สัญญาทาสกับอาชีพนักแสดง|สัญญาทาสกับอาชีพนักแสดง

สัญญาทาสกับอาชีพนักแสดง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สัญญาทาสกับอาชีพนักแสดง

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีคนพูดถึงสัญญาจ้างเป็นนักแสดงในสังกัดระหว่าง

บทความวันที่ 3 เม.ย. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3037 ครั้ง


สัญญาทาสกับอาชีพนักแสดง
             ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีคนพูดถึงสัญญาจ้างเป็นนักแสดงในสังกัดระหว่าง บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชันแนล จำกัด กับ นายพนม ยีรัม ในฐานะนักแสดงซึ่งมีสัญญาอยู่ด้วยกัน 8 ข้อ ซึ่งสัญญาดังกล่าว นักแสดงมีข้อผูกพันตามสัญญาต้องเป็นนักแสดงในสังกัดตลอดอายุสัญญา และห้ามนักแสดงรับงานด้วยตนเองนอกจากผู้จ้าง ไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนเพียงใดหรือไม่ได้รับค่าตอบแทน โดยมีสัญญาผูกมัดกันถึง 10 ปี นอกจากนี้การต่ออายุสัญญาก็มีการระบุไว้ว่า ให้แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 เดือน และให้ถือว่ามีการต่อสัญญาออกไปตามความประสงค์ของผู้ว่าจ้างทันที การแบ่งผลกำไรจะมีการคำนวณเป็นร้อยละตามที่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนดเป็นเรื่องๆไป ที่ผมกล่าวมาเป็นสาระสำคัญคร่าวๆของสัญญาระหว่างสหมงคลฟิล์มกับจาพนมนะครับ หลายคนสอบถามมายังผมว่าระหว่างสหมงคลฟิล์มกับจาพนม ใครผิดสัญญา ใครเอาเปรียบใคร ในฐานะที่เป็นทนายความ ขอตอบคำถามนี้ว่า ปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาล และศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแล้วและยกเลิกคำสั่งในเวลาต่อมา ทนายความที่มีมรรยาทไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์คดีดังกล่าว ผมต้องเริ่มเกริ่นแบบนี้ก่อนนะครับ และไม่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่าใครผิดใครถูก ต้องให้เกียรติศาลเป็นผู้วินิจฉัยแทนนะครับ ผมขอให้ความรู้กับท่านผู้อ่านคอลัมน์ทนายคลายทุกข์เกี่ยวกับสัญญาทาสว่ามันหมายถึงอะไรดีกว่านะครับ ไม่ใช่สัญญาของสหมงคลฟิล์มนะครับ พี่สุวัตร อภัยภักดิ์ คงไม่มาฟ้องผมนะครับ สัญญาทาสตามความหมายของกฎหมาย หมายถึงสัญญาที่ห้ามประกอบอาชีพ ปิดการทำมาหาได้โดยเด็ดขาด เช่น ห้ามไปรับจ้างเป็นนักแสดงกับบุคคลอื่นตลอดชีวิต พูดง่ายๆ ถ้ามาทำสัญญากับผู้ว่าจ้างหรือนายจ้างแล้ว ถ้าถูกไล่ออกหรือถูกเลิกจ้างหรือลาออก ห้ามประกอบอาชีพทุกชนิดตลอดชีวิต แบบนี้เรียกว่าสัญญาทาสนะครับ เพราะถือว่าเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ในอดีตที่ผ่านมาศาลฎีกาเคยตัดสินคดีหลายคดีเกี่ยวกับสัญญาที่มีข้อสงสัยว่าจะเป็นสัญญาทาสหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัญญาที่บังคับได้ตามกฎหมายโดยศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอาชีพบางอย่างเท่านั้น ห้ามเฉพาะไปทำงานหรือไปเป็นลูกจ้างหรือไปตั้งสถานประกอบการ แข่งขันกับนายจ้างเดิม ในบริเวณใกล้เคียงกัน อันไม่เป็นธรรมกับนายจ้าง และเป็นการห้ามภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่เกิน 5 ปี เป็นต้น สัญญาประเภทนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาทาส ซึ่งผมขอนำตัวอย่างคำพิพากษาฎีกามานำเสนอดังนี้สักสองตัวอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2543
            ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดว่าในระหว่างการจ้างงานหรือภายใน 5 ปีนับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง จำเลยจะต้องไม่ทำงานให้แก่บริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์หรือมีหุ้นในบริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์ซึ่งครอบคลุมถึงประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐเวียดนาม ประเทศกัมพูชาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศเมียนมาร์(พม่า) เกี่ยวกับกิจการขนย้ายของตามบ้านฯ เป็นเพียงข้อจำกัดห้ามการประกอบอาชีพแข่งขันกับโจทก์โดยจำกัดประเภทของธุรกิจไว้อย่างชัดเจนมิได้ห้ามประกอบอาชีพปิดทางทำมาหาได้ของจำเลยอย่างเด็ดขาดและจำเลยสามารถประกอบอาชีพหรือทำงานในบริษัทประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือบริการอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือข้อตกลงได้ขอบเขตพื้นที่ก็ห้ามเฉพาะในกลุ่มประเทศในแหลมอินโดจีนมิได้รวมถึงประเทศใกล้เคียงอื่น ๆ ด้วย ลักษณะของข้อตกลงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดทีเดียว เพียงแต่เป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่แข่งขันกับโจทก์ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่ชอบในเชิงของธุรกิจ ไม่เป็นการปิดการทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2533
              สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่ง เป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนา ทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่ จะพึงปรับได้ กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่ง ผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทโจทก์ที่ตนได้ เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ในระหว่างที่ทำงานกับบริษัทโจทก์ โดย ไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทโจทก์ สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ด ขาด คงห้ามจำเลยเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของบริษัทโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับบริษัทโจทก์ ทั้งเป็นการห้ามเพียงตาม กำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น ไม่เป็นการตัด การประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียว จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิง การประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ ทางแก้ของจา พนม ในการต่อสู้คดีนี้ขออธิบายเป็นรายประเด็น ถ้าจา พนม มีความเชื่อว่าเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
           ประเด็นแรก สัญญาที่ให้ลงนามเป็นสัญญาสำเร็จรูปตามพ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 3 โดยมีการกำหนดข้อสัญญาที่เป็นสาระสำคัญไว้ล่วงหน้า ใช้สำหรับนักแสดงทุกคนในสังกัดของผู้ว่าจ้างเขียนครอบคลุมให้ผู้รับจ้างต้องรับภาระหรือต้องรับผิดมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติไม่ตรงกับเจตนาของคู่สัญญา อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1797/2549
           ประเด็นที่สอง การบังคับให้ต่อสัญญาโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องอาศัยความยินยอมของคู่สัญญา เป็นข้อตกลงให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกร้องหรือกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่มีอยู่ในเวลาทำสัญญา ตามมาตรา 4(5) แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ
           ประเด็นที่สาม สัญญาว่าจ้างนักแสดงเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพการงานที่ต้องรับภาระมากกว่าที่พึงคาดหมายได้ตามปกติ เมื่อพิเคราะห์ถึงขอบเขตในด้านพื้นที่และระยะเวลาของการจำกัดสิทธิเสรีภาพ กล่าวคือ ห้ามทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศและระยะเวลานานมากนับสิบปี ตามมาตรา 5 ของพ.ร.บ.ดังกล่าว
           ประเด็นที่สี่ ถึงแม้จะฟังว่าจา พนม ผิดสัญญาผู้ว่าจ้างนักแสดงยังมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหายว่ามีค่าเสียหายเกิดขึ้นจริงและเป็นผลมาจากกระทำของนักแสดง ซึ่งประเด็นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเรียกค่าเสียหายจากนักแสดง  ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 ซึ่งตัวผมเองเคยทำคดีลักษณะนี้มาแล้วที่ศาลแรงงานกลาง ศาลวินิจฉัยว่าผิดสัญญาจ้างแรงงานจริง แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงยกฟ้องในส่วนค่าเสียหาย
           ประเด็นสุดท้าย จา พนม จะต้องฟ้องแย้งขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทำลายข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับตนเอง
               สุดท้ายนี้หวังว่าในประเทศไทยจะไม่มีสัญญาทาสอีกต่อไป และนักแสดงจะได้ลืมตาอ้าปากได้ แต่ในขณะเดียวกัน นักแสดงก็จะต้องคำนึงถึงบุญคุณที่ค่ายหนังได้ลงทุนสร้างตัวเองมาด้วยนะครับ ถ้าจะฉีกสัญญาก็ต้องเป็นกรณีที่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมเท่านั้น ไม่ใช่อาศัยช่องว่างของกฎหมายหรือกระแสฉีกสัญญาและทำให้ผู้ประกอบธุรกิจโดยสุจริตได้รับความเสียหาย ถ้าทำแบบนั้นนักแสดงคนนั้นก็ไม่น่าที่จะได้รับความยอมรับจากสังคม
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

สวัสดีคะจะรบกวนสอบถามรายละเอียด ถ้าต้องการว่าจ้างให้ทำสัญญาว่าจ้างนักแสดงมีค่าใช้จ่ายเท่าไรคะ
โดยคุณ ภัคจิรา 13 พ.ค. 2562, 14:32

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก