กรรมการบริษัทกระทำละเมิด ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลภายนอกด้วย|กรรมการบริษัทกระทำละเมิด ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลภายนอกด้วย

กรรมการบริษัทกระทำละเมิด ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลภายนอกด้วย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กรรมการบริษัทกระทำละเมิด ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลภายนอกด้วย

ท่านผู้อ่านสอบถามมาว่า กรรมการบริษัทกระทำละเมิด

บทความวันที่ 1 ต.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 774 ครั้ง


กรรมการบริษัทกระทำละเมิด ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลภายนอกด้วย

         ท่านผู้อ่านสอบถามมาว่า กรรมการบริษัทกระทำละเมิด ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลภายนอกด้วยหรือไม่  กรรมการบริษัทกระทำละเมิด ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลภายนอกด้วย ทนายคลายทุกข์จึงได้ไปศึกษาค้นคว้ามาจากเว็บไซต์ศาลฎีกา  มาให้ท่านได้ศึกษากันดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2546
             โจทก์เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และกรรมสิทธิ์ของโจทก์จะสิ้นสุดลงได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือโดยโจทก์ทำนิติกรรมใด ๆ ให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไป โจทก์มิได้ทำนิติกรรมให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 4 หรือจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 4 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างอาคารกับจำเลยที่ 1 โดยยอมให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำเลยที่ 4 ได้ทำขึ้นและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำไปไว้ ณ สถานที่ทำงานจ้างตกเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 4 แล้ว ก็คงมีผลเฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 จะยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงงานจากจำเลยที่ 4 ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้มอบหมายหาได้ไม่ทั้งสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ย่อมมีผลผูกพันก่อให้เกิดบุคคลสิทธิหรือสิทธิเหนือบุคคลเฉพาะจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญา ดังนั้น หากจำเลยที่ 4ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิบังคับตามสัญญาได้เฉพาะแก่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่จะให้มีผลกระทบกระทั่งแก่สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่โจทก์
             การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ห้ามและขัดขวางมิให้โจทก์เข้ารื้อถอนเอาทรัพย์สินของโจทก์กลับคืนเป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1ซึ่งกระทำไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้กระทำเช่นนั้นได้ เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จึงต้องคืนทรัพย์สินให้แก่โจทก์หรือใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วยทั้งนี้ ตามมาตรา 1167 ประกอบด้วยมาตรา 427

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก