การปฏิบัติตัวของเจ้าหนี้ นักทวงหนี้ ตามกฎหมายใหม่|การปฏิบัติตัวของเจ้าหนี้ นักทวงหนี้ ตามกฎหมายใหม่

การปฏิบัติตัวของเจ้าหนี้ นักทวงหนี้ ตามกฎหมายใหม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การปฏิบัติตัวของเจ้าหนี้ นักทวงหนี้ ตามกฎหมายใหม่

วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นวันที่กฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ

บทความวันที่ 1 ก.ย. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1633 ครั้ง


การปฏิบัติตัวของเจ้าหนี้ นักทวงหนี้ ตามกฎหมายใหม่

          วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นวันที่กฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ ตามมาตรา 2 ของพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ทำให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ทั่วไป ผู้ทวงถามหนี้ ผู้รับมอบอำนาจ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้จะต้องปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ ผมในฐานะวิทยากรฝึกอบรมผู้ทวงถามหนี้ให้กับสถาบันการเงินและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนขอให้คำแนะนำเจ้าหนี้และผู้ทวงถามหนี้ดังนี้
          1. ผู้ทวงถามหนี้ที่เป็นผู้รับมอบอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงจากเจ้าหนี้หรือจากสถาบันการเงินจะต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจให้สอดคล้องกับกฎหมายถึงแม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า การทวงถามหนี้จะต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องเป็นหลักฐานเป็นหนังสือตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3958/2527 ก็ตาม เพื่อความปลอดภัยไม่ต้องถูกร้องเรียนว่ากระทำการขัดต่อกฎหมายทวงหนี้ ถ้าจะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย
           2.การทวงหนี้ภาคสนามหรือการทวงหนี้ต่อหน้า ผู้ทวงถามหนี้จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่ชัดแจ้งว่าได้รับมอบอำนาจให้ทวงถามหนี้ และจะต้องแนะนำตัวให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยต้องแจ้งชื่อตัวและชื่อสกุล ชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้และต้องแจ้งจำนวนหนี้ที่ค้างชำระจะแจ้งชื่อเล่นหรือจะแจ้งข้อมูลไม่ครบถ้วนไม่ได้และก่อนจะทวงหนี้จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจให้กับลูกหนี้ แต่จะแสดงให้กับบุคคลอื่นไม่ได้เพราะจะเป็นการแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นหนี้ ตามมาตรา 9(4) และมาตรา 11(3)
           3.การติดต่อกับบุคคลอื่นที่มิใช่ลูกหนี้ ผู้ทวงถามหนี้ทำได้เพียงสอบถามเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยหรือเบอร์โทรศัพท์ของลูกหนี้ หรือสถานที่ติดต่อเท่านั้น หรือขอให้ผู้ที่สนทนาด้วยซึ่งเป็นบุคคลอื่นยืนยันข้อมูลว่าลูกหนี้ยังอยู่อาศัยหรือยังทำงานอยู่หรือไม่ หรือยังใช้เบอร์โทรศัพท์เบอร์เดิมหรือไม่ เป็นต้น ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นหนี้ให้กับบุคคลอื่นได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมายตามมาตรา 8 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 39
          4.การติดต่อกับสามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ จะเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ได้ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อ และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้เปิดเผยได้เท่าที่จำเป็นและตามความเหมาะสมเท่านั้น หากเปิดเผยเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดก็จะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 8 และมีบทลงโทษตามมาตรา 39
            5.การทวงถามหนี้จะติดต่อได้เฉพาะสถานที่ที่ลูกหนี้ให้ไว้เท่านั้น เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ระบุไว้ในสัญญากู้หรือสัญญาเช่าซื้อ หรือเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้ในขณะขอสินเชื่อเท่านั้น เป็นต้น จะไปติดต่อสถานที่อื่นหรือเบอร์อื่นไม่ได้ หากฝ่าฝืนก็จะมีความผิดตามกฎหมาย ตามมาตรา 9(1) มีบทลงโทษตามมาตรา 34 ถ้าติดต่อลูกหนี้ตามที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้ไม่ได้จะติดต่อสถานที่อื่นได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ติดต่อที่อยู่เดิมที่ให้ไว้ไม่สามารถติดต่อได้ แล้วได้พยายามติดต่อตามสมควรแล้วเท่านั้น
             6.ช่วงเวลาในการติดต่อทวงถามหนี้ จันทร์ ถึง ศุกร์ ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 20.00 น.วันหยุดราชการ 08.00 น. ถึง 18.00 น. หากทวงหนี้นอกเวลาที่กฎหมายกำหนดมีความผิดตามมาตรา 9(2) มีบทลงโทษตามมาตรา 34 ยกเว้นช่วงเวลาดังกล่าวลูกหนี้ไม่สะดวก ไม่เหมาะสมในการทวงหนี้ ให้ติดต่อในช่วงเวลาอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด เช่น กรณีที่ลูกหนี้ยินยอมให้ทวงหนี้ได้เวลาอื่นนอกจากที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น และจำนวนครั้งในการทวงถามหนี้ต้องเหมาะสม
          7. การขอรับชำระหนี้ถ้าลูกหนี้ชำระหนี้แล้วต้องออกหลักฐานการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 10 มีบทลงโทษตามมาตรา 34
          8.ห้ามทวงหนี้ในลักษณะข่มขู่ ดูหมิ่น ใช้เอกสารเปิดผนึก หรือใช้ซองจดหมายที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นซองจดหมายสำหรับการทวงถามหนี้ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 11 มีบทลงโทษตามมาตรา 39, มาตรา 41
         9.การทวงหนี้ที่ไม่เหมาะสม นอกจากที่กฎหมายกำหนดไว้คณะกรรมการกำกับการทวงหนี้มีอำนาจในการที่จะออกประกาศกำหนดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบันและในอนาคตได้ตามมาตรา 11(6), มาตรา 34
          10.ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือที่เรียกว่าทวงหนี้ในลักษณะหลอกลวง เช่น การแสดงหรือการใช้ข้อความเพื่อให้ลูกหนี้หวาดกลัวหรือหลงเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรืออ้างว่าเป็นทนายความ หรืออ้างว่าถ้าไม่ชำระหนี้จะถูกยึดเงิน ยึดทรัพย์ หรือเงินเดือน หรืออ้างว่าตัวเองดำเนินการหรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิตเพื่อให้ลูกหนี้กลัวและเร่งหาเงินมาชำระหนี้ กฎหมายฉบับนี้ห้ามไว้และมีบทลงโทษรุนแรงตามมาตรา 12 ,มาตรา 40 และมาตรา 41
            11.ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม เช่น การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆเกินกว่าที่คณะกรรมการประกาศกำหนด รวมถึงการห้ามเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ อันเป็นความผิดตามมาตรา 13 และมีบทลงโทษตามมาตรา 34, มาตรา 39
             12.ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับการทวงหนี้ ซึ่งมิใช่ของตนโดยเด็ดขาด หากประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หรือทวงถามหนี้ หรือสนับสนุนการทวงหนี้ซึ่งมิใช่ของตน เว้นแต่เป็นหนี้ของสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตน หรือมีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนมีบทลงโทษหนักตามมาตรา 14 ประกอบมาตรา 42
         กฎหมายทวงหนี้ฉบับนี้เป็นดาบสองคม กล่าวคือ ทำให้เจ้าหนี้โดยสุจริตเกิดอุปสรรคในการทำงานอย่างมากและทำให้การปล่อยสินเชื่อเป็นเรื่องยากสำหรับลูกหนี้ ในทางกลับกันเป็นการคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้โดยสุจริต

เดชา กิตติวิทยานันท์
วิทยากรฝึกอบรมนักทวงหนี้และกฎหมาย
สถาบันการเงิน ภาครัฐ และเอกชน

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 ข้อ10 ห้ามทวงถามหนี้ ในลักษณะที่เป็นเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด โทษนะค่ะค้างชำระ6งวดแล้วมาบอกว่า10งวดมันหมายความว่าไงค่ะ ที่ค้าง6งวดไม่ใช่จะไม่จ่ายแต่ไม่สบายใด้ทำงานก็วันนี้แหละ 14/12/58

โดยคุณ 14 ธ.ค. 2558, 17:59

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก