ค้างชำระค่าส่วนกลางต้องจ่ายค่าปรับและดอกเบี้ยหรือไม่|ค้างชำระค่าส่วนกลางต้องจ่ายค่าปรับและดอกเบี้ยหรือไม่

ค้างชำระค่าส่วนกลางต้องจ่ายค่าปรับและดอกเบี้ยหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ค้างชำระค่าส่วนกลางต้องจ่ายค่าปรับและดอกเบี้ยหรือไม่

ปัจจุบันมีอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วกรุงเทพมหานคร

บทความวันที่ 19 ก.พ. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 13021 ครั้ง


ค้างชำระค่าส่วนกลางต้องจ่ายค่าปรับและดอกเบี้ยหรือไม่

          ปัจจุบันมีอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วกรุงเทพมหานคร การอยู่รวมกันของผู้อยู่อาศัยหรือลูกบ้านจะต้องมีกฎหมายโดยเฉพาะ  กำหนดสิทธิและหน้าที่ของกันและกันเกี่ยวกับความรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าส่วนกลาง เช่น ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า  น้ำประปา ที่ต้องใช้ร่วมกัน เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้จัดการนิติบุคคลมาปรึกษาหารือผม ให้ช่วยว่าความเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยรายหนึ่ง ซื้อทรัพย์มาจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ยอมชำระค่าส่วนกลางที่ค้างชำระทั้งหมด โดยต้องการจ่ายเพียงต้นเงินเท่านั้น ไม่อยากชำระดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับ โดยอ้างเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ตามกฎหมายอาคารชุดไม่ใช่หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง คดีนี้ก็มีการต่อสู้คดีจนมาถึงในชั้นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาไว้เกี่ยวกับค่าปรับและดอกเบี้ยค่าส่วนกลางไว้ว่า “ตามข้อบังคับของจำเลย เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 1 ข้อ 18 กำหนดไว้เพียงว่า หากเจ้าของร่วมไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางภายในกำหนดแล้ว เจ้าของร่วมจะต้องชำระค่าปรับในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของเงินค้างชำระเท่านั้น มิได้กำหนดให้จำเลยมีอำนาจคิดดอกเบี้ยผิดนัดเอาจากเจ้าของร่วมที่ค้างชำระแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยเอาจากเจ้าของห้องชุดเดิม คงมีสิทธิคิดเฉพาะค่าปรับเท่านั้น เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เจ้าของห้องชุดเดิมค้างชำระค่าปรับอันเกิดจากการค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดพิพาทจึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของห้องชุดเดิม โจทก์จึงต้องรับผิดชำระค่าปรับที่ค้างชำระแก่จำเลยแต่ไม่จำต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย สำหรับค่าปรับอันเกิดจากการค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางซึ่งเป็นเงินเพิ่มนั้น พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18/1 วรรคสาม กำหนดให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามมาตรา 18 ด้วย”
         นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8711/2554 ก็ได้วินิจฉัยไว้ในทำนองเดียวกัน ปรากฏตามคำพิพากษาอย่างย่อข้างล่างนี้
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8711/2554
         หลักเกณฑ์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้นกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น จึงย่อมนำมาใช้บังคับแก่กรณีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอันเนื่องมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลด้วย มิใช่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าของห้องชุดเป็นผู้ขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด หนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายแม้เจ้าของร่วมผู้เป็นเจ้าของห้องชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 กฎหมายมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุด ทั้งโดยสภาพห้องชุดเป็นอาคารที่ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันของคนจำนวนมาก บทกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดเป็นข้อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้อยู่อาศัยเพื่อประโยชน์แก่การอยู่อาศัยร่วมกันโดยปกติสุข เจ้าของร่วมจึงต้องมีส่วนรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าปรับตามบทกฎหมายและข้อบังคับเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของร่วมเดิม และต้องถือว่าค่าปรับอันเกิดจากการผิดนัดชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่โจทก์ต้องรับผิดชอบด้วย
           ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 คิดค่าปรับอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ค้างชำระนั้นมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อเจ้าของร่วมไม่ชำระให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ทั้งเป็นเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของคู่ความ เห็นสมควรกำหนดให้อัตราร้อยละ 12 ต่อปี
หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เจ้าของห้องชุดพิพาทคนเดิมค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แล้ว หนี้เป็นอันระงับสิ้นไป แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตอบแทนเช่นกัน เพราะโจทก์ประสงค์จะนำหนังสือนี้ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอจดทะเบียนโอนห้องชุดมาเป็นของตนตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 การที่จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้จึงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะโอนห้องชุดได้ จึงเป็นการกระทำนิติกรรมฝ่ายเดียวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 ดังนั้น ในการบังคับชำระหนี้หากสภาพหนี้ไม่เปิดช่องศาลชอบที่จะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ตาม ป.พ.พ. 213 วรรคสอง
          สรุป ส่วนค่ากลางหมายถึงต้นเงินที่ค้างชำระรวมทั้งเงินเพิ่มหรือค่าปรับที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมายด้วย ใครค้างชำระก็ต้องเสียเงินเพิ่มหรือค่าปรับด้วย ถ้าสูงเกินส่วนศาลใช้ดุลพินิจลดลงได้นะครับ
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522
มาตรา 18
เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14
           เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง ตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 หรือตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด  ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับ
          ให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตรา 6 เป็นเจ้าของร่วมในห้องชุดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง และต้องร่วมออกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสองสำหรับห้องชุดดังกล่าวด้วย
มาตรา 18/1  ในกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระเงินตามมาตรา 18 ภายในเวลาที่กำหนดต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละสิบสองต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระโดยไม่คิดทบต้น  ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับ
          เจ้าของร่วมที่ค้างชำระเงินตามมาตรา 18 ตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละยี่สิบต่อปีและอาจถูกระงับการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางตามที่กำหนดในข้อบังคับ รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่
          เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก