มาตรฐานขั้นต่ำของกรรมการบริษัท|มาตรฐานขั้นต่ำของกรรมการบริษัท

มาตรฐานขั้นต่ำของกรรมการบริษัท

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

มาตรฐานขั้นต่ำของกรรมการบริษัท

ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับ มาตรฐานขั้นต่ำของกรรมการบริษัท

บทความวันที่ 1 ต.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 933 ครั้ง


มาตรฐานขั้นต่ำของกรรมการบริษัท

             ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับ มาตรฐานขั้นต่ำของกรรมการบริษัทมาให้ท่านได้ศึกษากันดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2541
             จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ต่างก็เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ต่างวาระกัน มีหน้าที่ดูแลกิจการทั้งหมดของธนาคารโจทก์ให้พนักงานปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารที่ได้วางไว้ตลอดถึงการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธนาคารพาณิชย์เมื่อมีการปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเงิน การค้ำประกันและอาวัลตั๋วเงินไม่เป็นไปตามระเบียบปกติของธนาคาร มิได้เร่งรัดติดตามหนี้สิน หรือดำเนินการใดเพื่อแก้ไขหนี้ดังกล่าวเป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ สำหรับจำเลยที่ 4 แม้มิใช่เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แต่มีหน้าที่ดูแลด้านสินเชื่อภายในประเทศ ซึ่งจำเลยที่ 4ได้รับการสรุปภาระหนี้สินของธนาคารโจทก์จาก ป.หลายครั้งเพื่อให้สั่งการ แต่จำเลยที่ 4 ก็มิได้สั่งการแต่ประการใดเป็นเหตุให้ไม่สามารถติดตามหนี้สินจากลูกหนี้ของธนาคารโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และระเบียบปฏิบัติของธนาคารโจทก์ จำเลยที่ 4ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประกอบกิจการบริษัทของกรรมการซึ่งอำนาจของกรรมการจะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามมาตรา 1158 ถึง 1164 ส่วนมาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการ ซึ่งมาตรา 1168 วรรคแรก บัญญัติให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขาย ผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ส่วนวรรคสองหมายถึง กิจการที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมาขึ้น หาได้หมายความว่า กรรมการจะต้องร่วมกันรับผิดเฉพาะกิจการ 4 ประการ ที่บัญญัติในวรรคสอง มาตรา 1168 เท่านั้นไม่ เมื่อมาตรา 1168 บัญญัติให้กรรมการทุกคนต้องมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่อง การจะเป็นกรรมการของบริษัทใด กรรมการผู้นั้นจึงต้อง ประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจในการประกอบกิจการของบริษัท นั้นด้วย มิฉะนั้นกรรมการก็ไม่อาจเอื้อเฟื้อสอดส่อง กิจการให้ดีได้ ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ต้องอาศัยกรรมการผู้มีความรอบรู้ในธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย เพื่อให้เอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการของธนาคารให้ลุล่วงไปด้วยดี การที่ธุรกิจของโจทก์ประสบปัญหามาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2523ไม่ว่าการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ในระดับไม่พอใช้จนถึงด้อยคุณภาพจัดชั้นเป็นสูญและสงสัยจำนวนสูง การแสดงผลกำไรตั้งแต่ปี 2522 ผิดพลาดเพราะแท้จริงแล้วธุรกิจของโจทก์ ขาดทุนมิใช่กำไร มีการให้สินเชื่อแก่กลุ่มผู้บริหารมาก แม้ว่าการให้สินเชื่อดังกล่าวจะไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 12(2) และมาตรา 12 ทวิก็ตาม แต่หนี้ในกลุ่มดังกล่าว หลักประกันไม่คุ้มหรือไม่มีเลยดังนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7เป็นกรรมการของโจทก์มีหน้าที่ต้องดูแลการบริหารกิจการของโจทก์มิให้เสียหาย กลับปล่อยให้มีการให้สินเชื่อโดยหลักประกันไม่คุ้ม เมื่อหนี้ถูกจัดเป็นหนี้เสียก็มิได้เร่งรัดติดตามหนี้ แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะแจ้งให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานดังกล่าวจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ก็หาได้ดำเนินการใดเพื่อแก้ไขไม่ ดังนั้นเมื่อตามพฤติการณ์ควรจะรู้ข้อปัญหาดังกล่าว หรือโดยสามัญสำนึกของวิญญูชนผู้ประกอบการค้าเช่นนั้นควรจะพึงรู้ได้ แต่มิได้กระทำการใดเพื่อปกป้องความเสียหายอันจะเกิดแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 มิได้ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของโจทก์ จะอ้างว่าไม่รับรู้การบริหารงานของโจทก์หรือมิได้มาทำงานเป็นประจำก็ดี ไม่มีหน้าที่ก็ดีเพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการโจทก์ ระหว่างวันที่ 16กันยายน 2508 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2526 จำเลยที่ 5เป็นกรรมการโจทก์ ระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน 2519ถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2527 จำเลยที่ 6 เป็นกรรมการโจทก์ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม 2523 ถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2527และจำเลยที่ 7 เป็นกรรมการระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม 2518ถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2527 ดังนั้น หน้าที่ในการเอื้อเฟื้อสอดส่องของกรรมการ จึงมีเพียงในช่วงเวลาดังกล่าวการที่จะให้จำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 รับผิดในหนี้ที่ก่อหรืออนุมัติภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6และที่ 7 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์แล้วจึงไม่ชอบ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก