การวิ่งเต้นล้มคดี|การวิ่งเต้นล้มคดี

การวิ่งเต้นล้มคดี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การวิ่งเต้นล้มคดี

ปัจจุบันมีข่าวเกี่ยวกับการวิ่งเต้นล้มคดีเป็นประจำทุกวัน เช่น ตำรวจตั้งด่าน จับไม้เถื่อนหรือไม้พยุง

บทความวันที่ 23 ต.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2104 ครั้ง


การวิ่งเต้นล้มคดี

            ปัจจุบันมีข่าวเกี่ยวกับการวิ่งเต้นล้มคดีเป็นประจำทุกวัน เช่น ตำรวจตั้งด่าน จับไม้เถื่อนหรือไม้พยุง ผู้กระทำความผิดก็มักจะให้เงินเพื่อล้มคดีหรือคดียาเสพติด ถูกจับก็มีหน้าม้าหรือคนกลางติดต่อล้มคดีหรือลดสารเสพติด หรือวิ่งเต้นเพื่อขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยอ้างว่ารู้จักตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา เป็นต้น ซึ่งสิ่งดังกล่าวล้วนเป็นเรื่องผิดกฎหมายและจริยธรรม และถ้าถูกจับได้ก็จะถูกดำเนินคดี โดยที่ผ่านมามีคดีวิ่งเต้นล้มคดีขึ้นสู่ศาลหลายคดี ทนายคลายทุกข์จึงนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นอุทาหรณ์เพื่อให้หยุดยั้งพฤติกรรมดังกล่าวดังนี้
              1.คำพิพากษาฎีกาที่ 7695/2543 การที่จำเลยที่ 2 ร่วมเรียกและรับเงินไปจาก น. เป็นการตอบแทนโดยอ้างว่าจะนำไปใช้จูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษา โดยวิธีการอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดีโดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่ น. ในคดีอาญาที่ น.ถูกฟ้องนั้น ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 143 แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ไปจูงใจผู้พิพากษาในการกระทำการในหน้าที่ให้คุณแก่ น. ก็ยังครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 143 แม้คำเบิกความของ น. ไม่ได้ระบุชื่อผู้พิพากษาซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีอาญาที่ น. ถูกฟ้อง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด
              2.คำพิพากษาฎีกาที่ 537/2523 เรียกทรัพย์ว่าจะนำไปให้ผู้พิพากษาตัดสินยกฟ้อง แม้ผู้เรียกไม่ตั้งใจเอาทรัพย์ที่เรียกไปให้เจ้าพนักงานนั้นเลย ก็เป็นการกระทำที่ครบองค์ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 143 แล้ว
              3.คำพิพากษาฎีกาที่ 334/2526 จำเลยเรียกเงินจาก ป. กับพวก  โดยอ้างว่าจะนำไปให้ผู้พิพากษาเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจผู้พิพากษาให้พิพากษายกฟ้องคดีอาญา ซึ่งญาติของ ป. กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลย ต่อมาเมื่อ ป. กับพวกรวบรวมเงินตามจำนวนที่จำเลยเรียกร้องครบแล้ว จึงได้มอบให้จำเลยรับไป ดังนี้ เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาที่จะเรียกและรับเงินซึ่งเป็นเจตนาอันเดียวกันมาตั้งแต่แรกและเป็นการกระทำต่อเนื่องในคราวเดียวกัน  ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน
            4.คำพิพากษาฎีกาที่ 4586/2531 การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ท. กับพวกโดยอ้างว่าจะเอาไปให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษายกฟ้องในคดีที่ ท. กับพวกเป็นจำเลย ดังนี้ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่จำเลยอ้างดังกล่าวย่อมหมายถึงผู้พิพากษาผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายแม้จะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนหรือองค์คณะที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้นก็ตาม ก็ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ ท. กับพวกแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
            5.คำพิพากษาฎีกาที่ 661/2554 การที่จำเลยเรียกและรับเงินไปจากผู้เสียหายเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายเพื่อให้กระทำการในหน้าที่โดยช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องในคดีที่ ร. ถูกดำเนินคดีอาญา แม้อัยการ ธ. จะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนในคดีนั้นและจำเลยยังมิได้ให้เงินกันก็ตาม ก็ถือว่า ธ. เป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำในหน้าที่อันเป็นคุณแก่ ร. แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ.มาตรา 143 แล้ว
            6.คำพิพากษาฎีกาที่ 2354/2522  การเรียกและรับเงินจากผู้ต้องหาในคดีอ้างว่าจะเอาไปให้พนักงานสอบสวนเพื่อให้ช่วยพ้นคดีเป็นความผิดตามมาตรา 143 โจทก์ไม่จำเป็นต้องนำสืบว่าเอาไปให้พนักงานสอบสวนจริงหรือไปพูดกับพนักงานสอบสวนให้ช่วยพ้นคดีหรือไม่
           7.คำพิพากษาฎีกาที่ 5174/2533 จ.สามี ล. ที่จำเลยที่ 2 พา น. ไปติดต่อเพื่อจะขอให้ช่วยวิ่งเต้นให้ น. ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ ไม่ได้เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จ. จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานที่ ล. หรือจำเลยคนหนึ่งคนใดจะพึงจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่ โดยพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 ได้
            8.คำพิพากษาฎีกาที่ 423/2522  จำเลยเรียกเงินจากร้านที่จำเลยรับจ้างทำบัญชีอ้างว่าจะเอาไปให้นาย ก. ผู้ช่วยสรรพากรไม่ให้มาตรวจบัญชีที่ทำผิด แต่นาย ก. เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ธุรการ ไม่มีหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีเลย การกระทำของจำเลยก็เลยไม่ผิดมาตรา 143
            9.คำพิพากษาฎีกาที่ 1332/2537 โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเรียกและรับเงินจากผู้เสียหาย โดยอ้างว่าจะนำไปให้ ก. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารแก่ผู้เสียหาย เพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ อันเป็นคุณแก่ผู้เสียหายโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 นั้นมิได้อยู่ที่เจ้าพนักงานได้กระทำการในหน้าที่แล้วหรือไม่ แม้จะออกใบอนุญาตแล้ว ก. ก็ยังคงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การออกใบอนุญาตไปแล้วมิได้ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
             10.คำพิพากษาฎีกาที่  4846/2536 การที่จำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปจากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริต ให้กระทำการแทนในหน้าที่โดยพิพากษาคดีให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหาย ให้ผู้เสียหายชนะคดีในชั้นศาลฎีกานั้น ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว จำเลยที่ 1 จะได้ไปจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายหรือไม่ หาใช่องค์ประกอบของความผิดไม่ ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้เรียกและรับเงินจากผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถจะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ผู้เสียหายได้ทันก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด
              11.คำพิพากษาฎีกาที่ 313/2490 แสดงตนเป็นคนสนิทชิดชอบกับภรรยาผู้พิพากษาจะไปพูดกับภรรยาผู้พิพากษาให้พูดกับผู้พิพากษาตัดสินความให้ผู้เป็นความชนะคดี ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงตนเป็นคนสนิทชิดชอบกับเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะชนะคดี ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงตนเป็นคนสนิทชิดชอบกับเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 123 เป็นแต่แสดงว่าสนิทชิดชอบกับภรรยาเจ้าพนักงานเท่านั้น
ศาลยุติธรรมยังเป็นที่พึ่งของประชาชนได้เสมอ อย่าหลงเชื่อพวกหลอกลวง อ้างว่าวิ่งเต้นล้มคดีได้นะครับ

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 สวัสดีค่ะ. ดิฉันได้รับความเดือนร้อนถูกทนายความหลอกลวงว่าสามารถวิ่งเต้นล้มคดีความของสามีได้แต่ต้องเสียเงินจำนวนหนึ่งล้านหกแสนบาทให้เขาซึ่งเขารับปากว่าถ้าไม่สำเร็จจะคืนเงินให้แต่สามีดิฉันรับโทษมาได้สามเดือนแล้วเขาก็บ่ายเบี่ยงไม่ยอมคืนเงินให้ ตอนนี้ดิฉันเดือดร้อนมากค่ะ รบกวนขอความช่วยเหลือหน่อยนะคะ เงินที่จ่ายไปสามีดิฉันทำงานเก็บสะสมมาตลอดชีวิตและตอนนี้ยังต้องดูแลบุตรในวัยเรียนอีกถึงสองคน  ติดต่อดิฉันไดที่ 0898365319

โดยคุณ ศุภาพิชญ์. 11 พ.ย. 2557, 19:06

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก