การขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น|การขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น

การขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น

ท่านผู้อ่านและเจ้าหนี้ทั้งหลายคงทราบกันถ้วนหน้าแล้วนะครับว่าศาลล้มละลายกลาง

บทความวันที่ 26 มี.ค. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1490 ครั้ง


การขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น

             ท่านผู้อ่านและเจ้าหนี้ทั้งหลายคงทราบกันถ้วนหน้าแล้วนะครับว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนในคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ผมในฐานะทนายความเจ้าหนี้ขอนำคำสั่งและหลักเกณฑ์ในการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้  ของศาลล้มละลายกลางคร่าวๆ มานำเสนอดังนี้
ผลคดีร้องขอฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นของศาลล้มละลายกลาง
             ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2558 เวลา 9.00 น. ศาลล้มละลายกลางได้อ่านคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.20/2557 สืบเนื่องมาจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ผู้ร้องขอ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการและตั้งสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นเป็นผู้ทำแผน ศาลล้มละลายกลางไต่สวนพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านแล้วมีคำวิจฉัยในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.10/2558 ในประเด็นดังต่อไปนี้
            ประเด็นที่ 1 ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว หรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่าสิบล้านบาทหรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่าลูกหนี้ผู้ร้องขอมีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้หลายคนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท  โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำร้องขอที่ลูกหนี้ผู้ร้องขอนำพยานมาสืบได้ความว่าลูกหนี้ร้องขอมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินเป็นเงิน 19,533,963,864.64 บาท
           ประเด็นที่ 2 มีเหตุสมควรและช่องทางให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือไม่
           ผู้คัดค้านคัดค้านและนำสืบทำนองเดียวกันว่า ลูกหนี้ผู้ร้องประกอบกิจการโดยไม่สุจริตมี่สมควรให้ฟื้นฟูกิจการ ศาลเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของอดีตประธานดำเนินการผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้เป็นการกระทำในขอบวัตถุประสงค์ของลูกหนี้ผู้ร้องขอ จึงไม่ถือว่าลูกหนี้ผู้ร้องขอประกอบกิจการโดยไม่สุจริต ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65, 66, 76 วรรคสอง  ประกอบพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 50, 51 จึงต้องวินิจฉัยต่อไปว่า มีเหตุสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ผู้ร้องขอหรือไม่ ศาลเห็นว่าสมาชิกสหกรณ์ได้รับประโยชน์เป็นเงินจำนวนมากกว่าการนำเงินไปลงทุนกับสถาบันการเงินอื่นในช่วงที่เศรษฐกิจเจริญเติบโต สาเหตุที่ลูกหนี้ผู้ร้องขอมีหนี้สินล้นพ้นตัวเนื่องจากระหว่างปี 2552 ถึงปี 2555 มีการนำเงินไปลงทุนในธุรกิจที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พุทธศักราช 2542 เป็นการกระทำของอดีตประธานดำเนินการขณะนั้น จึงไม่ควรให้ผลการกระทำดังกล่าวมาเป็นเหตุสำคัญที่จะไม่ให้โอกาสของลูกหนี้ผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการ เพราะเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของลูกหนี้ผู้ร้องขอจะมีหนี้สินล้นพ้นตัวแต่ลูกหนี้ผู้ร้องขอยังคงดำเนินกิจการอยู่ เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนการฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอและมีหน่วยงานของรัฐเตรียมการช่วยเหลือเพื่อให้ลูกหนี้ผู้ร้องขอผ่านวิกฤตทางการเงินผ่านช่องทางการฟื้นฟูกิจการหากได้รับการปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารจัดการที่ดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการหากได้รับการปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารจัดการที่ดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอ
          ประเด็นที่ 3 ลูกหนี้ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอโดยสุจริตหรือไม่ ศาลเห็นว่าหากปล่อยให้สมาชิกซึ่งเป็นเจ้าหนี้แต่ละรายบังคับคดี จะทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันและลูกหนี้ผู้ร้องขออาจถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือในที่สุดไม่มีทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะพึงยึดมาชำระหนี้เจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้ผู้ร้องขออาจถูกฟ้องล้มละลายได้ ดังนั้น การยื่นคำร้องขอของลูกหนี้ผู้ร้องขอมิได้เป็นการหลีกเลี่ยงการบังคับคดีของบรรดาเจ้าหนี้อันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต การให้เวลาแก่เจ้าหนี้ผู้ร้องขอหรือผู้ทำแผนสำรวจความบกพร่องของกิจการจะสามารถนำไปวางแผน ปรับปรุง แก้ไขให้กิจการของลูกหนี้ผู้ร้องขอดำเนินการต่อไปได้
          เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ลูกหนี้ผู้ร้องขอมีหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นหนี้เจ้าหนี้หลายคนรวมกันไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท มีเหตุสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ผู้ร้องขอ ทั้งการร้องขอของลูกหนี้เป็นการยื่นคำร้องขอโดยสุจริต จึงฟังได้ว่าลูกหนี้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 90/3 และศาลได้พิจารณาความจริงจนครบถ้วนตามมาตรา 90/10 แล้ว สมควรให้ลูกหนี้ผู้ร้องขอเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อไป โดยในส่วนของผู้ทำแผนลูกหนี้ผู้ร้องขอได้ขอให้ศาลตั้งลูกหนี้ผู้ร้องขอเป็นผู้ทำแผนเนื่องจากคณะกรรมการดำเนินการและบุคลากรมีความรู้ความสามารถในการบริหารงานและดำเนินกิจการลูกหนี้ผู้ร้องขอเป็นอย่างดี ประกอบกับการคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ได้มีหนังสือยินยอมของผู้ทำแผนที่ผู้คัดค้านเสนอรายชื่อและคุณสมบัติตามบทบัญญัติมาตรา 90/6 กรณีจึงไม่ถือว่าเจ้าหนี้ผู้คัดค้านเสนอผู้อื่นเป็นผู้ทำแผนด้วย เมื่อทางนำสืบของผู้คัดค้านยังไม่พอฟังได้ว่าคณะกรรมการชุดปัจจุบันกระทำการโดยไม่สุจริต จึงเห็นสมควรตั้งลูกหนี้ผู้ร้องขอเป็นผู้ทำแผน
เงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ มีดังต่อไปนี้
           1.เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์(แบบ ฟ.20) พร้อมสำเนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน(นับแต่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเป็นวันหลังสุด) ตามมาตรา 90/26, 90/27, เจ้าหนี้, ลูกหนี้หรือผู้ทำแผน อาจขอตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ได้ภายใน 14 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้ (มาตรา 90/29)
           2.คำขอรับชำระหนี้ที่ไม่มีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสั่งให้ได้รับชำระหนี้ได้เลยโดยไม่ต้องสอบสวน ตามมาตรา 90/32 วรรคแรก
          3.คำขอรับชำระหนี้ที่มีผู้โต้แย้ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องทำการสอบสวนหนี้แล้วมีคำสั่งตามมาตรา 90/32 วรรคสอง คือ
           (1) ให้ยกคำขอรับชำระหนี้
           (2) อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน
           (3) อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บางส่วน
           4. เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้ทำแผน หากไม่เห็นชอบกับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนด 14 วัน นับแต่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 90/352 วรรคท้าย หากศาลสั่งประการใดก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลได้ แต่ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา ตามพระราชบัญญัติล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พุทธศักราช 2542 มาตรา 24(3)
           ฝากเจ้าหนี้คอยตรวจสอบว่าผู้ทำแผนจัดทำแผนโดยสุจริตหรือไม่ มีหนี้ปลอมซ่อนอยู่หรือไม่ เพราะถ้ามีหนี้ปลอม ก็อาจทำให้ท่านได้รับชำระหนี้น้อยลงนะครับ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก