อัยการถอนฟ้องธัมมชโยแล้วฟ้องใหม่ได้หรือไม่|อัยการถอนฟ้องธัมมชโยแล้วฟ้องใหม่ได้หรือไม่

อัยการถอนฟ้องธัมมชโยแล้วฟ้องใหม่ได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

อัยการถอนฟ้องธัมมชโยแล้วฟ้องใหม่ได้หรือไม่

มีท่านผู้อ่านคอลัมน์ทนายคลายทุกข์หลายคนสอบถามมายังผม

บทความวันที่ 5 มี.ค. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1860 ครั้ง


อัยการถอนฟ้องธัมมชโยแล้วฟ้องใหม่ได้หรือไม่

          มีท่านผู้อ่านคอลัมน์ทนายคลายทุกข์หลายคนสอบถามมายังผม เกี่ยวกับคดีที่อัยการฟ้องพระธัมมชโย เมื่อปี พ.ศ.2542 ว่า ฟ้องร้องกันเรื่องอะไรและเหตุผลในการถอนฟ้องใช้เหตุผลอะไร ผมเองก็เป็นทนายความท่านหนึ่งที่ได้มีการฟ้องร้องพระธัมมชโยที่ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ พ.227/2557  ในคดีแพ่ง เรียกเงินบริจาคคืนจำนวน 800 ล้านบาทเศษ ได้ศึกษาสำนวนเก่าๆ พบว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2542 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โดยสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องพระราชภาวนาวิสุทธิ์หรือพระไชยบูรณ์ ธัมมชโยหรือสุทธิผล กับพวกรวม 2 คน  เป็นจำเลย  ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานและสนับสนุนเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงานและสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
            ต่อมาในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2549 พนักงานอัยการโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีดังกล่าว โดยให้เหตุผลในการถอนฟ้อง รวม 2 ข้อ ดังนี้
           “ ข้อ 1 ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2542 โดยกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกันกระทำความผิด  และต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีนี้เข้ากับคดีหมายเลขดำที่ 11651/2542 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลโดยนัดสืบพยานจำเลยครั้งต่อไปในวันที่ 22,23,24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 นั้น
           ข้อ 2 โจทก์ขอเรียนว่า การดำเนินคดีนี้ สืบเนื่องจากพระราชภาวนาวิสุทธิ์ จำเลยที่ 1 กับพวก ไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่มีว่า
          “ ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสั่งสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไป กลายเป็นสอง มีความเข้าใจ ความเชื่อถือพระพุทธศาสนา ตรงกันข้าม เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา  ทำสงฆ์ให้แตกแยก......เป็นอนันตริยกรรมมีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก
           ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษแต่เป็นการทำที่ถูกต้อง คือต้องส่งมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที(5 เมษายน พ.ศ.2542)
          ไม่คิดให้มีโทษ เพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ให้ว่าในชั้นต้นหากมิใช่มีเจตนาถือเอาสมบัติของวัดเป็นของตนจริงๆ แต่เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็นพระให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระ ปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา”
           บัดนี้ ข้อเท็จจริงในด้านการเผยแพร่คำสั่งสอนปรากฏจากอธิบดีกรมศาสนา ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ เลขาธิการมหาเถรสมาคม และเจ้าคณะภาค 1 ว่าในปัจจุบัน พระราชภาวนาวิสุทธิ์ จำเลยที่ 1 กับพวก ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ตรงตามพระไตรปิฎก และนโยบายของคณะสงฆ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกิจการของศาสนาทั้งของคณะสงฆ์ ภาครัฐและภาคเอกชนจำนวนมาก สำหรับในด้านทรัพย์สินนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวก ได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่ดินและเงินอีกจำนวน 959,300,000 บาท (เก้าร้อยห้าสิบเก้าล้านสามแสนบาท) คืนให้แก่วัดพระธรรมกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 กับพวก ประกอบกับขณะนี้บ้านเมืองต้องร่วมกันสร้างความสามัคคีของคนในชาติในทุกหมู่เหล่า เห็นว่า หากดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองต่อไป  อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในศาสนจักรโดยเฉพาะในเหล่าพระภิกษุสามเณรและประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่นับถือศาสนาพุทธและไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
              อัยการสูงสุด จึงมีคำสั่งให้ถอนฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้
              ดังนั้น โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ทุกข้อกล่าวหา ขอศาลได้โปรดอนุญาต
             และศาลได้อนุญาตให้ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 และให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ เมื่อวันที่ 22  สิงหาคม พ.ศ.2549
             มีคำถามถามมาว่า คดีที่พนักงานอัยการถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้องใหม่ได้หรือไม่ ผมขอเรียนว่า ก่อนหน้านี้ศาลฎีกาเคยวางบรรทัดฐานไว้แล้ว ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 6446/2547 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538 ว่าการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะสมยอมกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องหาได้ระงับไปไม่  หมายถึง สามารถนำกลับมาฟ้องใหม่ได้ ความเห็นส่วนตัว คดีที่พนักงานอัยการถอนฟ้องพระธัมมชโย พนักงานอัยการน่าจะนำมาฟ้องเป็นคดีอาญาใหม่ได้ เทียบเคียงกับบรรทัดฐานของคำพิพากษาของศาลฎีกาทั้ง 2 ฎีกาข้างต้น เนื่องจากการถอนฟ้องของพนักงานอัยการเมื่อปี พ.ศ.2549  น่าจะเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน ไม่ใช่เป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง เพราะโจทก์สืบพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้ว เหลือแต่เพียงสืบพยานจำเลยเท่านั้น  และพยานหลักฐานพยานบุคคล พยานเอกสาร  ที่นำสืบไปแล้ว พอฟังได้ว่าพระธัมมชโยกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์จริง โดยปราศจากข้อสงสัย การที่พนักงานอัยการโจทก์ในคดีดังกล่าวถอนฟ้อง โดยความเห็นผม น่าจะมีลักษณะเป็นการสมยอม  อย่างไรก็ตามการถอนฟ้องและนำกลับมาฟ้องเป็นคดีอาญาใหม่ ยังไม่เคยมีบรรทัดฐานนะครับ เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้น

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก