ข้อสังเกตบริษัทแชร์ลูกโซ่|ข้อสังเกตบริษัทแชร์ลูกโซ่

ข้อสังเกตบริษัทแชร์ลูกโซ่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อสังเกตบริษัทแชร์ลูกโซ่

มีท่านผู้อ่านหลายท่านสอบถามมายังทนายคลายทุกข์ว่า จะสังเกตได้อย่างไรว่าบริษัทฯ

บทความวันที่ 24 เม.ย. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11260 ครั้ง


ข้อสังเกตบริษัทแชร์ลูกโซ่


          มีท่านผู้อ่านหลายท่านสอบถามมายังทนายคลายทุกข์ว่า จะสังเกตได้อย่างไรว่าบริษัทฯ ใดเป็นแชร์ลูกโซ่หรือขายตรง ผมขอสรุปข้อสังเกตของพวกแชร์ลูกโซ่ รวม 7 ข้อดังนี้
           1.พนักงานใส่สูททั้งบริษัทฯ แตกต่างจากบริษัทฯ การค้าทั่วไป
           2.พนักงานทุกคนใส่แหวนเพชรปลอม สร้อยคอทองคำปลอมเกือบทุกคน
           3.นามบัตรจะมีภาพรถหรูหรือรถแข่งประกอบชื่อและนามสกุลของตนเอง
           4.เวลาเสนอขายสินค้าหรือบริการ ไม่เน้นขายสินค้าหรือบริการ เน้นให้ไปหลอกลวงคนใกล้ชิด เช่น ลูกเมียหรือเพื่อนบ้าน ให้มาเสียเงินเป็นหลัก เพราะง่ายในการหลอกลวง
            5.เน้นนำเสนอเรื่องค่าคอมมิชชั่นจำนวนมาก ได้เงินง่ายๆแค่หลอกลวงคนใกล้ตัว ก็จะได้เงินทันที ถ้าหลอกไม่เป็นก็มีวิทยากรที่คอยโน้มน้าว หลอกลวง ต้มตุ๋น คอยหลอกลวงให้แทน โดยให้ผู้หลงเชื่อแค่หลอกล่อมาที่สำนักงานส่วนที่เหลือทีมงานของบริษัทจะหลอกลวงอีกครั้งหนึ่งเป็นการปิดจ๊อบ
           6.บริษัทแชร์ลูกโซ่จะอยู่ตามตึกสูง เพราะดูหรูหราน่าเชื่อถือ สะดวกในการเป็นสถานที่เชือดเหยื่อ ที่มีความโลภโมโทสัน อยากรวยทางลัด
           7.กลุ่มที่แชร์ลูกโซ่ให้ความสนใจ เช่น พวกจบการศึกษาใหม่ๆ คนต่างจังหวัด ลูกจ้างพนักงานงานที่มีหนี้สินเยอะ หรือพวกวัยเกษียณว่างงาน รวมทั้งผู้ที่มีความโลภอยากรวยเร็ว เป็นต้น
ตัวอย่างคดีแชร์ลูกโซ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2546

            ข้อเท็จจริงไม่ได้ความจากผู้เสียหายว่า จำเลยทั้งสี่เป็นผู้ร่วมกันโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนว่าในการกู้ยืมเงินของสมาชิกนั้น บริษัท ค. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตาม กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างของบริษัท ค. สามีของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นชาวต่างชาติใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ค. แทน ก่อนจำเลยที่ 1 จะถอนชื่อออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท ค. จำเลยที่ 1 ไม่ทราบการดำเนินการของบริษัท ค. จึงฟังได้ว่า การลงทุนของผู้เสียหายมิได้เกิดจากการโฆษณาหรือประกาศชักชวนของจำเลยทั้งสี่ โดยตรง จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4, 12      
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539
           บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงาน โดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเอง หรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่า ให้สมัครเข้ามาทำงาน แต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงาน ให้ทำ แต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุ ทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัคร การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 341, 343 วรรคแรก การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ 30 หุ้น เป็นเงิน 3,000 บาท มีลักษณะเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ 135 บาท จึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 3 เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบ หรือจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ ให้กู้ยืมเงินตามพ.ร.ก.ฯดังกล่าว และในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ 135 บาท หรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ 54 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตาม กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายให้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว จึงมีความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 5 ความผิดตามป.อ.มาตรา 344 ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ได้กระทำในนามบริษัท โดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดี การรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดี การคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้วก็ดี ล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและ มอบเงินให้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น มิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้มาทำงาน เพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำ ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรก ๆ และจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่ง ซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้ กรณีจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตาม ป.อ.มาตรา 344 ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตาม ป.อ.มาตรา 91 (2) ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง 20 ปีนั้นไม่ถูกต้องที่ถูกต้องปรับบทตาม ป.อ.มาตรา 91(3) รวมจำคุกคนละ 50 ปี แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้า ควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น      
             ผมทำคดีแชร์ลูกโซ่มาหลายคดี พฤติกรรมต้มตุ๋นเหมือนกันหมด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ที่บริษัทฯ เหล่านี้อยู่ได้จนร่ำรวยใหญ่โตเหมือนยูฟัน เพราะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนหนุนหลัง ส่วนคนที่มีหน้าที่ในการป้องกันปราบปราม ก็เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ หรือไม่ก็มีส่วนรับเงินรับทองเสียเอง และละเลยทำเป็นไม่เห็น คนไม่ดีในระบบราชการยังมีอยู่อีกมาก ฝากท่านนายกรัฐมนตรีช่วยใช้มาตรา 44 จัดการหน่อยครับ ถ้ารอกว่าจะขึ้นศาล คงไม่ทันการ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก