การนำภาพจากอินเตอร์เน็ตมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์|การนำภาพจากอินเตอร์เน็ตมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

การนำภาพจากอินเตอร์เน็ตมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การนำภาพจากอินเตอร์เน็ตมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีข่าวว่าพิธีกรรายการชื่อดัง นำภาพจากอินเตอร์เน็ตไปใช้

บทความวันที่ 28 ส.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1409 ครั้ง


การนำภาพจากอินเตอร์เน็ตมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

              เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีข่าวว่าพิธีกรรายการชื่อดัง นำภาพจากอินเตอร์เน็ตไปใช้ในการจัดงานอีเว้นท์ โดยไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2557 เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ยื่นฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
             มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับการนำภาพจากเว็บไซต์ต่างๆ มาหาประโยชน์ทางการค้า หรือประกอบในเว็บไซต์ของตนเองทำได้หรือไม่ ทนายคลายทุกข์ขอเรียนให้ทราบว่าการกระทำดังกล่าวไม่สามารถทำได้ และขอนำเสนอกฎหมายลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มานำเสนอเฉพาะที่สำคัญ ดังนี้
1.ความหมายของผู้สร้างสรรค์ ต้องเป็นงานที่เกิดจากการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์
มาตรา 4  ในพระราชบัญญัตินี้
“ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
“ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
“ศิลปกรรม” หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
 (5) งานภาพถ่าย ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดยให้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น
“เผยแพร่ต่อสาธารณชน” หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น
2. การคุ้มครองลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ บุคคลอื่นจะไปทำซ้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้
มาตรา 15
  ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง เป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์
มาตรา 27 
การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
4. การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม เป็นการกระทำแก่งานที่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น รู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ยังนำมาขายหรือจำหน่าย เป็นต้น
มาตรา 31 
ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
(4) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
คำเตือน เจ้าของบริษัท ห้างร้าน หรือเจ้าของรายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ หากจะนำภาพข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ใดไปใช้ประโยชน์ต้องขออนุญาตเขาก่อน หากนำไปใช้โดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีทั้งโทษทางแพ่งและทางอาญา ทางอาญา ถ้าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรงและเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษสูงสุด จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี ปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                ถ้าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อม เป็นการกระทำเพื่อการค้า จำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   ทางแพ่ง ต้องชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่ง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก