การเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ|การเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ

การเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ

ผมได้ติดตามข่าวพบเห็นอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นมากมายหลายคดี

บทความวันที่ 17 เม.ย. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 57399 ครั้ง


การเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ

          ผมได้ติดตามข่าวพบเห็นอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นมากมายหลายคดี รวมทั้งคดีที่เกิดขึ้นจากการกระทำโดยเจตนาของผู้กระทำความผิด เช่น การสมัครใจวิวาท ทะเลาะกัน ฆ่ากันหลายคดี มีท่านผู้อ่านหลายท่านสอบถามมา มีทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องหา รวมทั้งพยาน ถามว่าคดีต่างๆ เหล่านี้จะจัดการกันอย่างไรต่อไป ในการเรียกร้องความเป็นธรรมจากคู่กรณี ทนายคลายทุกข์ขอให้คำแนะนำทางกฎหมายเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ดังนี้
           1.ฝ่ายผู้เสียหาย เช่น ผู้ที่ถูกรถชน หรือได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ สิ่งที่ควรทำคือร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนท้องที่ที่ความผิดเกิด ถ่ายภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวของความเสียหายโดยละเอียด หาพยานบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ ขอทราบชื่อที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อของพยานที่อยู่ในที่เกิดเหตุ รวบรวมไว้เพื่อขอความช่วยเหลือให้เป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวนหรือชั้นศาลต่อไป ท่านใดมีประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย(ประกันภัยค้ำจุน) ก็ควรจะแจ้งประกันภัยทันที เพราะถ้าแจ้งช้าประกันจะไม่รับผิดชอบเพราะผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวางบรรทัดฐานไว้แล้ว
           2.ฝ่ายผู้กระทำความผิด เช่น ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับบาดเจ็บหรือทำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย ควรจะมอบตัวยอมรับความผิดลุแก่โทษ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหาย เช่น ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำขวัญ เป็นต้น เพราะจะทำให้ศาลเห็นใจ ลดโทษให้ตาม ป.อ.มาตรา 78 ไม่ถึงขั้นติดคุกติดตาราง ส่วนใครที่หลบหนีไปหลังกระทำความผิด เช่น ขับรถยนต์ชนคนแล้วไม่ช่วยเหลือ ควรเปลี่ยนใจหันกลับมามอบตัวและยอมรับความจริง เยียวยาผู้เสียหาย ไม่ถึงขั้นติดคุกติดตารางหรอกครับ
           3.กรณีเกิดเหตุละเมิด คดีเจ้าของรถไม่ได้ไปกับรถที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น บุคคลอื่นยืมรถไป  เพื่อนหรือลูกหลานยืมไปและเกิดอุบัติเหตุไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่น เจ้าของรถไม่ใช่ผู้ครอบครองหรือผู้ควบคุมยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกลในขณะเกิดเหตุ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 437 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับคนขับรถ (อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกา 2659/2524, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5679/2545, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2552, คำพิพากษาศาลฎีกา 6243/2541) ยกเว้นผู้ที่ขับรถเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนที่เจ้าของใช้ไปในทางการที่จ้างหรือในขอบอำนาจของตัวแทน เจ้าของรถจึงต้องร่วมรับผิดกับคนขับ (อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2533) แต่ถ้าเจ้าของรถโดยสารหรือนั่งไปด้วย ถ้าไม่ได้หลับหรือเมาจนไม่รู้เรื่องในรถ เจ้าของรถถึงแม้ไม่ได้ขับรถ มีคนอื่นขับรถ ถือว่าเป็นผู้ครอบครองรถยนต์  หรือเจ้าของรถขับรถเองต้องรับผิดฐานละเมิด (อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2378-2380/2532)  แต่ถ้าเจ้าของรถเมาหนักจนหลับอยู่ในรถและคนขับรถขับรถไปชนบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย เจ้าของรถไม่ต้องรับผิด ถือว่าไม่ได้เป็นผู้ครอบครองรถขณะเกิดเหตุละเมิด(อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2522)
          4.ลูกจ้างขโมยกุญแจรถแล้วไปกระทำละเมิดกับบุคคลอื่น เช่น ไปชนคนตายหรือทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย เจ้าของรถไม่ต้องร่วมรับผิด เพราะถือว่ามิได้ครอบครองรถในขณะเกิดเหตุและเป็นการกระทำนอกหน้าที่ (อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2497(ประชุมใหญ่))
          5.คนขับรถบรรทุกหรือรถโดยสารหรือรถยนต์จะอ้างว่าเบรกแตก โดยอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ เพราะคนขับมีหน้าที่ต้องตรวจสอบหรือรักษา เปลี่ยนอุปกรณ์ แก้ไขเครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน มั่นคง แข็งแรงและปลอดภัย จึงถือว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดหากไปก่อความเสียหายให้กับบุคคลอื่น (อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2533)
          6. การฟ้องร้องบริษัทประกันภัยซึ่งรับประกันวินาศภัย(ประกันภัยค้ำจุน)ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 แต่ต้องแจ้งผู้รับประกันโดยไม่ชักช้า ถ้าแจ้งช้าผู้รับประกันไม่ต้องรับผิด (อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2542, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545)
          7.หลักเกณฑ์การเรียกค่าเสียหายในกรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แยกออกเป็น 2 กรณี
กรณีแรก ทำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ดังนี้
           1.ค่าปลงศพ (ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคแรก)
           2.ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น (ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคแรก)
           3.ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย (ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสอง)
           4.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย ( ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสอง)
           5.ค่าขาดไร้อุปการะ (ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม)
           6.ค่าขาดการงานที่ต้องทำให้กับครัวเรือนหรืออุตสาหกรรม (ป.พ.พ.มาตรา 445)
กรณีที่สอง  กรณีผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย แต่เสียหายเกี่ยวกับร่างกาย อนามัย เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ดังนี้
           1.ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป (ป.พ.พ.มาตรา 444 วรรคแรก)
           2.ค่าเสียความสามารถประกอบการงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต (ป.พ.พ.มาตรา 444 วรรคแรก)
           3.ค่าขาดการงานที่ต้องทำให้กับครัวเรือนหรืออุตสาหกรรม (ป.พ.พ.มาตรา 445)
           4.ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน (ป.พ.พ.มาตรา 446)
           8.การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง กรณีละเมิด ต้องฟ้องร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดทางอาญา เช่น ฟ้องคนขับให้ใช้อายุความทางอาญาที่ยาวกว่า ส่วนฟ้องนายจ้างหรือบุคคลอื่นที่ต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดให้ใช้อายุความทางแพ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448
             สุดท้ายนี้หวังว่า ท่านจะได้ประโยชน์จากบทความข้างต้นนี้ ในการนำไปเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตัวเองนะครับ

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 39

เพื่อนของลูกสาวยืมรถจักรยานยนต์ไปหาเพื่อน ลูกสาวไม่ได้ไปด้วย เวลา ตี 1-3 เพื่อนได้โทรมาบอกว่า รถเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเพื่อนได้ให้บุคคลที่ 3 ยืมต่อบุคคลที่3 ซ้อนท้าย บุคคลที่ 4 ไป แต่เพื่อนของลูกสาวไม่ได้ไปด้้วย จนทำให้เกิดอุบัติเหตุในขณะมึนเมา เวลาต่อมาบุคคลที่ 4 เสียชีวิต รถจักรยานยนต์ยังไม่ได้ไปต่อ พรบ.เนื่องจากลูกสาวเอาไปเรียนหนังสือ แต่เกิดเรื่องก่อน ทางผู้ประสบภัยต้องการให้ทางเจ้าของรถรับผิดชอบ แบบนี้เราต้องทำยังไงคะ รถเสียหายหนักซ่อมไม่ได้เลย รถยังส่งงวดอยู่ จนต้องปล่อยให้บริษัทยึดคืน ค่าเสียหายอื่นๆทางเจ้าของรถจ่ายเอง จนกระทั่งมีหนังสือจาก คปภ.มาให้ชำระค่าประกันภัยทดแทน 48,000 บาท ซึ่งคาดว่า ทางผู้เสียชีวิตนำไปยื่น ดิฉันต้องดำเนินการอย่างไร ในเมื่อลูกสาวดิฉันไม่ได้ไปด้วยและไม่รู้จักกับบุคคลที่ 3,4 เว้นแต่เพื่อนของลูกสาวนั้นรู้จักกับบุคคลที่3,4 
โดยคุณ kanokkhwan 11 ต.ค. 2565, 11:15

ความคิดเห็นที่ 38

อยากสอบถามการส่งเอกสารไปพรบ.กลางทางหลวงดำเนินการอย่างไรคะ

พอดีหลานประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซรเฉี่ยวชนกับบิคอัพทำให้ลูกของหลานเสียชีวิต

อยากจะยื่นแบบไหนคะที่ให้พรบ.กลางทางหลวงช่วยค่าทำศพในกรณีเสียชีวิต

มีเพื่อนแนะนำมาให้ถามช่วยตอบหน่อยนะคะ



ขอบคุณมากค่ะ




โดยคุณ ภาวินี พรมคำ 25 ส.ค. 2565, 11:49

ความคิดเห็นที่ 37

รบกวนสอบถามค่ะ
ผู้เช่า เช่ารถไปขับเกิดอุบัติเหตุชนกับรถสิบล้อ ซึ่งจอดอยุ่ข้างทาง ทั้งสองฝ่ายยอมรับฐานประมาทร่วม 
รถของเราที่ถูกเช่าไป เสียหายเยอะมาก ทุนประกัน หนึ่งแสนบาท (ไม่เพียงพอต่อการซ่อมแซม)
อยากทราบว่า
1. ส่วนต่างจากประกันจ่าย
เราสามารถเรียกร้องจากผู้เช่าได้ไหมค่ะ
2. ถ้าได้ เราให้ผู้เช่าจ่ายเป็นก้อนได้ไหม
ขอบพระคุณค่ะ
โดยคุณ นายสมคิด ซาจันดี 22 ส.ค. 2562, 20:59

ความคิดเห็นที่ 36

ลูกสาวเอารถไปให้เพื่อนผู้ชายยืมแล้วเพื่อนผู้ชายนำรถจักรยานยนต์ที่ยืม ไปชนจนเสียชีวิต แต่รถเป็นชื่อของพ่อ เวลาผ่านไป10ปีมีหมายศาลให้ชดใช้เงินแก่ผู้ตายที่ยืมไป แต่พ่อได้เสียชีวิตให้เวลาต่อมา แบบนี้หนี้จะยังคงอยู่ไหม   รถไม่ได้เห็นซากเลย

โดยคุณ จิรัชยา 29 ก.ค. 2562, 14:19

ความคิดเห็นที่ 35

พี่ชายหนูวิ่งมาทางตรงเเล้วทีนี้เห็นรถกำลังจะเลี้ยวเข้าพอดีเเต่เบรคไม่ทัน แล้วคู่กรณีจอดรถดูแต่ไม่ลงไม่ช่วยเพราะเห็นพี่ชายหนูเจ็บนิดเดียวเเต่รถเสียหายหนักเเฮนหัก ถังนำ้มันบุบ คอล็อก ท่อเป็นลอยขูดยาวมาก เเต่ตรงนั้นมีกล้องวงจรปิดสี่ทิศทาง พี่ชายหนูพอจะเรียกค่าเสียหายอะไรได้มั้ยค่าอย่างค่าซ่อมรถ หรือควรทำยังงัยดีคะ

โดยคุณ เอิร์น 23 มิ.ย. 2562, 20:43

ความคิดเห็นที่ 34

อยากเรียนถามผู้รู้ ตอนนี้พี่ชายประสบอุบัติเหตุรถเสียหลักพุ่งชนรถพี่ชายและรถอีกหลายคัน พี่ชายกระดูกหักต้องผ่าตัดเสริมเหล็ก คู่กรณีก็รับผิดชอบเพราะทำประกันชั้น1ไว้ อีกวันสองวันก็อาจกลับมาให้พักฟื้นที่บ้านได้ แต่ก็ยังไม่หาย ต้องมาหาหมอ มาทำกายภาพ ซึ่งทางประกันก็แจ้งว่าจะรับผิดชอบ แต่ประเด็นคือ เราจะเรียกร้องค่าสินไหมสักเท่าไหร่คะ เพราะพี่ชายก็ต้องทำงาน ส่วนพี่สะใภ้ก็ต้องหยุดงานทาดูแลพี่ชาย ประกันจะดูแลจนรักษาเราหายเลยหรือเปล่า รถประกันเอาไปมอไซค์ที่เขามาชน ประกันบอกพังจนซ่อมไม่ได้ พี่ชาย ทำงานรวมแล้ว เดือนสองหมื่นต่อเดือน พี่สะใภ้หมื่นห้าต่อเดือน หมอบอกประมาณ สองเดือน อาจจะหายพอเดินได้ทำงานได้ค่ะ 

โดยคุณ สกาวรัตน์ 7 มิ.ย. 2562, 23:50

ความคิดเห็นที่ 33

ยืนอยู่แล้วรถเข้ามาพุ่งชนเจ้าของรถยอมรับความผิดแล้วได้ตกลงค่าสินไหมโดยจจ่ายเปนงวดแต่จ่ายไม่ครบบอกให้ฟ้องศาลเอาตำรวจบอกให้รอจนคดีหมดอายุความต้องทำงัยดีคะ

โดยคุณ วรฐานัส พรหมมอรัตน์ 7 เม.ย. 2562, 14:50

ตอบความคิดเห็นที่ 33

แนะนำให้ฟ้องเรียกค่าเสียหาย ถ้ามีการแจ้งความร้องทุกข์แล้ว ถ้าคดีหมดอายุความก็ไม่สามรถฟ้องร้องกันได้อีก

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 10 พ.ค. 2562, 11:26

ความคิดเห็นที่ 32

กรณีลูกชายโดนรถบรรทุกพวงเชี่ยวชนเสียชีวิตคาที่แต่เจ้าของรถกับคนขับรถพวงไม่ได้มาให้ความช่วยเหลืออะไรเลยตั้งแต่วันแรกที่จัดงานศพจนเสร็จงานแต่ พ ร บ ตกลงจ่าย 6แสน ส่วนประกันภาคสมัครใจยังตกลงกันไม่ได้แต่กรณีนี้ตัวแทนประกันมายื่นขอเสนอจ่ายของภาคสมัคใจให้ตัวละครึ่งคือแสนห้าเราสามารถเรียกเต็มตัวคือตัวละ3แสนได้ไหมค่ะทางด้านภาคสมัคใจเพราะน้องเป็นเด็กนักเรียน ส่วนคนขับตกลงกันได้แล้วเหลือแต่เจ้าของรถบรรทุกพวงกับประกันภาคสมัคใจค่ะและถ้าเราจะขอเรียกค่าสินไหมกับเจ้าของรถพวงจะเรียกได้เท่าไรค่ะเพราะรุ้สึกว่ามันยังไม่ได้รับความเป็นทำเท่าไร้สึกว่ามันยังไม่ได้รับความเป็นทำเท่าไรเพรสึกว่ามันยังไม่ได้รับความเป็นทำเท่าไรเพราะตั้งแต่เกิดเหตุทางคนขับกับเจ้าของรถไม่มาช่วยเหลืออะไรเลย ขอคำตอบหน่อยนะค่ะเพราะเรื่องเกิดตั้งแต่2 ก พ จนตอนนี้ย้งตกลงกันไม่ได้เลยกับเจ้าของรถค่ะ  ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ เบญจวรรณ ตาลจินดา 25 มี.ค. 2562, 00:55

ความคิดเห็นที่ 31

สอบถามกรณี คนเมาขับรถพุ่งชนเข้ามาในบ้านทำให้หลานผมเสียชีวิตคาที่ แต่รถคู่กรณีไม่มีประกันภัยมีแต่ พรบ สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอะไรได้บ้างครับ

โดยคุณ สมภพ 3 มี.ค. 2562, 16:29

ความคิดเห็นที่ 30

ผมขับรถมาทางโค้งแล้วพบน้ำขยะผมจึงแตะเบรคก่อนถึงและชะลอรถและผมก็ขับรถผ่านน้ำขยะเพราะหักหลบไม่ได้แล้วแล้วก็ล้ม ขาหัก คางแตก13เข็มต้องทำไงครับ ใบขับขี่โดนจับยุสนไม่ได้ไปเอานานแล้วทำไงครับผมถ่ายภาพไว้ยุ

โดยคุณ ประวิทย์ 2 มี.ค. 2562, 00:17

ความคิดเห็นที่ 29

สอบถามค่ะ ดิแันมีห้องพักรายวัน มีคนขับรถมาชนป้ายหน้าถนนของเราล้มพังค่ะ ที่พักของดิแันอยุ่่ด้านใน ปกติลุกค้าจะดุป้ายที่ี่พัก ตั้งแต่รถชนป้ายตั้งแต่คืนวันที่ 1/7/62 จนกระทั่งวันนี้ดิแันไม่มีลูกค้าเลยค่ะ ไม่ทราบว่าสามารถเรียกค่าเสียหายได้ไหมคะ วันนี้วันที่ 7/1/62 ไม่มีลูกค้า walk in เลยค่ะ ตอนนี้มัประกันมาดำเนินการแล้ว แต่ป้ายยังไม่เสร็จ ยังไม่ติดตั้งค่ะ

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ติ๊ก 7 ม.ค. 2562, 20:27

ตอบความคิดเห็นที่ 29

การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเพราะทำให้ทรัพย์บุบสลาย เนื่องจากการทำละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 441

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ม.ค. 2562, 09:41

ความคิดเห็นที่ 28

สวัสดีคะหนูประสบอุบัติเหต์โดนรถชนเอ็นขาซ้ายฉีกคู่กรณีรับผิดชอบทุกอย่างแต่หนูคิดว่าถ้าหายแล้วหนูคงเดินได้ไม่ปกติหมอให้หนูหยุดงานหนึ่งเดือน เงินเดือนหนูได้12000ถ้ารวมค่าทิปกับค่าคอมหนูจะได้รายได้เดือนประมาณ15000บาทหนูจะเรียกค่าสินไหมได้ประมาณเท่าไหร่คะ หนูสมควรจะเรียกได้ประมานเท่าไหร่เพราะที่หยุดงานหนูก็ขาดรายได้คะ ชว่ยให้คำปรึกษาหน่อยคะ

โดยคุณ ชุติมันต์ มะแย้ม 9 พ.ย. 2561, 21:02

ความคิดเห็นที่ 27

เหตุเกิด เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 จ.อุบล

ที่ลานจอดรถ มีรถถอยมาขน มีประกัน ให้ใบเคลมมาเข้าอู่ อู่แจ้งว่ารออะไหล่เป็นเดือนและทางประกันไม่มีรถให้ใช้ระหว่างรอซ่อม แต่เราต้องใช้รถทุกวัน ซึ่งประตูมันบุบและเบี้ยว ยังพอขับได้เลย ใช้รถไปก่อน ซึ่งหลังจากนั้นสองวันฝนตก นำเข้ารถเกิดความเสียหายในรถมากและลำบากกับเราทุกตั้งที่ต้องอ้อมมาเปิดประตูฝั่งคนนั่งเพื่อปลดล็อค เพราะมือล็อคฝั่งคนขับเสียด้วย แบบนีเราสามารถเรียกร้องค่าความเสียหายนี้ได้ไหมค่ะ และกระทบกับชีวิตประจำวันไหมค่ะและเรียกร้องกับประกันคู่กรณีหรือคู่กรณีค่ะ อีกอย่างตอนนี้มาเรียน ซึ่งอีกหนึ่งอาทิตยืต้องกลับไปทำงานที่ชัยภูมิแล้ว จึงจะเอาไปซ่อมที่ชัยภูมิเลยค่ะ

โดยคุณ ครูรุจิรา 30 เม.ย. 2561, 21:53

ความคิดเห็นที่ 26

อยากสอบถามค่ะ เมื่อวันที่28/3/61 ถูกรถคู่กรณีขับปาดหน้าทำให้รถล้มเฉี่ยวชนกันทำให้เราได้รับบาดเจ็บ ทางคู่กรณียอมรับผิด แต่คู่กรณีไม่มีประกันภัยรถยนต์มีเพียงพรบ.  คนขับรถคู่กรณีปฏิเสธที่จะจ่ายค่าเสียหายของรถเรา บอกแต่เพียงว่ารถไม่ใช่ของเค้าเป็นรถเช่า(รถสองแถว)อย่างนี้เราเรียกร้องค่าเสียหายกับทางเจ้าของรถได้ไหมค่ะ และจะต้องทำยังไง

โดยคุณ วาธุกานต์ 31 มี.ค. 2561, 16:41

ความคิดเห็นที่ 25

สวัสดีค่ะ


   รบกวนสอบถามคะ พี่ชายได้ขับรถยนต์ไปชนกับต้นไม้เสียชีวิต แต่ผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่าได้มีรถยนต์อีก1คัน(คู่กรณี) ขับแข่งกันมา และได้เกี่ยวรถพี่ชายของหนูทำให้เสียหลักชนต้นไม้และผลัดตกคลองเสียชีวิต ประเด็นคือ คู่กรณีบอกว่าเค้าไม่ผิด พี่ชายขับรถมาเร็วและเสียหลักไปเอง รถคู่กรณีมีประกันชั้น 2 เค้าบอกประกันว่าเค้าไม่ผิด

แบบนี้หนูต้องทำยังไงบ้างคะ เพราะรถที่พี่ชายเอาไปขับเป็นรถน้องอีกคนซึ่งไม่มีประกัน พรบ.ขาดมา3 วัน ยังไม่ได้ต่อ

รถก็ยังผ่อนไม่หมด รบกวนขอคำแนะนำหน่อยนะคะ

โดยคุณ ชลิตา แป้นภู 26 มี.ค. 2561, 15:46

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก