คดีเกี่ยวกับการดูหมิ่นผู้พิพากษา รวมทั้งการร้องเรียน|คดีเกี่ยวกับการดูหมิ่นผู้พิพากษา รวมทั้งการร้องเรียน

คดีเกี่ยวกับการดูหมิ่นผู้พิพากษา รวมทั้งการร้องเรียน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คดีเกี่ยวกับการดูหมิ่นผู้พิพากษา รวมทั้งการร้องเรียน

คดีเกี่ยวกับการดูหมิ่นผู้พิพากษา รวมทั้งการร้องเรียน

บทความวันที่ 11 ส.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 5589 ครั้ง


คดีเกี่ยวกับการดูหมิ่นผู้พิพากษา รวมทั้งการร้องเรียน

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2530
         การที่จำเลยทำหนังสือส่งไปยังประธานคณะกรรมการตุลาการและกรรมการตุลาการอื่นทุกคนกล่าวหาว่าโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการตุลาการคนหนึ่งผูกใจเจ็บแค้นมารดาจำเลยเพราะมีคดีเรื่องบุกรุกและหาเหตุกลั่นแกล้งจนมารดาจำเลยถึงแก่กรรม แล้วโจทก์ยังมาฟ้องกล่าวหาจำเลยในมูลละเมิดโดยใช้อิทธิพลในฐานะเป็นกรรมการตุลาการทำให้ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีเกิดความกลัวบีบบังคับให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลยในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว อันทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ทั้งที่จำเลยรู้ดีว่าไม่มีมูลความจริง ย่อมแสดงให้เห็นในเบื้องต้นถึงเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ของจำเลย ทั้งจำเลยก็ไม่อาจแก้ตัวได้ว่ากระทำการดังกล่าวเพื่อป้องกันผลประโยชน์อันชอบธรรมของตนหรือเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา329(1)(3) เพราะในคดีแพ่งที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับมูลละเมิด จำเลยก็มีทนายช่วยแก้ต่างจำเลยจึงย่อมทราบดีกว่าขั้นตอนของกระบวนวิธีพิจารณาเป็นอย่างไรและควรปฏิบัติอย่างไรหากเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมในปัญหาที่พิพาทกับโจทก์มิใช่ร้องเรียนไปยังบรรดาบุคคลซึ่งจำเลยทราบดีว่าไม่อาจบันดาลใด ๆ ในทางคดีได้แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยมุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ และเป็นการกระทำที่มีลักษณะให้ข้อความหมิ่นประมาทดังกล่าวแพร่หลายไปในวงการของนักกฎหมายและบุคคลอื่น เพื่อให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิดดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติและสถานะในทางสังคมของโจทก์โดยตรงสมดังเจตนาอันแท้จริงของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328.

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2507
           ข้อกล่าวหาของจำเลยที่ว่า นายหิรัญผู้พิพากษาได้ร่วมรับประทานเลี้ยงกับนางนิภาโจทก์ ซึ่งนายหิรัญตัดสินให้ชนะคดี ที่ร้านข้างศาลในตอนเย็นวันตัดสินนั้น เป็นความเท็จ และ จำเลยได้ร้องเรียนความดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงยุติธรรม และไปยืนยันให้ถ้อยคำต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชานายหิรัญในการสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยแก่นายหิรัญ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการแจ้งข้อความเท็จโดยเจตนาซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหายเป็นความผิดตามมาตรา 137 ยิ่งกว่านั้นข้อความที่จำเลยแจ้งเท็จดังกล่าว ยังมีความหมายไปในทางหาว่านายหิรัญประพฤติตนไม่สมควร เป็นไปในทำนองพิพากษาคดีความไปโดยไม่สุจริตเป็นการหมิ่นประมาทนายหิรัญผู้พิพากษาในการพิพากษาคดีอันเป็นความผิดตามมาตรา 198 และเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความแก่นายหิรัญตามมาตรา 326 อีกด้วย กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 329(1) เพราะจำเลยมีเจตนาแกล้งกล่าวข้อความเท็จโดยไม่สุจริต
        ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ผู้รับแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้นจะต้องเป็นพนักงานสอบสวน แต่ย่อมหมายถึงเจ้าพนักงานโดยทั่วไป เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่สอบสวนความผิดทางวินัยกับนายหิรัญ การที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 สอบสวนจำเลย จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหาย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 137

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4102/2549
          การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลซึ่งเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) นั้น จะต้องเกิดขึ้นในบริเวณศาล การที่ผู้ถูกกล่าวหาทำหนังสือร้องเรียนกล่าวหาว่า ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีตามหนังสือร้องเรียนมีพฤติการณ์ละเลยต่อหน้าที่ และด้อยประสบการณ์ในการพิจารณาพิพากษาคดี ฟังความโจทก์ข้างเดียว ตัดสินคดีผิดพลาดไม่ยุติธรรมและลงโทษผิดหลักมนุษยชาติกระทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายอย่างมากนั้น เป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาทำหนังสือร้องเรียนไปยังประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งขณะนั้นมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โดยไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ร้องเรียนไปยังศาลชั้นต้นหรือได้ทำหนังสือร้องเรียนดังกล่าวขึ้นในบริเวณศาลชั้นต้นแต่อย่างใด แม้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นการก้าวร้าวและดูหมิ่นเสียดสีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นอย่างร้ายแรงโดยปราศจากความเคารพยำเกรงทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันศาลยุติธรรมและอาจทำให้ผู้พิพากษาดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน ซึ่งสมควรที่จะลงโทษให้หลาบจำมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไปก็ตามแต่เมื่อการกระทำของผู้ถูกกล่าวหามิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) จึงไม่อาจลงโทษผู้ถูกกล่าวหาฐานละเมิดอำนาจศาลได้

4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2514
          จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยได้ประพันธ์ พิมพ์ และนำออกโฆษณา ทำให้แพร่หลายไปถึงประชาชนซึ่งเอกสารสิ่งพิมพ์ กล่าวถึงการกระทำของผู้ทำการแทนในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าเป็นผู้จัดให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีและตัวผู้ทำการแทนฯ เองก็มีพฤติการณ์ให้การพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นไปโดยรวบรัดไม่ชอบด้วยหลักยุติธรรมและกล่าวถึงการกระทำของศาลอาญาศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้นว่า "พิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย หลักความยุติธรรม ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจะวิ่งไปขอความยุติธรรมต่อศาลให้สิ้นเปลืองเงินทองเพื่อประโยชน์อันใด..." ดังนี้ เป็นข้อความที่เรียกได้ว่าจำเลยกล่าวในทำนองตำหนิศาลอาญา ศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะที่ทำการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ไม่เป็นที่พึ่งของประชาชน นับว่าเป็นการกระทำที่แสดงต่อศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีจึงเป็นถ้อยคำดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198
          เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 แล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 136 อีก (อ้างฎีกาที่ 1456/2506)

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ขอปรึกษาเรื่อง ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจไม่ต้องตามจริยธรรม ค่ะ ด่วนมากๆ เลยนะคะ
โดยคุณ นางสาวฐิติรีตน์ ธรรมบุตธนูกิต 8 ต.ค. 2560, 17:31

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก