เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาทของลูกหนี้คนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องทุกคน|เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาทของลูกหนี้คนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องทุกคน

เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาทของลูกหนี้คนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องทุกคน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาทของลูกหนี้คนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องทุกคน

เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาทของลูกหนี้คนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องทุกคน แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกแล้ว

บทความวันที่ 3 ม.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 5963 ครั้ง


เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาทของลูกหนี้คนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องทุกคน

            เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาทของลูกหนี้คนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องทุกคน แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกแล้วต้องเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี และไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าทรัพย์มรดกตกอยู่แก่จำเลยคนที่ถูกฟ้องหรือไม่ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2480 , 792/2506 (ประชุมใหญ่), 2786/2523 ดังนั้น เมื่อลูกหนี้เสียชีวิต ใครที่เป็นลูกหลาน สามีภริยา ก็มีสิทธิถูกฟ้องเป็นลูกหนี้ทั้งสิ้น แต่รับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตัวเองได้รับเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1601

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2480
            สามียินยอมอนุญาตให้ภริยาประกอบกิจการค้าขายสามีไม่ต้องรับผิดในบริคณห์ส่วนของสามีเจ้าหนี้ของกองมฤดกมีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากทายาทคนไดคนหนึ่งก็ได้ วิธีพิจารณาแพ่งหน้าที่นำสืบการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยต้องรับผิดในฐานเป็นผู้รับมฤดกนั้น โจทก์หาจำต้องสืบด้วยไม่ว่าทรัพย์ของเจ้ามฤดกตกอยู่แก่จำเลยหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี มฤดก ค่าธรรมเนียม เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินของผู้ตายจากผู้รับมฤดก ศาลฎีกาให้จำเลยรับผิดในค่าธรรมเนียมค่าทนายความแทนโจทก์ในฐานะเป็นผู้รับมฤดก

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2506

           ในกรณีที่ได้แบ่งมรดกแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องให้ทายาทคนใดชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นรับไป หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกจากทายาทคนอื่นที่มิได้ถูกฟ้องด้วยไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2506)

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2523
            โจทก์เป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายให้ร่วมกันนำเงินและทรัพย์สินในกองมรดกมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เป็นกรณีที่เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาท เพื่อให้ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกแม้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้สละมรดกเสียในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หากแต่ฟ้องในฐานะเป็นทายาทและก็เพื่อให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกดังกล่าวแล้ว

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1601
  ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก