เลิกสัญญาไม่ชอบ คู่สัญญาไม่มีหน้าที่ต้องโต้แย้ง|เลิกสัญญาไม่ชอบ คู่สัญญาไม่มีหน้าที่ต้องโต้แย้ง

เลิกสัญญาไม่ชอบ คู่สัญญาไม่มีหน้าที่ต้องโต้แย้ง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เลิกสัญญาไม่ชอบ คู่สัญญาไม่มีหน้าที่ต้องโต้แย้ง

ปัจจุบันมีการเลิกสัญญาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ทำผิด

บทความวันที่ 13 ส.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2801 ครั้ง


เลิกสัญญาไม่ชอบ คู่สัญญาไม่มีหน้าที่ต้องโต้แย้ง

          ปัจจุบันมีการเลิกสัญญาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ทำผิด มีคำถามถามว่าฝ่ายที่ถูกเลิกสัญญาต้องโต้แย้งหรือคัดค้านหรือไม่ 
          คำตอบคือไม่ต้องโต้แย้งหรือคัดค้าน และถือไม่ได้ว่าสมัครใจเลิกสัญญาด้วย

1.คำพิพากษาฎีกาที่ 6026/2552
           ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทไม่ได้มีข้อสัญญาห้ามมิให้นำสินค้าของโจทก์คือถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาท อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์โจทก์ซื้อมาเพื่อทำการค้า การขายแก๊สหุงต้มเป็นอาชีพสุจริตไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เหมือนกับการขายยาเสพติด แม้การขนย้ายถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาทจะไม่ได้แจ้งต่อทางราชการ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้เพราะเป็นคนละส่วนกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงต้องเสียค่าปรับให้โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท
              หลังจากโจทก์โอนขายอาคารพาณิชย์ของตนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในอาคารพิพาท และจำเลยที่ 2 รู้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ตน จำเลยที่ 2 รู้ถึงความจริงข้อนี้อันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ก็ตาม

2.คำพิพากษาฎีกาที่ 5876/2541
           ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้นจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลิกสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มีสิทธิเลิกสัญญาโดยเหตุใดการที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2และมิได้โต้แย้งคัดค้านหามีผลเป็นการเลิกสัญญาดังกล่าวไม่เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโต้แย้งหรือคัดค้านการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 แล้วในส่วนของกระผมหละครับ ที่สอบเข้ามาในตำแหน่งอาจารย์สอนดนตรี อยู่ดีปี 2556 ก็ปรับเปลี่ยนลดตำแหน่งให้ผมมาทำงานสายปฏิบัติฝ่ายสนับสนุน และกลั่นแกล้งมอบหมายภาระงานทะเบียนให้ทำ ทั้งๆที่ก็รู้อยู่ว่าผมไม่มีความรู้ในด้านนี้ พอถึงเวลาประเมินผลการทำงาน ก็ประเมินให้ผมไม่ผ่าน ทั้งๆที่ผมก็มีผลงานอื่นๆมากมายที่ไม่เกี่ยวกับงานทะเบียน จะให้ผมผ่านได้เช่นไร จบดนตรีศึกษา ให้มาทำงานทะเบียน อย่างน้อยๆก็ต้องให้โอกาสผม 2 ปี 

เช่นนี้แล้วผมควรไปร้องเรียน หรือฟ้องร้องเรียกร้องความเป็นกับหน่วยงานไหนได้บ้างครับผม

โดยคุณ นายพงค์ธร พันธุ์ผาด 18 ก.ย. 2556, 15:20

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก