ลูกจ้างด่าผู้บังคับบัญชาว่าตอแหล |ลูกจ้างด่าผู้บังคับบัญชาว่าตอแหล

ลูกจ้างด่าผู้บังคับบัญชาว่าตอแหล

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกจ้างด่าผู้บังคับบัญชาว่าตอแหล

ลูกจ้างด่าผู้บังคับบัญชาว่าตอแหล มีความผิดแต่ไม่ร้ายแรง เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

บทความวันที่ 21 พ.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2029 ครั้ง


ลูกจ้างด่าผู้บังคับบัญชาว่าตอแหล มีความผิดแต่ไม่ร้ายแรง เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2540
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้ด่า ส. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่า "ตอแหล" ต่อหน้าพนักงานอื่นในสถานที่ทำงานขณะที่ ส.สั่งห้ามพนักงานพูดเสียงดังการที่โจทก์ด่าส.โดยใช้ถ้อยคำว่า "ตอแหล" ซึ่งมีความหมายว่าเป็นคนพูดเท็จอันเป็นการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาด้วยการใช้วาจาดูหมิ่น เหยียดหยามและก้าวร้าว เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งจำเลยได้จัดไว้ในหัวข้อเรื่องวินัยและความประพฤติทั่วไปของพนักงาน แยกต่างหากจากหัวข้อเรื่องความผิดร้ายแรงซึ่งได้ระบุการกระทำที่เป็นความผิดร้ายแรงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นความผิดกรณีร้ายแรงแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อปรับการกระทำของโจทก์กับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าวแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นเพียงฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีทั่วไป หาเป็นความผิดกรณีร้ายแรงไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก