ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เปลี่ยนยางรถยนต์ต้องระวัง|ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เปลี่ยนยางรถยนต์ต้องระวัง

ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เปลี่ยนยางรถยนต์ต้องระวัง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เปลี่ยนยางรถยนต์ต้องระวัง

ผู้เสียหายเอารถไปเปลี่ยนยาง ลูกจ้างร้านขายยางเอารถไปลอง

บทความวันที่ 22 มี.ค. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1789 ครั้ง


ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เปลี่ยนยางรถยนต์ต้องระวัง

           ผู้เสียหายเอารถไปเปลี่ยนยาง ลูกจ้างร้านขายยางเอารถไปลอง แล้วหนีไปเลย เจ้าของร่วมและลูกจ้างต้องร่วมกันรับผิดในผลละเมิด(อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2557)   การเปลี่ยนยาง ถ้าจะมีการลองรถ เจ้าของรถควรนั่งไปด้วยนะครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2557
          จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ อ. ผู้เอาประกันภัย ไปลองยางภายหลังจากการเปลี่ยนยางซึ่งกิจการของจำเลยที่ 2 จากนั้นจำเลยที่ 1 ลักรถยนต์ไปอันเป็นการละเมิดและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425
           จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ อ. ผู้เอาประกันภัยไปทดลองขับภายหลังจากการเปลี่ยนยาง จากนั้น จำเลยที่ 1 ลักรถยนต์นั้นไป จึงมิใช่เกิดจากการที่ อ. ผู้เอาประกันภัยไม่นำกุญแจรถยนต์ออกจากรถและล้อกประตูรถยนต์ให้เรียบร้อย ปลอดภัยอันจะเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
           โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ อ. ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิในค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งคืนรถยนต์คันเกิดเหตุแก่โจทก์ได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 425
  นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
(ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลฎีกา)
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก