คู่ความตายระหว่างพิจารณาคดีอาญา|คู่ความตายระหว่างพิจารณาคดีอาญา

คู่ความตายระหว่างพิจารณาคดีอาญา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คู่ความตายระหว่างพิจารณาคดีอาญา

เมื่อรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคดีจำเลยปลอมและใช้ใบมรณะบัตรให้ลูกสาว

บทความวันที่ 26 พ.ย. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1802 ครั้ง


คู่ความตายระหว่างพิจารณาคดีอาญา

             เมื่อรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคดีจำเลยปลอมและใช้ใบมรณะบัตรให้ลูกสาวนำไปแสดงต่อศาลว่าจำเลยตายแล้ว ศาลจึงได้สอบถามพนักงานอัยการโจทก์ในคดีดังกล่าวซึ่งเป็นคดีอาญาว่าจะคัดค้านอย่างไรหรือไม่ หลังจากนั้นมีการไต่สวน ศาลไม่เชื่อว่าจำเลยถึงแก่ความตายจริง จึงเป็นที่มาของการสืบสวนสอบสวน และพบว่ามีการปลอมและใช้ใบมรณะบัตร สุดท้ายจำเลยถูกจับกุมมาดำเนินคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว มีท่านผู้อ่านสอบถามว่า ถ้าคู่ความตายในระหว่างพิจารณาคดีอาญาผลจะเป็นอย่างไร ตามกฎหมายแล้วเมื่อจำเลยตายในระหว่างพิจารณา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องต้องระงับ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(1)
ตัวอย่างคดีที่จำเลยตายในระหว่างพิจารณาคดี
จำเลยล้มละลาย โจทก์ยังมีสิทธิดำเนินคดีอาญากับจำเลย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2547)

             โจทก์เป็นนิติบุคคลฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แล้วโจทก์ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย แม้จะถือว่าโจทก์สิ้นสภาพบุคคลก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่า ในคดีอาญานั้นเมื่อโจทก์สิ้นสภาพบุคคลหรือตายแล้ว ให้คดีอาญาระงับไปคงมีแต่คดีอาญาเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 และมาตรา 39 กับคดีอาญาเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 เท่านั้น คดีนี้เป็นคดีอาญาอยู่ระหว่างรอการอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังมีผลบังคับอยู่ จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3) มาใช้บังคับมิได้ เมื่อโจทก์มิได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ หรือมีเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ และจำเลยทั้งสอง มิได้นำเงินตามจำนวนในเช็คมาชำระภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ทรงว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คหรือมูลหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยทั้งสองจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่
          สำหรับปัญหาการส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์กรณีที่โจทก์ไม่มีตัวตน หรือไม่มีผู้เข้าดำเนินคดีแทนนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 201 ประกอบมาตรา 216 ก็ได้บัญญัติแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว
จำเลยถึงแก่ความตายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับและโทษก็เป็นอันระงับ(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2530)
             ผู้กระทำความผิดใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานตำรวจแต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้กระทำความผิดย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 และโทษก็เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 ดังนั้น อาวุธปืนซึ่งเป็นปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นที่ผู้ตายใช้ยิงเจ้าพนักงานตำรวจจึงไม่อาจริบได้ตามบทกฎหมาย.
จำเลยตาย ศาลต้องจำหน่ายคดี(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2529)
            พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาวิ่งราวทรัพย์สร้อยข้อมือทองคำหนักสองสลึง 1 เส้น ราคา 2,800 บาท ของผู้เสียหายและมีคำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) มีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปในตัว ศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดี
เมื่อจำเลยตาย อัยการเป็นโจทก์คำขอคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาย่อมตกไปด้วยศาล ต้องจำหน่ายคดี(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2531)
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรและมีคำขอให้จำเลยคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนผู้เสียหายด้วย แม้ผู้เสียหายจะเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการก็ตามเมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมระงับไป และคำขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาย่อมตกไปด้วย จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ.
เมื่อจำเลยตาย คดีส่วนแพ่งศาลต้องให้เลื่อนคดีไป(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2493)
              ในคดีอาญาสินไหม ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์และให้ใช้ราคาทรัพย์ด้วยนั้น เมื่อจำเลยตายในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ๆ ย่อมสั่งให้คดีส่วนอาญาของโจทก์เป็นอันระงับไปตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 77 ส่วนคดีส่วนแพ่งให้เลื่อนไปตามมาตรา 42 แห่ง ป.วิ.แพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 39
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
          (1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
          (2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
          (3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37
          (4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
         (5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น
         (6) เมื่อคดีขาดอายุความ
         (7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
การที่จำเลยจะหลอกศาลว่าตายแล้วนั้น ไม่สามารถตบตาศาลได้เพราะศาลมีวิธีการในการที่จะจับผิดจำเลยได้
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก