แต่งตั้งทนายความต้องระมัดระวังอย่างประทับตราผิด|แต่งตั้งทนายความต้องระมัดระวังอย่างประทับตราผิด

แต่งตั้งทนายความต้องระมัดระวังอย่างประทับตราผิด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แต่งตั้งทนายความต้องระมัดระวังอย่างประทับตราผิด

คดีนี้โจทก์แต่งตั้งทนายความประทับตราผิดพลาดแทนที่จะใช้ตราของบริษัทโจทก์

บทความวันที่ 25 มี.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3175 ครั้ง


แต่งตั้งทนายความต้องระมัดระวังอย่างประทับตราผิด

           คดีนี้โจทก์แต่งตั้งทนายความประทับตราผิดพลาดแทนที่จะใช้ตราของบริษัทโจทก์ แต่กลับไปใช้ตราของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นกิจการของโจทก์เหมือนกัน แต่โชคดีรู้ตัวภายหลังยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องเข้ามาใหม่ พร้อมกับคำแก้อุทธรณ์ หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โชคดีคดีนี้ศาลอนุญาต ดังนั้น ทนายความจะต้องสอบถามลูกความเกี่ยวกับลายมือชื่อและตราประทับในใบแต่งทนายความก่อนฟ้องศาล มิฉะนั้น อาจเสียวเหมือนคดีนี้ (อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่  2462/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547
            การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา?" นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาลมิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่อย่างใด
            เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก
(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลฎีกา)

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก