ยึดเงินเดือนข้าราชการจ่ายค่าเลี้ยงดูได้|ยึดเงินเดือนข้าราชการจ่ายค่าเลี้ยงดูได้

ยึดเงินเดือนข้าราชการจ่ายค่าเลี้ยงดูได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ยึดเงินเดือนข้าราชการจ่ายค่าเลี้ยงดูได้

ตามปกติเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงชีพ และค่าจ้าง ในส่วนที่เกี่ยวกับลูกจ้างหรือข้าราชการไม่สามารถบังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (1) ,(2),(3) ตามลำดับ

บทความวันที่ 6 ก.ย. 2550, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 15792 ครั้ง


ยึดเงินเดือนข้าราชการจ่ายค่าเลี้ยงดูได้

ยึดเงินเดือนข้าราชการจ่ายค่าเลี้ยงดูได้

 

            ตามปกติเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงชีพ และค่าจ้าง ในส่วนที่เกี่ยวกับลูกจ้างหรือข้าราชการไม่สามารถบังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (1) ,(2),(3) ตามลำดับ แต่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 114 บัญญัติว่า ?ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเพื่อชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพนั้น สิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 268 (1) (2) และ(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเป็นจำนวนตามที่ศาลเห็นสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จำนวนบุพการีและผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย

 

            กฎหมายดังกล่าวให้อำนาจศาลในการที่จะบังคับคดีเอากับเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐที่เป็นพ่อเป็นแม่หรือเป็นผัวเป็นเมีย ไม่ยอมเลี้ยงดูลูกเมีย จะต้องถูกศาลออกหมายบังคับคดี ถึงแม้จะเป็นข้าราชการ นำเงินมาเลี้ยงดูลูกเมียได้ ซึ่งโดยทั่วไปเจ้าหนี้อื่น ๆ ไม่สามารถที่จะบังคับคดีได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว กฎหมายเยาวชนให้อำนาจทำได้ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะทุกวันนี้ ข้าราชการที่ทิ้งลูกทิ้งเมียและไม่มีความรับผิดชอบต่อครอบครัวมีเป็นจำนวนมาก สมควรแล้วที่กฎหมายให้อำนาจยึดหรืออายัดเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยงชีพมาให้ลูกเมียมาใช้กันบ้าง

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 76

สามีรับราชการทหาร จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน ตั้งแต่ลูกคลอดได้ 5 เดือนก็ไม่เคยส่งเสียเลี้ยงดูเลยแม้แต่ครั้งเดียว ดิฉันหาเลี้ยงลูกมาตามลำพังจนตอนนี้น้องอายุ 3 ขวบ ปีหน้าต้องเข้าโรงเรียนแล้ว ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอยากให้มีการยึดเงินเดือนมาเพื่อเป็นเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่ ดิฉันยังไม่ได้หย่ากับสามี แต่ขาดการติดต่อกันมา 2 ปีแล้ว ไม่สามารถติดต่อเขาได้เลย จะทำอย่างไรได้บ้างคะ ช่วยชี้แนะที
โดยคุณ ประวินา 6 ก.ค. 2562, 01:30

ความคิดเห็นที่ 75

ขอคำแนะนำ กรณีที่หย่าขาดและทำสัญญาหลังหย่าการเลี้ยงดูบุตร มีบุตรสองคนจำนวน10000บาทต่อเดือน บิดาของบุตรรับราชการ แต่ตลอดเวลา ระยะ6ปี มีการส่งแต่ไม่เคยครบ10000ตามสัญญาและจะต้องโทรทวงถามทุกครั้งเราสามารถฟ้องอายัดเงินเดือนได้ไหมคะ
โดยคุณ Watcharee 7 ธ.ค. 2561, 22:11

ความคิดเห็นที่ 74

หย่ากับสามี สามีเป็นข้าราชการ แต่มีหนี้สินและรับเงินเดือนไม่ถึงจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ในบันทึกหลังการหย่า (10,000 บาท)   มีบุตรด้วยกัน 2 คน (อายุ 5 ขวบและ 9 ขวบ)  และสามีไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูมาได้ปีกว่าแล้ว ไปทำเรื่องขอให้ต้นสังกัดอายัดเงินเดือนให้ สามีก็ไม่ยอมเซ็นเอกสารยินยอมให้หักเงินเดือน อ้างเหตุว่าโดนตัดเงินกู้จนเหลือไม่พอจ่ายและไล่ให้ไปฟ้องร้องเอา /// จะสอบถามว่า ถ้าทำการฟ้องร้อง ศาลสามารถบังคับอายัดเงินเดือนได้หรือไม่คะ  และอำนาจศาลจะสามารถเรียกอายัดได้ครบตามจำนวนหรือไม่ เพราะเงินเดือนสามีเหลือไม่ถึงจำนวนที่ตกลงกันไว้ /// ขอบคุณค่ะ 

โดยคุณ nat 25 ก.ย. 2561, 15:28

ความคิดเห็นที่ 73

สามีรับราชการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์มีลูกด้วยกัน1 คน ทะเลาะกันเพราะสามีแอบคนกับหญิงอื่นโดยได้เปิดเผยกับพ่อแม่ฝ่ายชาย และฝ่ายชายไม่ส่งเสียเลี้ยงดูบุตร ขับไล่ภรรยาออกจากบ้านพักของหน่วยงานเพื่อให้ญาติฝ่ายชายอยู่แทน มีการข่มขู่จะฟ้องศาล หากมีการฟ้องศาลเราสามารถเรียกส่วนใดได้บ้างค่ะ

โดยคุณ พัชรา 21 เม.ย. 2561, 22:08

ตอบความคิดเห็นที่ 73

เหมือนกันเลยค่ะ เข้าไปติดต่อที่หน่วยรึยังค่ะ

โดยคุณ Pangpang 9 พ.ย. 2561, 16:04

ความคิดเห็นที่ 72

อดีตภรรยารับราชการ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แยกกันอยู่ตั้งแต่ลูกสาว1ขวบ รับปากว่าจะสงเสียลูกสาวแต่ไม่ทำปัจจุบัน2561น้องอายุ12ขวบแล้วจะฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรหรือทำอะไรให้ลูกสาวได้บ้างครับถ้าผมอาจจะเสียชีวิตก่อนน้องโต
โดยคุณ ชนธัญ ภัคจิรโชติ 4 เม.ย. 2561, 18:45

ความคิดเห็นที่ 71

มีคำพิพากษาของศาลครอบครัวและเยาวชรออกมาแล้ว แต่ติดต่อทนายไป ก็บอกว่ารอยื่นหนังสือเพื่อบังคับคดี ผ่านมาจะ 1ปีแล้ว เรื่องยังเงียบ ควรทำยังไงต่อคะ พ่อของลูกที่ศาลสั่งจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร เป็น ตร.ที่ กรมบังตับการตำรวจทางหลวงระดับ สว.

โดยคุณ โอ๋ 20 ม.ค. 2561, 11:29

ความคิดเห็นที่ 70

สอบถามค่ะ  พ่อเป็นตำรวจค่ะ ยศ พ.ต.ท.ค่ะ มีคดีความกับแม่ เรื่องค่าเลี้ยงดู ขึ้นศาลเสี็จสิ้นกระบวนการแล้วคะ ศาลบังคับคดีให้แม่เป็นฝ่ายชนะได้ค่าเลี้ยงดูโดยต้องรับผ่านกองบังคับคดี แม่จะต้องเดินทางโดยรถโดยสารเป็นระยะทาง 15 กิโล เพื่อไปรับเงินเดือนที่กองบังคับคดี พอไปถึง จนท.บอกเงินยังไม่เข้า ทาง ภจว.ยังไม่ส่งมา เป็นแบบนี้ตลอดเวลาหลายปีแล้วค่ะ บางครั้งได้ควบสี่เดือนครั่ง  แต่ทางแม่อยากจะได้รับทุกเดือน เลยไปถามทาง ภจว.ได้รับการบ่ายเบี่ยงตลอดบอกว่างานเยอะ ต้องรอ ไม่มีใครทำแทนกรณี จนท.รับผิดชอบคนนี้ไม่อยู่ อยากจะทราบว่าต้องทำยังไงค่ะเราถึงจะได้เงินค่าเลี้ยงดูทุกเดือน ตอนนี้แม่ก็อายุเยอะแล้วค่ะ 65 ต้องเดินทางไปคนเดียว สงสารแม่ค่ะ พอจะมีวิธีหรือคำแนะนำไม่ค่ะ

โดยคุณ กมลรัตน์ 14 ธ.ค. 2560, 20:15

ความคิดเห็นที่ 69

เรียนสอบถาม

มีการฟ้องร้อง ขึ้นศาลเรียบร้อย ตกลงสินสมรสคนละครึ่ง และทางฝ่ายหญิงให้ทางฝ่ายชายจะต้องส่งเสียเดือนละ 1หมื่น แต่ทั้งคู่ไม่ได้มีบุตรร่วมกัน 

กรณีนี้ทำได้ด้วยหรือค่ะ

โดยคุณ จุฬาลักษณ์ 2 ก.ค. 2560, 09:21

ตอบความคิดเห็นที่ 69

กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ หากเป็นความสมัครใจทั้งสองฝ่าย สัญญาย่อมใช้บังคับได้ เว้นแต่ขัดต่อกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 26 ก.ค. 2560, 16:14

ความคิดเห็นที่ 68

ฝ่ายชายเป็นข้าราชการตำรวจมีลูกด้วยกัน1คน จดทะเบียนสมรสกัน แต่ฝ่ายไม่เคยส่งเสียค่าเลี้ยงดูขงบุตรเลย บังคับให้หย่า แบบนี้จะทำอะไรได้บ้างคะ

โดยคุณ ธัญนิศ 28 พ.ค. 2560, 20:22

ตอบความคิดเห็นที่ 68

กรณีตามปัญหา  หากบุตรเกิดระหว่างสมรสย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  ซึ่งปพพ.มาตรา 1564 บัญญัติว่า บิดามารจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 19 มิ.ย. 2560, 16:01

ความคิดเห็นที่ 67

พ่อเป็นผู้ใหญ่บ้านคะพอแม่เสียเขาก็มีภรรยาใหม่เป็นคนต่างด่าวมีลูกช่ายด่วยกัน1คน. ส่วนฉันเรียนมหาลัยมีพี่สามอีกคนที่พิการทางสมองพ่อไม่เคยส่งเสียค่าเล่าเรียนและเลี้ยงดูแต่ให้เงินพี่สาวฉันเดือนละ1พันบาทคะ จะสามารถเรียกร้องค่าเรียนได้ไหมคะ เพราะเวลาขอภรรยใหม่พ่อไม่ยอมให้คะ

โดยคุณ น.ส. ศิริพร แดงเถิน 15 พ.ค. 2560, 12:10

ความคิดเห็นที่ 66

รบกวนสอบถามค่ะ พ่อกับแม่ เป็นข้าราชการ บำนาญ พ่อมีเมียใหม่นานแล้วตั้งแต่ยังไม่เกษียน มีลูกกับเมียใหม่ 1 คน ตอนนี้ แม่ป่วยหนัก ตลอดเวลา ไม่เคยดูแลไม่เคยทำหน้าที่คู่สมรส เขาไม่เหมาะที่จะได้รับเงินส่วนนี้ จะทำยังไงดีคะ

โดยคุณ ณัฎฐา 12 พ.ค. 2560, 15:14

ความคิดเห็นที่ 65

 แต่งงานจดทะเบียนสมรส ยังไม่ได้หย่า สามีรับราชการตำรวจ เดิมรับผิดชอบค่าเทอมบุตรคนที่1 ต่อมาได้ย้ายหน่วยงานมาประจำการที่โคราช. ก็ไม่ได้รับผิดชอบค่าเลี้ยงดูบุตรคนที่1 และบุตรคนที่2 ก็เข้าเรียน ดิฉันรับผิดชอบคนเดียว ผ่านไป2ปี ย้ายไปประจำการที่นครพนม ก็ยังไม่รับผิดชอบจ่ายค่าเทอมบุตรอีก พอทวงถาม ก็โอนมาให้1หมื่น จะทำอย่างไรดีคะ ตอนนี้กิจการของตนปิดแล้ว สามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดูทั้งที่ไม่ได้หย่าได้หรือไม่คะ

โดยคุณ ขวัญ 4 เม.ย. 2560, 10:13

ความคิดเห็นที่ 64

 สวัสดีค่ะ เนื่องจากแฟนใหม่ หย่ากับแฟนเก่า ได้4ปี ฝ่ายหญิงเรียกร้องค่าเลี้ยงดู แต่ฝ่ายชายเงินเดือนไม่พอจะชำระ ผู้เป็นแม่จึงซื้อบ้านให้ และให้เงินบ้าง แต่ทางผุ้หญิงก็ยังจะ มาเอากับสามี ดดยอ้างว่า สามีได้ได้เลี้ยงดู ในขณะ ที่คบกันฝ่ายหญิงแอบมีสามีใหม่ด้วยค่ะ ควรทำอย่างไรดีค่ะ

โดยคุณ 31 ม.ค. 2560, 15:25

ตอบความคิดเห็นที่ 64

 กรณีตามปัญหา ปพพ. มาตรา 1522 วรรคแรก บัญญัติว่า ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด และมาตรา 1533 บัญญัติว่า “เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน”

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 4 เม.ย. 2560, 11:43

ความคิดเห็นที่ 63

 กรณีตามปัญหา ปพพ. มาตรา 1522 วรรคแรก บัญญัติว่า ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด และมาตรา 1533 บัญญัติว่า “เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน”

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 4 เม.ย. 2560, 11:43

ความคิดเห็นที่ 62

 มีบิดาเป็นข้าราชการ...แต่บิดาเลิกกับมารดา...แล้วบิดามีภรรยาใหม่ลูกใหม่.. คำถามที่จะถามก็คือ...บิดาไม่เคยส่งเสียเลี้ยงดูลูกกับภรรยาเก่า...คนเป็นลูกมีสิทธิ์ฟ้องค่าเลี้ยงดูจากบิดาได้ด้วยตนเองไหมคะ???

โดยคุณ กิตติยา 28 ม.ค. 2560, 14:00

ตอบความคิดเห็นที่ 62

 คดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร บุตรที่อายุเกิน 15 ปี สามารถฟ้องเองได้ ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ. มาตรา 1556 แต่หากท่านอายุเกิน 21 ปีแล้ว ไม่สามารถฟ้องได้เนื่องจากขัดต่อมาตรา 1556 วรรคสาม แต่หากท่านอายุยังไม่ถึง 15 ปีต้องมีผู้ฟ้องคดีแทนตามป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคแรก

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 12 ก.พ. 2560, 16:53

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก