การฟ้องลูกจ้างฟ้องได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญาจ้าง|การฟ้องลูกจ้างฟ้องได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญาจ้าง

การฟ้องลูกจ้างฟ้องได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญาจ้าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การฟ้องลูกจ้างฟ้องได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญาจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540

บทความวันที่ 1 ม.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 9058 ครั้ง


การฟ้องลูกจ้างฟ้องได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญาจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540
             ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไร ผิดข้อบังคับอย่างไร และจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป ซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของ ส.ต้องรับผิดดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

ตัวทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 193/30 
อายุความนั้น  ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก