แบงก์ต้องปรับตัวตามกฎหมายค้ำประกันใหม่|แบงก์ต้องปรับตัวตามกฎหมายค้ำประกันใหม่

แบงก์ต้องปรับตัวตามกฎหมายค้ำประกันใหม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แบงก์ต้องปรับตัวตามกฎหมายค้ำประกันใหม่

กฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ตอนจบ ซึ่งทนายคลายทุกข์ในฐานะที่ตัวผมเป็นวิทยากร

บทความวันที่ 27 พ.ย. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 15898 ครั้ง


แบงก์ต้องปรับตัวตามกฎหมายค้ำประกันใหม่

            กฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ตอนจบ ซึ่งทนายคลายทุกข์ในฐานะที่ตัวผมเป็นวิทยากรให้กับสถาบันการเงินจะขอพูดถึงผลกระทบของกฎหมายที่มีต่อผู้ค้ำประกัน ซึ่งมีรายละเอียดหลายประเด็นที่ธนาคารเจ้าหนี้จะต้องปรับปรุงกระบวนการตั้งแต่สัญญา กระบวนการทวงหนี้ ทนายคลายทุกข์ขออธิบายเป็นรายประเด็นดังนี้
            ประเด็นที่หนึ่ง สัญญาค้ำประกันต้องเปลี่ยนเนื้อหาของสัญญา
            กฎหมายเดิม
สัญญาค้ำประกันของสถาบันการเงิน มักจะมีข้อความระบุว่า ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดในหนี้ของลูกหนี้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ทุกประเภทสินเชื่อ ทุกวงเงิน โดยไม่จำกัดจำนวนเงิน โดยไม่จำกัดมูลหนี้ โดยไม่จำกัดระยะเวลา และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบทั้งหมดโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้น
             กฎหมายใหม่  ข้อความดังกล่าวต้องตัดออกไปจากสัญญาค้ำประกันและหากจะให้ผู้ค้ำประกันรับผิดในหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้ต่อเจ้าหนี้ในสัญญาค้ำประกัน จะต้องระบุหนี้ว่า เป็นหนี้เงินกู้หรือเป็นหนี้สินเชื่อใด และจะต้องระบุให้ชัดแจ้งว่า เป็นการค้ำประกันหนี้ตามสัญญาฉบับลงวันที่  เดือน พ.ศ. ใด  รับผิดในวงเงินไม่เกินจำนวนเท่าใดเท่านั้น ข้อความที่ระบุให้รับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ไม่จำกัดเวลา ไม่สามารถระบุไว้ในสัญญาได้
              กฎหมายเดิม  สัญญาค้ำประกันของเจ้าหนี้สถาบันการเงินมักจะมีข้อความระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันว่า ผู้ค้ำประกันยอมตกลงรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ทำให้ผู้ค้ำประกันหมดสิทธิเกี่ยง
             กฎหมายใหม่ สัญญาค้ำประกันจะมีข้อตกลงล่วงหน้าในสัญญาค้ำประกัน ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะลูกหนี้ร่วมไม่ได้  เพราะกฎหมายห้ามไว้ หากมีข้อตกลงดังกล่าว ถือว่าเป็นโมฆะเสียเปล่าไม่อาจบังคับกันได้
          ประเด็นที่สอง  กระบวนการในการทวงหนี้
           กฎหมายเดิม  ลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ทวงหนี้ผู้ค้ำประกันได้ทันที โดยไม่ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้
ค้ำประกันก่อน ผู้ค้ำประกันไม่มีเวลาตั้งตัว นอกจากนี้เจ้าหนี้อยากจะทวงหนี้ผู้ค้ำประกันเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งบางครั้งลูกหนี้ผิดนัดเป็นเวลานานแล้ว แต่เจ้าหนี้ไม่แจ้งผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันก็ต้องแบกรับภาระหนี้ร่วม
            กฎหมายใหม่  เมื่อลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้จะทวงหนี้ผู้ค้ำประกันทันทีไม่ได้  ต้องมีกระบวนการ มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายก่อน กล่าวคือจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวเป็นทางการไปยังผู้ค้ำประกันว่าลูกหนี้ได้ผิดนัดชำระหนี้แล้ว ต้นเงิน ดอกเบี้ย เป็นเงินเท่าใด  และต้องบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และจะทวงหนี้ผู้ค้ำประกันได้ต่อเมื่อหนังสือบอกกล่าวไปถึงผู้ค้ำประกันแล้ว ในทางปฏิบัติธนาคารใช้วิธีส่งจดหมายลงทะเบียนตอบรับ เจ้าหนี้สถาบันการเงินจะต้องเก็บหลักฐานใบตอบรับเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าหนังสือบอกกล่าวไปถึงผู้ค้ำประกันแล้วไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก หากไม่มีใบตอบรับอาจถูกลูกหนี้โต้แย้งได้ว่าเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิทวงหนี้กับผู้ค้ำประกัน ภาษากฎหมายเรียกว่า “สิทธิเกี่ยง” หมายถึง เกี่ยงให้ไปทวงหนี้กับลูกหนี้ก่อนได้    ธนาคารเมื่อลูกหนี้ผิดจะปล่อยเวลาเนิ่นนานไปหลายเดือน ไม่แจ้งผู้ค้ำประกัน ทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ทราบว่าลูกหนี้ผิดนัด ต้องรับภาระดอกเบี้ยค่าปรับเป็นจำนวนมากไม่ได้ หากธนาคารเจ้าหนี้ไม่บอกกล่าวผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ดอกเบี้ยผิดนัดที่เกิดขึ้นหลังจากครบ 60 วัน ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบ ภาษากฎหมายเรียกว่า “หลุดพ้น” ดังนั้น ธนาคารจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมการออกหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันให้อยู่ในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะเสียประโยชน์จากการบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน ซึ่งกระบวนการทวงหนี้มีรายละเอียดหยุมหยิมมากมาย ธนาคารต้องจัดทำคู่มือในการทำงานและซักซ้อมทำความเข้าใจให้ดี มิฉะนั้น อาจได้รับความเสียหาย
           ประเด็นที่สาม ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
            กฎหมายเดิม ผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้ทั้งหมด
            กฎหมายใหม่ ผู้ค้ำประกันอาจเลือกชำระหนี้ทั้งหมดก็ได้ หรือจะใช้สิทธิโดยผ่อนชำระตามเงื่อนไข เช่น จ่ายค่างวดเหมือนเดิม ระยะเวลาผ่อนชำระเหมือนเดิมก็ได้
           ประเด็นที่สี่ การลดหนี้
          
กฎหมายเดิม ธนาคารมักจะทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือลดหนี้ให้กับลูกหนี้ที่หมดความสามารถในการชำระหนี้ โดยไม่แจ้งผู้ค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ผิดนัดตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ก็จะมีข้อสัญญาอยู่ข้อหนึ่งให้ลูกหนี้กลับไปชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิม ซึ่งมีจำนวนสูงกว่า นอกจากนี้ก็จะมีข้อตกลงล่วงหน้าว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมไว้ล่วงหน้าแล้ว  กรณีไม่แจ้งผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันก็ไม่รู้เรื่องการลดหนี้ จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการลดหนี้
           กฎหมายใหม่ มีการบัญญัติถึงการลดจำนวนหนี้ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หากลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนตามที่เจ้าหนี้ลดหนี้ หรือชำระหนี้บางส่วนตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ชำระหนี้ไปบางส่วนแล้ว ผู้ค้ำประกันชำระส่วนที่เหลือจนครบตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ไม่ว่าจะล่วงเลยกำหนดเวลาชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกันแล้วหรือไม่ก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้น  เจ้าหนี้สถาบันการเงินจะมีข้อตกลงให้มีผลเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกันให้มากกว่าที่กฎหมายบัญญัติไม่ได้ หากมีถือว่าเป็นโมฆะ
           ประเด็นที่ห้า  การปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือการแก้ไขหนี้ต้องเปลี่ยนไป
           กฎหมายเดิม การทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือการขยายเวลาให้ลูกหนี้ถือว่าผู้ค้ำประกันยินยอมด้วย โดยมีข้อตกลงไว้ในสัญญาค้ำประกันแล้ว ดังนั้น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้จึงเป็นเรื่องง่าย ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหนี้เพียงฝ่ายเดียว เพราะมีข้อตกลงล่วงหน้า ทำให้ต้องรับผิดนานเกินควร ไม่จบไม่สิ้น
          กฎหมายใหม่ ถ้าเจ้าหนี้สถาบันการเงินจะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะขยายเวลาหรือการผ่อนเวลา จะต้องเรียกผู้ค้ำประกันเข้ามาตกลงด้วย ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากที่จะเรียกทั้งลูกหนี้และผู้ค้ำประกันมาพบที่สำนักงานของธนาคาร จึงทำให้ขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นเรื่องยุ่งยาก ทางแก้ของสถาบันการเงิน ก็น่าจะใช้วิธีการส่งฟ้องศาลทั้งลูกหนี้และผู้ค้ำประกันไปทีเดียว เพราะปลอดภัยกว่า ไม่ต้องกลัวว่าถ้าขยายระยะเวลาให้ลูกหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นทำให้การแก้ไขหนี้นับแต่นี้ไป จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก คดีความเกี่ยวกับเงินกู้และผู้ค้ำประกัน ที่จะเข้าไปสู่กระบวนการพิจารณาของศาลจะมากขึ้น พนักงานทวงหนี้และพนักงานแก้ไขหนี้ อาจจะตกงาน เพราะไม่มีงานทำ ไม่รู้ว่าจะไปทวงหนี้กับใคร เมื่อผู้ค้ำประกันไม่ใช่ลูกหนี้ร่วม
            ประเด็นสุดท้าย ค่าใช้จ่ายของธนาคารจะต้องเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล เช่น ค่าใช้จ่ายในการออกหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกัน และต้องมีใบตอบรับค่าใช้จ่ายในการออกหนังสือถึงผู้ค้ำประกันว่าได้ไปทวงหนี้ลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่จ่ายและไม่มีทรัพย์สินที่จะนำมาชำระหนี้ และแจ้งให้ผู้ค้ำประกันพิสูจน์ว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินที่จะบังคับคดีได้ไม่ยาก สัญญาค้ำประกัน สัญญาเงินกู้ ก็ต้องไปจัดพิมพ์ใหม่ทั้งหมด  หนังสือทวงหนี้ หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง ก็ต้องร่างใหม่ให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ เป็นต้น

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

 สอบถามหน่อยค่ะน้องสาวไปกู้ร่วมกันแบบสามคนที่แบงออมสินน้องสาวและผู้กู้อีกคนจ่ายเงินกู้หมดแล้วแต่ผู้กู้คนสุดท้ายไม่จ่ายเงินจนเวลาผ่านมาเกือบห้าปีน้องสาวผู้เป็นผู้ค้ำได้ไปสมัครบัตรเครดิตแต่กลับโดยตอบกลับมาว่าทางธนาคารออมสินติดเครดิตบูโรโดยไม่มีการแจ้งรายละเอียดใดๆทั้งสิ้นไปคุยที่ธนาคารก็ให้จ่ายเต็มจำนวนอย่างเดวส่วนคนค้ำอีกคนติดต่อไม่ได้ถ้าเปนแบบนี้ต้องทำยังไงค่ะไม่อยากติดบูโรเพราะต้องการทำเรื่องกู้สร้างบ้านและก็ไม่อยากรับผิดชอบหนี้ที่เราไม่ได้ใช้ด้วยน่ะค่ะรบกวนให้คำปรึกษาทีค่ะ

โดยคุณ กุ้ง 3 พ.ย. 2558, 10:35

ความคิดเห็นที่ 3

 ในฐานะผู้ค้ำ หากลูกหนี้ต้องการประบโครงสร้างหนี้แต่ผู้ค้ำไม่ยินยอมเซนรับทราบการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ให้ ลูกหนี้จะสามารถประบโคีงสร้างหนี้ได้หนือไม่คะ

คือดิฉันได้รับคำตอบจากทางธนาคารว่า ดิฉันต้องไปเซนเพื่อค้ำประกันให้ลูกนี้เพื่อปรับโครงสร้าง

และไม่สามารถเปลี่ยนผู้ค้ำได้ แต่ส่วนตัวดิฉันไม่ต้องการจะค้ำให้ลูกหนี้อีกต่อไปค่ะ///รบกวนท่านอาจารย์ช่วยตอบข้อข้องใจด้วย ....ขอบพระคุณค่ะ

โดยคุณ Poom 2 เม.ย. 2558, 01:53

ความคิดเห็นที่ 2

 ขอรบกวนสอบถามหน่อยค่ะ

ผู้ค้ำที่ทำสัญญาค้ำประกันก่อนที่กฎหมายนี้จะประกาศ จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้ด้วยไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ

โดยคุณ nus 22 มี.ค. 2558, 07:23

ความคิดเห็นที่ 1

การปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ โดยปกติแล้วก็เป็นการผ่อนเวลาให้กับลูกหนี้  (เลื่อนกำหนดชำระหนี้ , กำหนดชำระหนี้เป็นงวด ) ถ้าผู้ค้ำประกันไม่ตกลงยินยอมในการผ่อนเวลาด้วย   ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นความรับผิดไปเลย ตาม ปพพม.700  ไม่ใช่เพียงแค่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ตามไปด้วย ครับ

ตามกฎหมายใหม่ ความตกลงยินยอมล่วงหน้าให้ผ่อนเวลาได้ ใช้บังคับไม่ได้

โดยคุณ วิชย ไทรวิจิตร (สมาชิก) 8 ม.ค. 2558, 09:06

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก