นิติกรรมอำพราง|นิติกรรมอำพราง

นิติกรรมอำพราง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

นิติกรรมอำพราง

ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาเกี่ยวกับนิติกรรมอำพราง

บทความวันที่ 25 พ.ย. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 16723 ครั้ง


นิติกรรมอำพราง

           ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาเกี่ยวกับนิติกรรมอำพรางมานำเสนอ ดังนี้

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038 - 1039/2509
              ทำสัญญาจ้างทำนาเป็นหนังสือโดยอำพรางนิติกรรมการเช่านาสัญญาเช่านาที่ถูกอำพรางนั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิฉะนั้นไม่มีผลบังคับและจะถือเอาหลักฐานสัญญาจ้างทำนาเป็นหลักฐานการเช่านามิได้ เมื่อการเช่านามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ และโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากนาแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิอยู่ในนาที่เช่านั้นต่อไปได้ การอยู่ต่อมาของจำเลยจึงเป็นละเมิด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2509)

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517
           การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก สัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
           ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
            การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552
            เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้น เงินกู้ไม่ได้ แต่ต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลย และโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น สำหรับการขายฝากที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยเมื่อตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยแล้ว ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสียได้โดยจำเลยยังคงยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ทั้งสองไว้ได้จนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเงินกู้และดอกเบี้ยแก่จำเลยครบถ้วน

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2544

            โจทก์จำเลยเจตนาทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาทที่ทำกันไว้สัญญาขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่งส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้โดยสัญญาขายก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 155 วรรคสอง และมาตรา 152 เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับต่างตกเป็นโมฆะ โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมกรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยโจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย จำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์
(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลฎีกา  )

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ขอปรึกษาครับ คุณป้าแบ่งที่ดินยกให้น้อง(ลูกของอา)และหลาน(ลูกของน้องสาวแท้ๆ)เมื่อวันที่5มิย.62ไปส่ง.ที่ดินเพื่อยกให้แต่น้อง(ลูกของอา)บอกให้ทำเป็นเรื่องซื้อขายจะเสียภาษีถูกกว่าทั้งป้าและหลานก็ถูกหลอกจนทำนิติกรรมที่ดินเป็นเรื่องซื้อขายโดยเข้าใจว่าจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ในสัญญาซื้อขายกลายเป็นแบ่งที่ดินคนละครึ่ง และบ้านพักอาศัยคนละครึ่ง ขอทราบอายุความของสัญญาซื้อขายที่เป็นนิติกรรมอำพรางจะมีผลบังคับได้จริงๆเมื่อใดเพราะคุณป้าอายุ82ปี ถ้าจะต่อสู้ขึ้นศาลอีก3ศาลผมเป็นห่วงสุขภาพครับ ผมอธิบายให้ร้องเรียนก็บอกว่าเค้าอยากได้ก้อให้เค้าไป แต่ผมยังคิดว่าความยุติธรรมต้องมีและยังเรื่องเจ้าหน้าที่ที่ดินช่วยทางฝั่งน้องอีกครับ


โดยคุณ ว่าที่ร้อยตรี สุวิช ไตรนิคม 6 ส.ค. 2562, 10:33

ตอบความคิดเห็นที่ 1

รบกวนติดต่อที่ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 9 ก.ย. 2562, 15:13

ตอบความคิดเห็นที่ 1

เมื่อสัญญาขายฝากถูกเพิกถอนแล้ว เจ้าหนี้จะต้องฟ้องโดยอาศัยสัญญาขายฝากเป็นสัญญากู้ยืม ซึ่งในเรื่องกู้ยืมเงินจะมีอายุความโดยปกติ 10 ปี หรือ 5 ปีหากเป็นกรณีผ่อนชำระต้นเงินคืนเป็นงวดๆ โดยนับอายุความตั้งแต่วันผิดนัดตามสัญญาหรือวันที่ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ครับ

โดยคุณ Ekkapon 16 ส.ค. 2562, 15:20

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก