คอนโดฯถล่มใครต้องร่วมรับผิด|คอนโดฯถล่มใครต้องร่วมรับผิด

คอนโดฯถล่มใครต้องร่วมรับผิด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คอนโดฯถล่มใครต้องร่วมรับผิด

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลาประมาณ 16.00 น. เศษ

บทความวันที่ 15 ส.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1960 ครั้ง


คอนโดฯถล่มใครต้องร่วมรับผิด

            เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลาประมาณ 16.00 น. เศษ ได้เกิดอุบัติเหตุ อาคารชุด 6 ชั้นบริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี ในหมู่ธัญกรหมู่  2 ต.คลอง 6 อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ถล่มขณะคนงานกำลังเทปูนในชั้นที่  6 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหลายราย หลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้ว มีท่านผู้อ่านหลายท่านสอบถามมาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้เกี่ยวข้องและการเรียกค่าเสียหาย จะเรียกร้องจากใครได้บ้าง สถานใด เพียงใด ทนายคลายทุกข์จึงขอนำเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำละเมิดเพื่อให้ความรู้กับญาติของผู้เสียหายเพื่อไปเรียกร้องความเป็นธรรมต่อไปโดยขออธิบายเป็นรายประเด็นดังนี้
1.ความหมายของการกระทำละเมิด
           ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่ออย่างบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
           จงใจหมายถึงกระทำไปโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง อ้างอิงคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1104/2509 ส่วนการกระทำหมายรวมถึงการละเว้นหน้าที่ที่จะต้องกระทำ เช่น มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยเป็นต้น อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2543 ประมาทเลินเล่อเทียบเคียงกับการกระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่  769/2510, 399/2546, 1506/2516
2.บุคคลที่ต้องรับผิดจากการกระทำละเมิด
            ผู้กระทำละเมิดโดยตรง หมายถึง ผู้ที่ทำให้เกิดตึกถล่มต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
            นายจ้างที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำการก่อสร้างในโครงการดังกล่าวและลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำขึ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 และมาตรา 426
           ตัวการตัวแทน ตัวการที่มอบหมายให้ตัวแทนไปทำการก่อสร้างโครงการดังกล่าวตัวการต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทนที่กระทำไปภายในขอบอำนาจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427  เช่น ผู้ว่าจ้างก่อสร้างอาคาร, วิศวกรผู้ควบคุมดูแล, ผู้ควบคุมงาน ต้องร่วมกันรับผิด อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1942/2543, 963/2535, 3382/2554, 984/2531, 2077/2542, 390/2550, 2835/5252, 2134/2532
            นิติบุคคลต้องรับผิดในการกระทำของผู้แทนหรือตัวแทนของนิติบุคคลที่มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างโครงการดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
           หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารดังกล่าวซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลให้การก่อสร้างเป็นไปตามกฎหมายและเป็นไปด้วยความปลอดภัย หากปล่อยปละละเลยให้มีการก่อสร้างโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5
3.การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเรียกได้มากน้อยเพียงใด
            การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ถึงมาตรา  448  โดยขออธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับค่าเสียหายดังนี้
กรณีแรก เสียหายแก่ร่างกายอนามัยแต่ไม่ถึงแก่ความตาย เรียกได้ 4 อย่างดังนี้
           1.ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป มาตรา 444 วรรคแรก
           2.เสียความสามารถประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต มาตรา  444 วรรคแรก
           3.ค่าขาดการงาน มาตรา  445
           4.ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน มาตรา 446
กรณีที่สอง ทำให้ตาย
          1.ค่าปลงศพ มาตรา 443 วรรคแรก
          2.ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่าอื่น มาตรา 443 วรรคแรก
          3.ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย มาตรา 443  วรรคสอง
          4.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย มาตรา 443 วรรคสอง
          5.ค่าขาดไร้อุปการะ มาตรา 443 วรรคสาม
          6.ค่าขาดแรงงาน มาตรา 445
            สิ่งที่ผู้ได้รับความเสียหายควรทำอย่างเร่งด่วนคือ รวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำละเมิดให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิดอีกส่วนหนึ่ง เพื่อใช้หลักฐานดังกล่าวเพื่อดำเนินคดีทางแพ่งต่อไป
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก