คำว่า ขี้ข้า ถ้าใครถูกด่าถือว่าได้รับความเสียหาย|คำว่า ขี้ข้า ถ้าใครถูกด่าถือว่าได้รับความเสียหาย

คำว่า ขี้ข้า ถ้าใครถูกด่าถือว่าได้รับความเสียหาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำว่า ขี้ข้า ถ้าใครถูกด่าถือว่าได้รับความเสียหาย

ปัจจุบันมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2506 ได้วินิจฉัยไว้แล้ว

บทความวันที่ 11 ส.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2886 ครั้ง


คำว่า ขี้ข้า ถ้าใครถูกด่าถือว่าได้รับความเสียหาย

          ปัจจุบันมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2506  ได้วินิจฉัยไว้แล้ว ดังนั้น  ถ้าเราไปว่าบุคคลอื่นว่าเป็นขี้ข้า  ผู้ที่ถูกด่าก็ดำเนินคดีกับท่านทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ ดังนั้น  จึงต้องระมัดระวังการใช้คำพูด แต่ถ้าใครไม่กลัว ก็ถือว่าเป็นเสรีภาพส่วนบุคคลนะครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2506
           พนักงานสอบสวนจับจำเลยมาโดยอัยการผู้ช่วยแจ้งความว่าถูกจำเลยด่าต่อมาจำเลยไปด่าพนักงานสอบสวนด้วยถ้อยคำหยาบคายและมีความหมายว่า พนักงานสอบสวนนั้นเป็นขี้ข้าหรือลูกน้องอัยการ ทำงานอยู่ใต้อาณัติของอัยการ ดังนี้เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 136 และเมื่อเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานอยู่เช่นนี้แล้วก็ไม่เข้าบทที่จะลงโทษจำเลยฐานดูหมิ่นบุคคลธรรมดาตามมาตรา 393 อีก
          และการที่จำเลยด่าซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งที่หน้าประตูบ้านผู้เสียหาย ในเวลากลางดึกอันเป็นเวลาหลับนอนของผู้เสียหายซึ่งอยู่ในบ้าน ถือได้ว่าเป็นการทำให้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อน รำคาญ การกระทำเช่นนี้จึงผิดมาตรา 397 ด้วย แต่นับว่าเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 136 แต่บทเดียว

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก