แชทในเวลาทำงานไล่ออกได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า|แชทในเวลาทำงานไล่ออกได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

แชทในเวลาทำงานไล่ออกได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แชทในเวลาทำงานไล่ออกได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

สื่อออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Line, Facebook, Email เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

บทความวันที่ 5 ก.พ. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 39286 ครั้ง


แชทในเวลาทำงานไล่ออกได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า


             สื่อออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Line, Facebook, Email เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งเวลาทำงาน  อธิบดีกรมการปกครอง ได้ออกจดหมาย ที่ มท.0304/ว 1515 ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2558 ไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อกำหนดแนวทางในการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารของทางราชการกรมการปกครอง ดังนี้
           1.  ให้บุคลากรกรมการปกครองใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสารของทางราชการเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยยึดถือตามระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยเคร่งครัด
           2.ห้ามมิให้บุคลากรของกรมการปกครองใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสารของทางราชการไปใช้ในทางส่วนตัวที่ใช้โปรแกรม Social media เช่น Facebook, Line, การส่ง Email ที่อาจเข้าข่ายความผิดอาญาหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น รวมถึงการกระทำความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยเด็ดขาด
           3.ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นควบคุมดูแลการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสารของทางราชการของบุคลากรกรมการปกครอง ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดข้างต้นอย่างเคร่งครัด หากมีบุคลากรกระทำความผิด จะถือเป็นความบกพร่องของผู้บังคับบัญชาด้วย
           มีหลายท่านสอบถามมายังทนายคลายทุกข์ว่า ถ้าลูกจ้างแชทหรือเล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานนายจ้างจะไล่ออกจากงานได้หรือไม่ และต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือไม่  ทนายคลายทุกข์ขอเรียนว่า นายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงานได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  รายละเอียดตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฉบับล่าสุด ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 2564/2557


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2557
          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 ค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท จ่ายทุกวันที่ 30 ของเดือน มีระยะเวลาทดลองงาน 3 เดือน ในระหว่างระยะเวลาทดลองงานจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ให้มีผลทันที เนื่องจากในเวลาทำงานโจทก์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเล่นอินเตอร์เน็ตพูดคุยในเรื่องส่วนตัวและบันทึกข้อความทางอินเตอร์เน็ตเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มี ตามเอกสารหมาย ล.3 ถึง ล.6 ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยไปในเรื่องไม่เกี่ยวกับงาน ทั้งที่อยู่ในระหว่างทดลองงานแทนที่จะทุ่มเททำงานให้จำเลยอย่างเต็มที่ โจทก์ทำงานด้านบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มิฉะนั้น จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำประการอื่นไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกล่าวหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าสินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยทำในเรื่องส่วนตัวย่อมจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์เช่นกัน
          ที่โจทก์อุทธรณ์ประการแรกว่า การกระทำของโจทก์ไม่ถึงกับเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เนื่องจากโจทก์มิได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง และจำเลยไม่ได้รับความเสียหายนั้น  เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวระบุเพียงว่า ถ้าลูกจ้างทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต  นายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า...เท่านั้น หาได้ขยายความไปถึงกับว่าเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่ อย่างไรก็ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่ฟังว่าพฤติกรรมของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
           ที่โจทก์อุทธรณ์ประการต่อมาว่า หนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.10 ระบุเหตุเลิกจ้างว่า การปฏิบัติงานของโจทก์ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ...ไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง จึงเป็นการกระทำประการอื่นไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต  จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เป็นคำวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้นายจ้างยกเหตุอื่นขึ้นอ้างในภายหลังนอกจากเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างมาเป็นข้อต่อสู้ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม  และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง  ย่อมเป็นเหตุให้งานในหน้าที่บกพร่องและล่าช้า ต่ำกว่ามาตรฐานที่จำเลยต้องการและไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เหตุดังกล่าวก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงกัน  มิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน


           การแชทในเวลาทำงานวันละอย่างน้อย 1 ชั่วโมงเป็นประจำเกือบทุกวัน ถ้าได้ความว่า นายจ้างเคยออกหนังสือเตือนมาแล้วครั้งหนึ่ง และหนังสือเตือนมีข้อความห้ามทำผิดซ้ำคำเตือน หากลูกจ้างยังคงแชทอีกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างแชทครั้งแรก(วันที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด) นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (4) หรือการแชทของลูกจ้าง ที่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เช่น ทำให้ไฟไหม้โรงงาน หรืออาคาร สถานที่ของนายจ้าง หรือทำให้เกิดอุบัติเหตุภายในโรงงาน  นายจ้างอาจเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้  แต่ถ้ากรณีแชทเป็นประจำทุกวัน ไม่ได้สร้างความเสียหายร้ายแรง และไม่เคยได้รับหนังสือเตือนจากนายจ้างมาก่อน ถ้าลูกจ้างทำงานมาครบเกณฑ์เงื่อนไข ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง เพราะไม่เข้าเหตุตามมาตรา 119 อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2527 
              ท่านใดมีคำถามให้สอบถามมาได้ที่ 081-616-1425 อ.เดชา กิตติวิทยานันท์ ประธานเครือข่ายทนายคลายทุกข์ หรือแสดงความคิดเห็นมาได้นะครับ  ยินดีตอบทุกคำถาม

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การไล่ออกโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทน
มาตรา 583
ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
การบอกกล่าวล่วงหน้า
มาตรา 17 
สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
           ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน  ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย
          การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้
          การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การเลิกจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย
มาตรา 118
  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้
           (1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
          (2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
           (3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
          (4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
          (5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
          การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
           ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
           การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
มาตรา 119
  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
          (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
          (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
          (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
          (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
            หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
          (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
          (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
          ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
           การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 18

ข้อที่ 1  นายจ้างจัดเวลาพักเบรคเช้า 15 นาที บ่าย 15 นาที เที่ยง 60 นาที

คำถาม เวลาพักเบรค เช้า บ่าย ที่เพ่ิ่มจากปกติ หากผู้บังคับบัญชา เรียกให้พนักงานกลับเข้าทำงานหรือไม่ให้พักเนื่องจากมีงานต่อเนื่อง หรือสำคัญ พนักงานบอกว่าเป็นเวลาพัก

1. ออกหนังสือเตือนได้หรือไม่

2. ถ้าผิดซ้ำอีกเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่

ข้อที่ 2 นายจ้างจะเปลี่ยนสภาพการจ้าง การทำงาน

คำถาม  ถ้านายจ้างเปลี่ยนพักเที่ยงจากเดิม 60 นาที เหลือ 40 นาที ไปเพิ่มพักช่วงเช้า 10 นาที  บ่าย 10 นาที ได้หรือไม่  และพนักงานต้องเซ็นยินยอม 100% หรือไม่

โดยคุณ ไตรรัตน์ 14 พ.ย. 2560, 15:16

ตอบความคิดเห็นที่ 18

1.การที่นายจ้างเรียกให้พนักงานกลับเข้าทำงาน เนื่องจากมีงานต่อเนื่องหรือสำคัญ แต่พนักงานบอกว่าเป็นเวลาพัก เป็นกรณีที่นายจ้างออกคำสั่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ลูกจ้างฝ่าฝืน กรณีดังกล่าวนายจ้างมีสิทธิตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือได้ และถ้าลูกจ้างยังทำผิดซ้ำคำเตือนนั้นอีกภายใน 1 ปี นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างคนดังกล่าวที่ทำผิดซ้ำคำเตือนได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 แต่อย่างไรก็ตาม หากการที่ลูกจ้างไม่กลับเข้าทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน 

2.สามารถทำได้ครับ เพราะ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 27 ที่ว่าเวลาพักเมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง นายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือไม่ก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 27 ธ.ค. 2560, 14:35

ความคิดเห็นที่ 17

ลูกจ้างก็ยังไม่ได้ดำเนินการเขียนใบลาออกหรือแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นอย่างใด นายจ้างเอาข้อความทางไลน์ที่คุยส่วนตัวของพนักงานมาอ้างในศาลแรงงาน ไม่จ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าได้มั้ยครับผม 

โดยคุณ Piched 16 เม.ย. 2560, 05:00

ตอบความคิดเห็นที่ 17

การลาออกไม่มีกฎหมายกำหนดแบบให้ต้องทำตาม เพราะฉะนั้นเพียงแต่ท่านแสดงเจตนาว่าจะลาออก หรือเพียงแต่ไลน์แจ้งนายจ้างว่าท่านจะลาออก การลาออกนั้นก็สมบูรณ์แล้ว ส่วนถ้าหากท่านเพียงแต่ส่งไลน์คุยกับผู้อื่นว่าท่านจะลาออกก็ไม่ได้เป็นการลาออกตามกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นหากนายจ้างเลิกจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ท่านตามกฎหมาย

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 1 มิ.ย. 2560, 14:38

ความคิดเห็นที่ 16

ลูกน้องไม่ปฏิบัติงานที่เป็นหน้าที่ แต่ให้หัวหน้าทำ และใช้คำพูดและกริยาที่ไม่เหมาะสมในที่ทำงาน สามารถออกหนังสือตักเตือน หรือไล่ออกจากงานได้หรือไม่คะ และต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเปล่าในกรณีที่ให้ออกจากงาน

โดยคุณ วันทนา พิศมัย 16 ส.ค. 2559, 08:44

ตอบความคิดเห็นที่ 16

คุยข้อความทางไลน์กับเพื่อนพนักงานฝ่ายบุลคล เรื่องที่คิดจะลาออกจากงาน แต่ต่อมาเพื่อนพนักงานเอาข้อความทางไลน์ที่คุยกันให้นายจ้างดู นายจ้างจึงถือโอกาศเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ โดยอ้างว่าพนักงานเจตนาจะลาออกไว้ก่อนแล้ว นายจ้างสามารถทำได้มั้ยครับ ทั้งๆที่พนักงานก็ไม่ได้คุยกับนายจ้าง หรือหัวหน้างาน เรื่องคิดจะลาออก แต่คุยกับเพื่อนที่เป็นพนักงานฝ่ายบุลคล ซึ่งลูกจ้างก็ยังไม่ได้ดำเนินการเขียนใบลาออกหรือแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นอย่างใด นายจ้างเอาข้อความทางไลน์ที่คุยส่วนตัวของพนักงานมาอ้างในศาลแรงงานได้มั้ยครับผม

โดยคุณ Piched 16 เม.ย. 2560, 04:54

ความคิดเห็นที่ 15

 การแจ้งให้ออกจากงานทางไลน์ ถือเป็นการบอกเลิอจ้างไหม

โดยคุณ บีเค 5 มี.ค. 2559, 15:06

ตอบความคิดเห็นที่ 15


โดยคุณ Piched 16 เม.ย. 2560, 05:05

ตอบความคิดเห็นที่ 15

 ถือเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 วรรคแรก

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 12 พ.ค. 2559, 14:44

ความคิดเห็นที่ 14

 ถือเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 วรรคแรก

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 12 พ.ค. 2559, 14:44

ความคิดเห็นที่ 13

 ปัญญาอ่อน

โดยคุณ 19 ม.ค. 2559, 19:37

ความคิดเห็นที่ 12

 จากกรณีทีพนักงานส่งโพยหวยไปผิดเข้ากลุ่มไลน์บริษัทถือเป็นความผิดร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกไหมค่ะ

โดยคุณ ส่งไลน์ในเวลาทำงาน 2 เม.ย. 2558, 23:04

ตอบความคิดเห็นที่ 12

การเล่นการพนันในเวลาทำงาน ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรงตามมาตรา 119(4) เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องเตือน และไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามพรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคท้าย รวมทั้งไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา 118 และไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตามมาตรา 49 พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 3 เม.ย. 2558, 16:37

ความคิดเห็นที่ 11

การเล่นการพนันในเวลาทำงาน ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรงตามมาตรา 119(4) เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องเตือน และไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามพรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคท้าย รวมทั้งไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา 118 และไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตามมาตรา 49 พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 3 เม.ย. 2558, 16:37

ความคิดเห็นที่ 10

 ขออภัยที่พิมพ์เรื่องค่าชดเชย ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็น ความจริงแชทในเวลาทำงานเลิกจ้างได้แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 118 แต่ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนและไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกจ้าง ขอบคุณครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 ก.พ. 2558, 10:44

ความคิดเห็นที่ 9

 เฉพาะฎีกานี้ ศาลท่านวินิจฉัยเฉพาะเรื่องการบอกกล่าว

ท่านไม่ได้กล่าวถึงค่าชดเชย ซึ่งต้องเป็นไปตามม.119

ลูกจ้างไม่ฟ้องเพราะทำงานไม่ครบ120วัน ดังนั้นจะขยายความว่าจะไม่จ่ายค่าชดเชย ผมว่าไม่ควรอธิบายเกินฎีกาครับ

โดยคุณ ชาติ 6 ก.พ. 2558, 19:25

ตอบความคิดเห็นที่ 9

 ขออภัยที่พิมพ์เรื่องค่าชดเชย ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็น ความจริงแชทในเวลาทำงานเลิกจ้างได้แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 118 แต่ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนและไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกจ้าง ขอบคุณครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 ก.พ. 2558, 10:45

ความคิดเห็นที่ 8

 ขออภัยที่พิมพ์เรื่องค่าชดเชย ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็น ความจริงแชทในเวลาทำงานเลิกจ้างได้แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 118 แต่ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนและไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกจ้าง ขอบคุณครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 ก.พ. 2558, 10:45

ความคิดเห็นที่ 7

ขออภัยที่พาดหัวผิดครับ เนื่องจากทีมงานพิมพ์ผิดพลาด เรื่องค่าชดเชย และขอขอบคุณคุณเอ ที่แสดงความคิดเห็นมาครับ และทนายคลายทุกข์ขอเรียนชี้แจงเพิ่มเติมดังนี้ เหตุยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากพฤติกรรมหรือการกระทำผิดของลูกจ้างนั้น คงมีบัญญัติไว้เฉพาะตามมาตรา 119(1) ถึง (6) เท่านั้น ถ้านายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุอื่น เช่น นายจ้างประสบภาวะขาดทุน (ข้อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 44 ปีการศึกษา 2534) หรือด้วยความผิดอื่นของลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นเพราะลูกจ้างผิดสัญญา(ข้อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 42 ปีการศึกษา 2532) หรือความสามารถของลูกจ้างบกพร่องประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้างลดลง หรือแม้กระทั่งลูกจ้างเจ็บป่วยจนไม่สามารถทำงานได้ตลอดไป นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 2985/2527 (ข้อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 39 ปีการศึกษา 2529)ถ้านายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง อ้างอิง หนังสือ อ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ หน้า 197 ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ

โดยคุณ อ.เดชา กิตติวิทยานันท์  6 ก.พ. 2558, 16:57

ความคิดเห็นที่ 6

ผลของการเลิกจากไม่เป็นธรรมคือ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ (กรณีทำงานเกิน 120 วัน) 

โดยคุณ Bananaboy 6 ก.พ. 2558, 15:46

ตอบความคิดเห็นที่ 6

 ขออภัยที่พิมพ์เรื่องค่าชดเชย ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็น ความจริงแชทในเวลาทำงานเลิกจ้างได้แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 118 แต่ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนและไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกจ้าง ขอบคุณครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 ก.พ. 2558, 10:45

ความคิดเห็นที่ 5

 ขออภัยที่พิมพ์เรื่องค่าชดเชย ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็น ความจริงแชทในเวลาทำงานเลิกจ้างได้แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 118 แต่ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนและไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกจ้าง ขอบคุณครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 ก.พ. 2558, 10:45

ความคิดเห็นที่ 4

ความเห็นส่วนตัว

กรณีที่ผ่านทดลองงานแล้ว ผมเห็นคำพิพากษานี้ก็วางแนวทางให้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ในประโยคนี้ครับ
การที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยทำในเรื่องส่วนตัวย่อมจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร

โดยเราประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมกับมาตรา 119 (2), หรือ (4)

โดยคุณ 6 ก.พ. 2558, 14:54

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก