ขู่ลูกหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย|ขู่ลูกหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

ขู่ลูกหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ขู่ลูกหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับการขู่ลูกหนี้ว่าทำอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

บทความวันที่ 14 ก.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1515 ครั้ง


ขู่ลูกหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

           มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับการขู่ลูกหนี้ว่าทำอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย ทนายคลายทุกข์ไปรวบรวมจากเว็บไซต์ศาลฎีกามานำเสนอเป็นตัวอย่าง ดังนี้

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2523
            ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะเกรงว่าจะถูกฟ้องเสียชื่อเสียงขาดความไว้วางใจ เป็นการเนื่องมาจากการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมตามปกติ ไม่เป็นโมฆียะ

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2519
            โจทก์ขู่จำเลยว่าจะให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีกับจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยจึงยอมสั่งจ่ายเช็คใหม่จำนวนเงินเกินกว่าหนี้เดิมให้โจทก์ ดังนี้ หาใช่เป็นการข่มขู่อันเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะไม่ เพราะเป็นการขู่จะใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ การที่จำเลยยอมสั่งจ่ายเช็คจำนวนเงินเกินกว่าหนี้เดิมเพื่อแลกเช็คฉบับที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินคืนจากโจทก์ และเพื่อระงับเรื่องโจทก์จะดำเนินคดีกับจำเลย จึงเป็นการยอมความกันในคดีอาญาเรื่องเช็คนั้นใช้บังคับกันได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คที่สั่งจ่ายใหม่เต็มจำนวน

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2532
            จำเลยทำสัญญาประนอมหนี้กับโจทก์ที่สถานีตำรวจโดยโจทก์พูดว่า "ให้เอาเงินมาใช้เสีย ถ้าไม่ใช้จะฟ้องและติดตะราง" พวกของโจทก์พูดว่า "ใช้เสียน้องเอ๋ย ถึงคราวจำเป็นแล้ว ถ้าไม่ใช้จะถูกฟ้องให้ติดตะราง" และพนักงานสอบสวนพูดว่า "ผู้ใหญ่ใช้เสียเรา มีวินัยอยู่มิฉะนั้นจะเป็นโทษอาญานะ" เป็นเรื่องที่โจทก์กับพวกขู่ว่าถ้าจำเลยไม่ใช้เงินโจทก์จะฟ้องเอาผิดกับจำเลยทางอาญา อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 สัญญาประนอมหนี้จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้.


4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545

            การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่จำเลย หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ เป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆียะไม่

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6281/2550
            ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1164 กรรมการจะมอบอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดของตนให้แก่ผู้จัดการ หรือให้แก่อนุกรรมการซึ่งตั้งขึ้นจากผู้ที่เป็นกรรมการด้วยกันก็ได้ โดยผู้รับมอบอำนาจต้องทำตามคำสั่งหรือข้อบังคับซึ่งกรรมการทั้งหลายได้กำหนดให้เป็นการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่อยู่ในอำนาจของกรรมการให้แก่ผู้จัดการหรืออนุกรรมการไปจัดการแทนในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นการภายในอย่างหนึ่งเท่านั้น ส่วนการที่นิติบุคคลจะฟ้องคดีย่อมเป็นอำนาจของนิติบุคคลนั้นเองที่จะกระทำโดยกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคล หากไม่ทำการฟ้องคดีเอง ก็ย่อมมีอำนาจตั้งตัวแทนให้จัดการฟ้องคดีแทนนิติบุคคลได้ ในกรณีเช่นนี้ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคล กรรมการและผู้ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ว่าด้วยลักษณะตัวแทน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จะต้องแต่งตั้งตัวแทนจากบุคคลที่เป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการของบริษัทเท่านั้น ตัวการจึงมีอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลใดก็ได้ให้เป็นตัวแทนดำเนินการฟ้องคดีแทนตน
            จำเลยทำสัญญากู้และสัญญาจำนำกับธนาคารโจทก์เนื่องมาจากจำเลยบริหารงานในบริษัท ส. ผิดพลาดและขาดทุนจนต้องขอร้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวเข้ามาดำเนินการแก้ไข โดยมีข้อตกลงให้จำเลยนำเงินส่วนตัวมาชำระหนี้ให้แก่บริษัทที่จำเลยบริหารงานผิดพลาด ดังนี้ แม้จะมีการบีบบังคับหรือข่มขู่จากโจทก์ว่าจะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยหรือจะปิดบริษัท หากจำเลยไม่ยอมทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินและสัญญาจำนำระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ
             การที่จำเลยยินยอมให้ธนาคารโจทก์นำเงินที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์ไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท ส. เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง ซึ่งจำเลยก็ยอมรับโดยได้ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์หลังจากทำสัญญากู้เงินจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมจากโจทก์ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีกเพราะจำเลยให้การรับแล้วว่าโจทก์นำเงินกู้ดังกล่าวไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท ส. จำเลยไม่อาจกล่าวอ้างหรือนำสืบหรือฎีกาได้อีกว่า โจทก์ไม่ได้นำเงินที่จำเลยกู้ยืมไปชำระให้แก่บริษัทดังกล่าว เพราะเป็นการแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ข้อกล่าวอ้างและฎีกาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
           การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีโดยถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมไปจากโจทก์ตามที่จำเลยยอมรับ โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีก เป็นการวินิจฉัยคดีโดยมิได้นำเอกสารที่โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมมารับฟังด้วย แม้การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์จะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 87 และ 88 หรือไม่ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้นเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายในเรื่องนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลฎีกา)
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก