ปีใหม่อย่าลาป่วยเท็จ อาจถูกไล่ออกได้|ปีใหม่อย่าลาป่วยเท็จ อาจถูกไล่ออกได้

ปีใหม่อย่าลาป่วยเท็จ อาจถูกไล่ออกได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปีใหม่อย่าลาป่วยเท็จ อาจถูกไล่ออกได้

มีคำพิพากษาฎีกาฎี 2254/2534 วินิจฉัยว่า

บทความวันที่ 1 ม.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2054 ครั้ง


ปีใหม่อย่าลาป่วยเท็จ อาจถูกไล่ออกได้


             มีคำพิพากษาฎีกาฎี 2254/2534 วินิจฉัยว่า ลูกจ้างให้มารดาโทรศัพท์ไปแจ้งนายจ้างว่าป่วยไม่สามารถทำงานได้และได้ฝากใบรับรองแพทย์ซึ่งระบุว่าเป็นหัดเยอรมัน สมควรพักรักษาตัว 7 วัน ระหว่างวันที่  8 – 15 มิถุนายน นายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวโดยอ้างว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่
            คดีดังกล่าวได้มีการนำสืบข้อเท็จจริงและขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าอาการป่วยของลูกจ้างไม่ถึงขนาดที่จะไปทำงานไม่ได้ และลูกจ้างได้ไปที่สถานทูตญี่ปุ่นเพื่อขอออกวีซ่า ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม ทั้งได้ซื้อตั๋วเครื่องบินเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน และมาลาป่วยในวันที่ 8 มิถุนายน พฤติกรรมดังกล่าวแสดงโดยชัดแจ้งว่า ลูกจ้างตั้งใจจะเดินทางไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นโดยไม่ขออนุญาตจากนายจ้างก่อน จึงถือว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันขึ้นไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร  นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
             ถ้ามีกิจธุระก็แจ้งนายจ้างว่ามีกิจธุระ เพราะลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ตามระเบียบของบริษัท อย่าไปโกหกว่าป่วย เพราะจะมีความผิดตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119
               

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก