หนี้เสียเกิดจากการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพ|หนี้เสียเกิดจากการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพ

หนี้เสียเกิดจากการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หนี้เสียเกิดจากการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพ

ในปัจจุบันสถาบันการเงินมีการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่ดีขึ้น

บทความวันที่ 16 ต.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 584 ครั้ง


หนี้เสียเกิดจากการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพ

             ในปัจจุบันสถาบันการเงินมีการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่ดีขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อที่เข้าข่ายว่าจะมีลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ โดยให้สถาบันการเงินมีการพิจารณาการใช้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
              ถ้าท่านผู้อ่านได้ติดตามข่าวสารในช่วงนี้ โดยเฉพาะข่าวเศรษฐกิจ จะพบเห็นข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงินบางแห่งขาดสภาพคล่อง อันสืบเนื่องมาจากการปล่อยสินเชื่อที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ เป็นเหตุให้เกิดหนี้เสีย จนทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ต่อไป สาเหตุของการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพมาจากสิ่งดังต่อไปนี้
             1. ความด้อยประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ  ไม่มีประสบการณ์ในการปล่อยสินเชื่อ จึงไม่รอบคอบในการปล่อยสินเชื่อหรือรู้ไม่เท่าทันลูกค้าที่มาขอสินเชื่อ จนหลงเชื่อคำโอ้อวดของลูกค้าว่าสามารถชำระหนี้คืนได้ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ตั้งแต่ต้น
             2. เจ้าหน้าที่สินเชื่อทุจริต กรณีนี้เป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน ก่อนที่จะมีการขอสินเชื่อ เช่น ผู้ขอสินเชื่อกับเจ้าหน้าที่สินเชื่อรู้จักกันมาก่อน เป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน เป็นญาติกัน เป็นเพื่อนกัน เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกัน หรือเคยทำธุรกิจด้วยกันมาก่อน จึงทำให้เกิดการทุจริตโดยการสมคบคิดกัน แทนที่ผู้ขอสินเชื่อจะเป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการมานำเสนอสถาบันการเงิน ในทางตรงกันข้ามเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่ทุจริตเป็นคนจัดทำ จัดเตรียมเอกสารเพื่อขอสินเชื่อ เขียนแผน เขียนโครงการแทนลูกค้า ให้สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารเพื่อให้ง่ายในการอนุมัติ หลังจากจัดเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วให้ดูดีน่าเชื่อถือ มีทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง บิดเบือน ความจริงครึ่งเดียว หรือเอกสารปลอมรวมกันเข้าไป  บางกรณีใช้เพียงสำเนาเอกสารที่แตกต่างจากต้นฉบับ รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้ขอสินเชื่อ โดยเจ้าหน้าที่สินเชื่อรู้เห็นเป็นใจ ไม่ตรวจสอบต้นฉบับเนื่องจากสมคบคิดกันมาตั้งแต่ต้น เมื่อมีการอนุมัติสินเชื่อไปจึงทำให้เกิดหนี้เสียกับสถาบันการเงิน
            3. ผู้ขอสินเชื่อฉ้อฉล  เช่น ทำเอกสารหรือให้ข้อมูลผิดไปจากความจริงหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสำคัญผิด นำเอกสารหลายๆ อย่างมารวมกัน แต่ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทำให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อวิเคราะห์สินเชื่อผิดพลาดไป ก็เป็นต้นเหตุของหนี้เสีย
            ทนายคลายทุกข์ขอนำประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.7/2554 เรื่อง การให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้มานำเสนอในส่วนของเนื้อหา ข้อ 5. รายละเอียดของประกาศปรากฎตามด้านล่างนี้
            ข้อ 5.  เนื้อหา
            5.1 ให้สถาบันการเงินพิจารณาด้วยความระมัดระวังรอบคอบ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ ซึ่งมีลักษณะเป็นหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้
                      5.1.1 การให้สินเชื่อแก่บุคคลซึ่งตามพฤติการณ์ไม่อาจชำระหนี้ได้ หรืออาจชำระหนี้ได้โดยยาก ตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
                       (1) บุคคลซึ่งศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
                       (2) บุคคลซึ่งถูกฟ้องบังคับชำระหนี้และไม่มีทรัพย์สินพอที่จะยึดมาชำระหนี้ได้
                       (3) บุคคลซึ่งมีฐานะการเงินไม่มั่นคงหรือความสามารถในการหารายได้ต่ำจนไม่น่าเชื่อว่าจะชำระหนี้ได้
                       (4) บุคคลซึ่งไม่ปรากฏว่าประกอบธุรกิจแน่ชัดหรือมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าไม่ได้ประกอบธุรกิจจริงจัง และไม่ปรากฏว่ามีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ได้
             5.1.2 การให้สินเชื่อโดยมีบุคคลตามข้อ 5.1.1 เป็นผู้ค้ำประกัน
             5.1.3 การให้สินเชื่อที่ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานแสดงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตัวลูกหนี้หรือผู้ค้ำ
ประกัน
             5.1.4 การให้สินเชื่อที่ปรากฏหลักฐานว่าลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันตามเอกสารหลักฐานไม่มีตัวตนจริงหรือมีแต่มิได้เป็นผู้ขอสินเชื่อและผู้ค้ำประกัน
             5.1.5 การให้สินเชื่อโดยไม่ได้มีการวิเคราะห์หรือประเมินฐานะหรือความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน อย่างเช่นสถาบันการเงินผู้ประกอบกิจการด้วยความระมัดระวังพึงกระทำ
             5.1.6 การทำธุรกรรมด้านสินเชื่อที่มีการประเมินราคาหลักประกันไว้สูงกว่ามูลค่าหลักประกันที่แท้จริง โดยมูลค่าหลักประกันที่แท้จริงมิได้ใช้มูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาตามหลักเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน
            5.2 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าสถาบันการเงินใดมีการให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ตามข้อ 5.1 อันอาจจะเกิดความเสี่ยงต่อสถาบันการเงินได้ในอนาคต ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้สถาบันการเงินสำรองเพิ่มเติมเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แก้ไขหรือระงับการดำเนินการดังกล่าวได้
             สุดท้ายนี้ฝากไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อของสถาบันการเงิน ต้องพัฒนาตัวเองให้ทันเล่ห์เหลี่ยมลูกค้า และต้องยึดหลักวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ไม่คดโกง สถาบันการเงินจึงจะอยู่รอดปลอดภัย

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก