กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ|กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ

กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ

การซื้อที่ดินบางครั้งถูกหลอกว่าติดแม่น้ำ

บทความวันที่ 14 ก.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3806 ครั้ง


กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ

          การซื้อที่ดินบางครั้งถูกหลอกว่าติดแม่น้ำ หรือหลงเชื่อคำโฆษณาโอ้อวดของสินค้า กรณีดังกล่าว เรียกว่า กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากผู้ขายได้ แต่จะบอกเลิกสัญญาไม่ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2531
            หลงเชื่อว่าที่ดินที่จะซื้อขายติดแม่น้ำ จึงยอมซื้อขายในราคาที่แพงกว่าปกติ ถือว่าเป็นการฉ้อฉลเพื่อเหตุฟ้องเรียกราคาที่จ่ายไปเกินกว่าราคาที่แท้จริงได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2534
            จำเลยโฆษณาโอ้อวดคุณสมบัติของรถยนต์ที่ขายให้โจทก์ ว่าเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ เพิ่งพ่นสีใหม่เป็นสีเดิม ความจริงเป็น รถยนต์รุ่นเก่า และเคยเปลี่ยนสีมาหลายครั้งกับกล่าวอ้างคุณสมบัติ ของรถยนต์ซึ่งไม่เป็นความจริงอีกหลายประการ โจทก์ตกลงซื้อรถยนต์โดยเชื่อคำโฆษณาโอ้อวดของจำเลย การซื้อขายรถยนต์จึงเกิดจากกลฉ้อฉลให้สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อขายกัน แต่รถยนต์ ยัง คงเป็นยี่ห้อเดียวกับที่โจทก์ต้องการซื้อ กลฉ้อฉลของจำเลยจึง มิได้ ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้นโจทก์จะไม่ซื้อรถยนต์ จาก จำเลยโจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักขึ้นเท่านั้น โจทก์ย่อมมี สิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ แม้กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 จะเป็นบิดาจำเลยที่ 2และการซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะทำกันที่บริษัทจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ประกอบกิจการ บริษัทที่จำเลย ที่ 2ทำงานอยู่ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในใบสั่งซื้อ รถยนต์ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำขึ้น คงมีแต่ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 2ลงชื่อในฐานะผู้จัดการหรือผู้ขายเท่านั้น พฤติการณ์ ดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายรถยนต์กับโจทก์ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 123 ไว้ จึงต้องถือหลัก ทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี.

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 164
  การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
            การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น

มาตรา 979 อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น
            อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้

(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลฎีกา)

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การเรียกค่าสินไหมทดแทน ของกลฉ้อฉลเพื่อเหตุนี่มีกระบวนการอย่างไรบ้างครับ ขอบคุณครับ
โดยคุณ แสงเดช สุขพรรณ์ 11 ธ.ค. 2562, 23:15

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก