เหตุผลที่ศาลยกฟ้องคดีอัลรูไวลี่|เหตุผลที่ศาลยกฟ้องคดีอัลรูไวลี่

เหตุผลที่ศาลยกฟ้องคดีอัลรูไวลี่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เหตุผลที่ศาลยกฟ้องคดีอัลรูไวลี่

มีท่านผู้อ่านสอบถามมาที่ทนายคลายทุกข์ว่า ทำไมศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง

บทความวันที่ 3 เม.ย. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1351 ครั้ง


เหตุผลที่ศาลยกฟ้องคดีอัลรูไวลี่

             มีท่านผู้อ่านสอบถามมาที่ทนายคลายทุกข์ว่า ทำไมศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม กับลูกน้องรวม 4 คน ทนายคลายทุกข์จึงขอวิเคราะห์คำพิพากษาเท่าที่มีข้อมูลเป็นรายประเด็นดังนี้
            1.คดีนี้เป็นคดีลักษณะฉกรรจ์ ข้อหาที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าคนในคดีนี้ เป็นข้อหาฉกรรจ์ มีโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต คือข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นข้อหาหลัก ตาม ป.อ.มาตรา 289(4)ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 174 กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนตามข้อกล่าวหา หลังจากนั้นจึงให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อหักล้างพยานโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่นำพยานวัตถุ พยานเอกสาร พยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญเข้าสืบจนเป็นที่พอใจและแน่ใจของศาล หรือที่เรียกว่ารับฟังได้จนปราศจากข้อสงสัยว่ามีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้นจริงและจำเลยทั้งห้า เป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้อง ศาลจึงจะลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
               2. มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา ป.วิ.อ.มาตรา 227 บัญญัติมาตรฐานการพิสูจน์ไว้ค่อนข้างสูง กล่าวคือคดีอาญาโจทก์ต้องนำสืบพยานโจทก์จนปราศจากข้อสงสัย ศาลจึงจะลงโทษจำเลยได้ หากมีข้อสงสัยตามสมควร ศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคสอง คำว่าข้อสงสัยตามสมควร หมายความว่า สงสัยในสาระสำคัญเกี่ยวกับพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์หรือประจักษ์พยานหรือพยานแวดล้อมหรือพยานวัตถุ ซึ่งใช้ในการพิสูจน์ความจริง พิสูจน์ความผิดของจำเลย ถ้าศาลยิ่งมีข้อสงสัยในเรื่องสำคัญหรือพยานหลักฐานมีพิรุธหรือมีข้อตำหนิ ศาลก็จะยกฟ้องเหมือนคดีนี้
               3. พยานหลักฐานมีข้อบกพร่องหรือมีข้อน่าตำหนิ หมายถึง ชุดจับกุมหรือพยานโจทก์ ได้มีการกระทำบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับพยาน ผิดวิสัยตำรวจชุดจับกุมหรือผิดวิสัยตำรวจ เช่นในคดีนี้แหวนทองคำของผู้ตายที่พบอยู่ก้นถังน้ำมัน แทนที่  พ.ต.ท.สุวิชัย แก้วผลึก ซึ่งเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่จะนำส่งให้กับผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงแต่กลับนำไปเสนอต่อบุคคลอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีแต่อย่างใด กล่าวคือ นำไปส่งมอบให้กับ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำกรม จึงมีพิรุธน่าสงสัย พยานวัตถุคือแหวนทองคำที่ได้มาและจะนำไปใช้พิสูจน์ความผิดจำเลยไม่ได้
               4. แหวนทองคำเป็นของผู้ตายหรือไม่ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ พยานวัตถุ กล่าวคือ แหวนทองคำที่จะใช้พิสูจน์ความผิดจำเลยก็ยังไม่มีญาติของผู้ตายมายืนยันว่าเป็นแหวนของผู้ตาย ยิ่งทำให้มีข้อสงสัยไปกันใหญ่ว่า เป็นแหวนของผู้ตายหรือไม่ หรือเป็นการจัดทำแหวนขึ้นใหม่ เพื่อปรักปรำจำเลย เมื่อมีข้อสงสัยศาลก็ต้องยกฟ้อง
               5. คดีนี้ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิด หมายถึง พยานที่เห็นเหตุการณ์ขณะอุ้มฆ่าผู้เสียหายในคดีนี้ เมื่อไม่มีประจักษ์พยานการที่ศาลจะลงโทษจำเลยได้ต้องมีพยานแวดล้อมใกล้ชิดกับเหตุการณ์ เช่น มีคนเห็นจำเลยออกมาจากบริเวณที่พบศพของผู้ตาย โดยถืออาวุธหรือมือเปื้อนเลือด เป็นต้น จึงจะลงโทษจำเลยได้หรือต้องมีพยานหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ที่พบจากตัวผู้ตาย เช่น ดีเอ็นเอ ลายมือแฝง บัตรประจำตัวของจำเลย ก้นบุหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ถ้าจะลงโทษจำเลยได้ จะต้องพบทรัพย์สินของผู้ตาย เช่น แหวนในตัวของจำเลยที่บ้านหรือในรถของจำเลย เป็นต้น แต่คดีนี้ไม่มีประจักษ์พยาน มีแต่พยานแวดล้อมที่สำคัญเพียงปากเดียวคือ พ.ต.ท.สุวิชัย แก้วผลึก ก็อยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถนำมาเบิกความต่อศาลได้ มีเพียงคำให้การในชั้นพนักงานสอบสวนเท่านั้น บันทึกคำให้การของพ.ต.ท.สุวิชัย แก้วผลึก พยานแวดล้อมปากสำคัญ จึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226/3 ห้ามมิให้รับฟังลงโทษจำเลยโดยลำพัง เว้นแต่ตามสภาพลักษณะแหล่งที่มาน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือมีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลที่เห็นเหตุการณ์โดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลอันสมควรจึงจะรับฟังพยานบอกเล่าได้ คดีนี้ศาลเห็นว่า เป็นคดีอุกฉกรรจ์มีโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ลำพังบันทึกคำให้การพยานเป็นเพียงพยานบอกเล่า จึงไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้ แต่ก่อนหน้านี้เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 9364/2555 พยานไม่มาศาล พนักงานอัยการขอให้ศาลออกหมายจับและเอาคำให้การของพยานในชั้นพนักงานสอบสวนรับฟังประกอบได้ โดยศาลให้เหตุผลว่า มีเหตุจำเป็นรับฟังลงโทษได้ ดังนั้น การที่จะรับฟังลงโทษจำเลยหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล เนื่องจากข้อเท็จจริงในแต่ละคดีไม่เหมือนกัน
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 226
  พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน
มาตรา 226/3   ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลหรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาล หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่
(1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ
(2) มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น
มาตรา 227 ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น   
เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
สรุป หากผู้เสียหายไม่พอใจและเป็นโจทก์ร่วมมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 ok.

โดยคุณ Potiyapan 20 ธ.ค. 2557, 11:59

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก