การฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์|การฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์

การฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 กระทรวงยุติธรรมได้ออกกฎกระทรวง กำหนดให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด

บทความวันที่ 11 ก.ย. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 602 ครั้ง


การฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์


           เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 กระทรวงยุติธรรมได้ออกกฎกระทรวง กำหนดให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด เป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/1 ทำให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ที่มีปัญหาสภาพคล่อง แต่ยังมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอฟื้นฟูกิจการ แต่ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล การประกอบกิจการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จำกัด ที่เป็นหนี้เจ้าหนี้จนถึงปัจจุบันถึง 20,000 ล้านบาทเศษ จะได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ
           รายละเอียดของกฎกระทรวง ฉบับใหม่ มีรายละเอียดดังนี้
          กฎกระทรวงกำหนดให้นิติบุคคลอื่นเป็นลูกหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการและกำหนดหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้ พ.ศ. 2557   
             อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
บทนิยามคำว่า “ลูกหนี้” ในมาตรา 90/1 และมาตรา 90/4 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
           ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
           ข้อ 2 ให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นนิติบุคคลอื่นตามบทนิยามคำว่า “ลูกหนี้” ในมาตรา 9
           ข้อ 3 ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนตามมาตรา 90/4 วรรคหนึ่ง (6)
           แต่สหกรณ์ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ถ้ามีปัญหาสภาพคล่อง เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่ง ซึ่งปัจจุบันอาการร่อแร่  มีหนี้สินล้นพ้นตัว ถูกสถาบันการเงินฟ้องอยู่ขณะนี้ ไม่สามารถร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ ในส่วนตัวผมเห็นว่า การออกกฎกระทรวงเพื่อประโยชน์ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด เป็นการไม่เป็นธรรมกับสหกรณ์ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากกฎกระทรวงดังกล่าวแต่อย่างใด ปัจจุบันสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ทำให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ได้รับความคุ้มครองอยู่ภายใต้มาตรการพักการบังคับชำระหนี้ เจ้าหนี้ที่จะยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องแพ่งไว้ก่อน ต้องงดการพิจารณาไว้ แม้กระทั่งจะอ่านคำพิพากษาก็ไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันศาลก็ได้งดการพิจารณาและจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ไปหลายรายแล้ว ส่วนจำเลยคนอื่นๆ ที่ถูกฟ้องร่วมกับลูกหนี้อยู่ในศาล ในกรณีต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกัน ศาลก็ยังสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปได้ ซึ่งศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐานไว้แล้ว ตามคำพิพากษาศาลฎีกาด้านล่างนี้
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545
            โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเช่าให้โจทก์ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้เดียวเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4)เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไปได้ แม้ศาลแพ่งจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการจำเลยที่ 1 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม
          จำเลยที่ 4 กล่าวมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดี ย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลและโจทก์ไม่เสียหายใด ๆ จากสัญญาเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดว่าสัญญาฉบับไหนไม่ถูกต้องเป็นโมฆะเพราะเหตุใด ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลอย่างไรและเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากสัญญา เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสุดท้าย
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2548
          คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเป็นการเฉพาะตัวแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 หาได้มีผลต่อบุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ที่มีการขอให้ฟื้นฟูกิจการด้วยไม่ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวที่ให้ศาลต้องงดการบังคับคดีนั้นไว้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ก็ตาม ก็มีผลแต่เฉพาะให้งดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่มีการขอให้ฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ไม่มีผลถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจยกเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวขึ้นมาอ้างให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้เพื่อรอฟังผลในคดีฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 ได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก