ได้คืนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 30-4326 กรุงเทพมหานคร ให้แก่นายบรรยงค์โดยไม่สุจริต ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 5 คืนรถยนต์ดังกล่าวให้แก่นายบรรยงค์เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่สุจริต และมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม จึงฟ้องต่อศาลปกครอง  กรณีดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบฯ เกี่ยวกับการคืนรถของกลาง เนื่องจากเมื่อเจ้าพนักงานยึดรถของกลางได้แล้ว  การคืนรถของกลางจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบฯ ถ้าเป็นกรณีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์รถของกลางก็จะต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนเสียก่อน โดยศาลจะต้องมีคำวินิจฉัยในเรื่องรถของกลางนี้ก่อนที่เจ้าพนักงานจะคืนรถของกลางให้กับผู้มีสิทธิ ซึ่งในคำฟ้องนี้รถของกลางดังกล่าวยังมีปัญหาการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับนายบรรยงค์ โดยเฉพาะรถของกลาง 2 คันแรก อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดมีนบุรี คดียังไม่เป็นที่ยุติ ส่วนคันที่สามยังไม่ปรากฎว่ามีการฟ้องต่อศาลในขณะนี้ แสดงว่าคดีก็ยังไม่เสร็จเช่นกัน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 5 กลับพิจารณาสั่งให้คืนรถของกลางให้นายบรรยงค์ไป จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ถูกฟ้องคดี กรณีถือได้ว่าคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีเข้าลักษณะเป็นคดีปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง(3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 คำฟ้องนี้จึงอยู่ในอำนาจศาลปกครองที่จะรับไว้พิจารณาได้
    จึงมีคำสั่งให้รับคำฟ้องไว้พิจารรา และให้ศาลปกครองชั้นต้นดำเนินการต่อไป
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

จะยื่นร้องขอคืนของกลางได้เมื่อไหร่

โดยคุณ ณัฐมนชนัน 2 ต.ค. 2565, 23:00

ความคิดเห็นที่ 1

 การขอคืนของกลางหลังจากที่เค้าแจ้งว่าให้มารับของกลางได้ ต้องภายในกี่วันคะ อย่างเช่นมอไซอ่ะค่ะ

โดยคุณ จารุวรรณ 31 ธ.ค. 2559, 01:21

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก