ให้ออกจากงานก่อนสัญญาครบปี แต่ยังไม่คืนเงินประกัน|ให้ออกจากงานก่อนสัญญาครบปี แต่ยังไม่คืนเงินประกัน

ให้ออกจากงานก่อนสัญญาครบปี แต่ยังไม่คืนเงินประกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ให้ออกจากงานก่อนสัญญาครบปี แต่ยังไม่คืนเงินประกัน

ดิฉันและพี่สาวได้เริ่มทำงานในคลินิกเอกชนแห่งหนึ่ง

บทความวันที่ 19 ธ.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 615 ครั้ง


ให้ออกจากงานก่อนสัญญาครบปี แต่ยังไม่คืนเงินประกัน


         ดิฉันและพี่สาวได้เริ่มทำงานในคลินิกเอกชนแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ 3 ก.พ.57 และได้ถูกหักเงินประกันไปคนละ 4,000 บาท แต่เมื่อ ต.ค.57 ที่ผ่านมา คุณหมอเจ้าของคลินิกได้เรียกดิฉันและพี่สาวเข้าพบว่าจะทำงานต่อที่คลินิกหรือไม่  พี่สาวของดิฉันตัดสินว่าจะทำต่อจนครบปีก็คือ ถึงสิ้นเดือน ก.พ.58 ถึงจะลาออก แต่คุณหมอเจ้าของคลินิกแจ้งว่าให้อยู่ช่วยแค่เดือน พ.ย.57 นี้ก็พอเพื่อที่จะหาเจ้าหน้าที่มาใหม่ แล้วก็จะคืนเงินประกันให้ด้วย  แต่จนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่ได้เงินประกันคืน  คุณหมออ้างว่าต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งใดเสียหายบ้าง ถ้าไม่มีถึงจะคืนเงินให้ แต่ปกติแล้วถ้ามีสิ่งของหรือทรัพย์สินเสียหาย ก็จะถูกหักเวินเดือนของเดือนนั้นๆอยุ่แล้วค่ะ ถ้าในกรณีนี้เราสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้างไหมค่ะ


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
          กรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินเป็นหลักประกันจากลูกจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออก ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 10 วรรคสอง กำหนดให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ยถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่นายจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออกแล้วแต่กรณี ทั้งนี้หากนายจ้างจงใจไม่คืน เงินประกันดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว นายจ้างต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน ตามมาตรา 9 วรรคสองด้วย


ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 9 
ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงินตามมาตรา 10 วรรคสอง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี
            ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่าย ให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน
             ในกรณีที่นายจ้างพร้อมที่จะคืนหรือจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และได้นำเงินไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มตั้งแต่วันที่นายจ้างนำเงินนั้นไปมอบไว้

มาตรา 10  ภายใต้บังคับมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่นหรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้  ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้าง ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จำนวนมูลค่าของหลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
             ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก