หากปิดอากรแสตมป์แต่มิได้ขีดฆ่า จึงไม่บริบูรณ์|หากปิดอากรแสตมป์แต่มิได้ขีดฆ่า จึงไม่บริบูรณ์

หากปิดอากรแสตมป์แต่มิได้ขีดฆ่า จึงไม่บริบูรณ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หากปิดอากรแสตมป์แต่มิได้ขีดฆ่า จึงไม่บริบูรณ์

มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องหากสัญญากู้ติดอากรแสตมป์แต่ไม่ขีดฆ่า

บทความวันที่ 5 มี.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2923 ครั้ง


หากปิดอากรแสตมป์แต่มิได้ขีดฆ่า จึงไม่บริบูรณ์

            มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องหากสัญญากู้ติดอากรแสตมป์แต่ไม่ขีดฆ่า จะถือว่าสัญญากู้สมบูรณ์หรือไม่ ทนายคลายทุกข์ได้ไปศึกษาค้นคว้ามาและนำมาเสนอดังนี้  สัญญาเงินกู้เป็นตราสาร ตามประมวลรัษฎากรและตามมาตรา 103  ต้องติดแสตมป์บริบูรณ์ หากปิดอากรแสตมป์แต่มิได้ขีดฆ่า จึงไม่บริบูรณ์เท่ากับไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ศาลต้องยกฟ้องถึงแม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ (อ้างอิง ฎ.5828/2555)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่อ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2555 

           คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องและหมายเรียกจำเลยมาแก้คดีอย่างคดีมโนสาเร่ ปรากฎว่าจำเลยได้รับหมายเรีนกแล้วไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด จึงถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อโจทก์มีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดแล้ว  ศาลก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีโดยขาดนัดไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคสาม ประกอบมาตรา 198 ทวิ เมื่อหนี้เงินกู้ที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) โดยชอบแล้ว  เมื่อสัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องมีโจทก์ผู้กู้และจำเลยผู้กู้ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย จึงเป็นสัญญากู้ยืมเงินเข้าลักษณะแห่งตราสารซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร และตามมาตรา 103 แห่งกฎหมายดังกล่าว ปิดแสตมป์บริบูรณ์ หมายถึง ปิดแสตมป์ก่อนกระทำหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าอากรนั้นแล้ว เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานหลักฐานปิดอากรแสตมป์แต่มิได้ขีดฆ่า การปิดอากรแสตมป์ของโจทก์จึงไม่บริบูรณ์ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เป็นผลให้คดีของโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้กู้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
(ขอบคุณที่มาจากหนังสือ รวมคำบรรยายเนติบัณฑิตยสภา ภาคสอง สมัยที่ 66 ปีการศึกษา 2556 เล่มที่ 13 )

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 รบกวนหน่อยนะค่ะ ตอนนีเทุกข์ใจจริงๆค่ะ เพื่อนยืมเงินไป1แสน มีแนวโน้มจะโดนโกง

แต่เกลี้ยกล่อมขอให้ทำสัญญา เพื่อนยินยอมให้เข้าไปทำ สัญญาดังกล่าวจะมีผลฟ้องร้องได้คือ

1.มีลายเซ็นต์ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้

2.กรอกรายละเอียดในใบสัญญา 

3.ติดอากรสแตมป์

3ข้อที่แจ้งไปยังขาดสิ่งใดอีกหรือไม่ค่ะ และการติดอากรสแตมป์ ต้องติดจำนวนเท่าไหรค่ะ

การฟ้องร้องแต่ละครั้ง มีค่าใช้จ่ายสูงมากมั้ยค่ะ

และเราสามารถฟ้องรวมเป็นกลุ่มได้รึเปล่าค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้ามากๆนะค่ะ กังวลมากและนอนไม่หลับเลยค่ะ 

โดยคุณ สุทราทิพย์ ศิริจันทรา 12 เม.ย. 2558, 20:53

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก