ลูกฆ่าพ่อแม่|ลูกฆ่าพ่อแม่

ลูกฆ่าพ่อแม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกฆ่าพ่อแม่

ช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับลูกฆ่าพ่อ แม่ ญาติ พี่ น้อง อยู่บ่อยครั้งหลายคดี

บทความวันที่ 10 เม.ย. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 6874 ครั้ง


ลูกฆ่าพ่อแม่

            ช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับลูกฆ่าพ่อ แม่ ญาติ พี่ น้อง อยู่บ่อยครั้งหลายคดี ท่านผู้อ่านอยากให้ทนายคลายทุกข์ช่วยเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องคดีความที่เกี่ยวกับการฆ่าบุพการีหรือการฟ้องบุพการี รวมถึงสิทธิในการรับมรดกและบทลงโทษลูกที่ฆ่าบุพการีว่ามีอย่างไรบ้าง ทนายคลายทุกข์จึงขอนำเสนอเป็นรายประเด็นดังนี้
           1.สาเหตุของการฆ่าบุพการี เท่าที่มีคดีขึ้นสู่ศาล ส่วนใหญ่เกิดจากบุตรติดยาเสพติด จนคลุ้มคลั่งไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เด็กติดเกมและถูกห้ามไม่ให้ไปเล่นเกมจึงฆ่าบุพการี เด็กไม่เรียนหนังสือมีเวลาว่างมาก คบเพื่อนไม่ดี จึงแนะนำให้ฆ่าพ่อ แม่ อีกสาเหตุหนึ่งมาจากตัวพ่อแม่ไม่มีเวลาจะอบรมสั่งสอนบุตร เนื่องจากต้องทำมาหากินตัวเป็นเกลียว ประเด็นนี้น่าเห็นใจ แต่มีอีกพวกหนึ่ง พวกลูกเศรษฐีเลี้ยงลูกด้วยเงิน ตัวเองใช้เวลาเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ เอาหน้าเอาตาในสังคม มีเวลาดูแลลูกคนอื่นแต่ไม่มีเวลาดูแลลูกตนเอง ยังไม่รวมถึงพ่อ แม่ ที่ไปมีเมียน้อย ผัวน้อย สร้างความแตกแยกในครอบครัว ลูกอาจต้องฆ่าพ่อเพราะสงสารแม่ คดีประเภทนี้ก็มีขึ้นสู่ศาลเหมือนกัน
           2.การฆ่าบุพการีถือเป็นเรื่องร้ายแรงทั้งทางกฎหมายและทางศีลธรรม ตามกฎหมาย โดย ป.อ.มาตรา 289 ระวางโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ป.อ.มาตรา 289  ผู้ใด
            (1) ฆ่าบุพการี
            ระวางโทษประหารชีวิต
            ดังนั้น ลูกทรพีที่คิดจะฆ่าพ่อ แม่ ให้พึงสังวรไว้ว่า มีโทษแค่สถานเดียวคือ “ประหารชีวิต”  แต่ในทางปฏิบัติถ้าจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็จะลดโทษให้ ขึ้นอยู่กับว่ารับสารภาพทั้งในชั้นจับกุม  ชั้นสอบสวน และชั้นศาล ศาลจะลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุกตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 52   ในการลดโทษประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ให้ลดดังต่อไปนี้
             (1) ถ้าจะลดหนึ่งในสามให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
            แต่ถ้าเกิดรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐานไม่ได้สำนึกต่อการกระทำความผิดของตนเอง ก็จะไม่ได้รับการลดโทษ ศาลคงประหารชีวิตสถานเดียว แต่ถ้ารับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนแต่ไม่สำนึกแต่งตั้งทนายความต่อสู้คดีในชั้นศาลและแพ้คดี ศาลอาจลดโทษให้ 1 ใน 3 ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต ตาม ป.อ.มาตรา 52(1) หรืออาจจะไม่ลดโทษให้ก็ได้ ถ้าเห็นว่าจำนนต่อหลักฐานหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี
            3.เกณฑ์ในการลดโทษ กรณีจำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาหรือรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนแต่ปฏิเสธในชั้นศาล เป็นไปตาม ป.อ.มาตรา 78  เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษสูงสุดไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
            เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน
              4.ลูกฆ่าพ่อแม่ตาย ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1606 บุคคลดั่งต่อไปนี้
              ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ
           (1) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
           (2) ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า มีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ
           (3) ผู้ที่รู้แล้วว่า เจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง
           (4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก หรือไม่ให้กระทำการดังกล่าวนั้น
           (5) ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด
เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรเสียก็ได้โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
           ดังนั้น ลูกชายคนเล็กที่ฆ่าพ่อ แม่ และพี่ชายตายที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ หากส่งฟ้องศาลเป็นคดีอาญาแล้วต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าฆ่าพ่อแม่ตายโดยเจตนาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จะต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของทั้งพ่อและแม่ มรดกจึงต้องนำไปแบ่งกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 ต่อไป หากไม่มีทายาท ทรัพย์มรดกตกเป็นของแผ่นดิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1753

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก