การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้าง|การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้าง

การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้าง

กรณีลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกัน นายจ้างจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้ง

บทความวันที่ 15 ก.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 10085 ครั้ง


การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้าง

    
           กรณีลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกัน นายจ้างจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งไปทาง ปณ.ยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างติดต่อกลับ แจ้งถึงเหตุอันสมควรที่ละทิ้งหน้าที่ไปหรือไม่  หากมีคำสั่งเลิกจ้างด้วยเหตุละทิ้งหน้าที่  โดยไม่ทำหนังสือดังกล่าวแจ้งไปยังลูกจ้าง จะมีโอกาสแพ้คดีในศาลหรือไม่ หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น

คำแนะนำสำนักงานทนายความทนายคลายทุกข์
          การที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างชอบที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างและไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้นายจ้างต้องทำหนังสือบอกกล่าวการเลิกจ้างเป็นทางการไปรษณีย์ไปยังลูกจ้างแต่อย่างใด เพียงแต่พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม มีบทกำหนดว่ากรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นกล่าวอ้างในภายหลังไม่ได้

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
มาตรา 17
  สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
            ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน  ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย
            การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้
            การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 6

ลูกจ้างมาสายเลยทักไปถาม​แต่ลูกจ้างบอกว่าไม่ใช่มาสายแค่วันเดียวกัน​ สาเหตุที่มาสายคือขี้เกียจ​อย่างนี้ถือว่าจงใจละทิ้งหน้าที่แลลละจงใจสร้างความเสียหายหรือไม่ครับ

โดยคุณ ต้อม 15 ก.ย. 2566, 09:04

ความคิดเห็นที่ 5

กลับบ้านละเว้นหน้าที่โดยมีปันหากับเพื่อนร่วมงานตอนปฎิบัติงานวันต่อมาหยุดติดกัน3วันแต่วันที่3ส่งข้อความทางline

 ไปแจ้งหัวหน้าๆอ่านข้อความแต่ไม่ได้ตอบอะไรกลับมา วันจันทร์ไปทำงานตามเวรางานแต่เพื่อนร่วมงานบอกว่าเราพ้นสภาพการทำงาน

เราไปหาหัวหน้างานๆบอกให้กลับก่อนมาตอน9โมงมีเรื่องคุย

เรามาตอน9โมงให้เราอ่านกฎระเบียบมูลนิธิบอกเราว่าให้เราพ้นสภาพการทำงานให้ค่าแรงตามวันที่มาทำงานและให้เราเซ็นถึงเหตุที่พ้นสภาพโดยที่บอกว่าไม่รับแจ้งทางlineดิฉันแจ้งเหตุผลที่ไม่มาปฎิบัติงานถึงเหตุการ์นที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุที่ไม่มาปฎิบัติหน้าที่แต่หัวหน้าไม่รับฟังไม่หาข้อเท็จจริงที่เกิดเลย

หนูเลยได้แต่ต้องพ้นสภาพไปตามที่หัวหน้าต้องการและตกงานแบบกระทันหัน

โดยที่ไม่ออกเอกสารแจ้งหรือมีเอกสารใดๆให้มาเลย...ควรทำไงดีคะ


โดยคุณ Sasithorn pansee 19 ก.ค. 2566, 18:25

ความคิดเห็นที่ 4

อยากสอบถามว่าถ้าเราจ้างเเรงงานต่างด้าวมาทำงาน และจ่ายค่าวีซ่าให้ผ่อน และลูกจ้างเบิกเงินเรา แล้วมาวันนึงลูกจ้างบอกต้องกับไปเคลียร์งานที่ทำงานเก่า 7 วัน แต่ตอนนี้ 2 เดือนกว่าแล้วก็ไม่กลับมาทำงาน ทำให้งานไม่เดิน ไม่มาจ่ายเงินที่ค้างอยู่ด้วยแล้วยังจะมาพาลูกจ้างคนอื่นๆไปทำงานด้วยอีก 

  1. เราสามารถเลิกจ้างแล้วระบุว่าติดหนี้นายจ้าง และทำให้งานเสียหายได้ไหมคะ?

  2. ถ้ามีกรณีนี้อีกในหลายๆคนเราสามารถทำสัญญาให้ลูกจ้างเซ็น เพื่อป้องกันความเสียหายของงานเราได้ไหมคะ?

โดยคุณ ศศิธร กันทะสาร 11 ก.ค. 2562, 13:54

ความคิดเห็นที่ 3

ปรึกษาเรื่องลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ ไม่ติดต่อไม่แจ้งนายจ้างคะ

รวม3 คนหยุดพร้อมกันเลยคะ

โดยคุณ ขวัญ 19 พ.ค. 2562, 10:23

ความคิดเห็นที่ 2

พนักงานบช.ละทิ้งหน้าที่ ไปหลายวันแล้วเขียนใบลาออก นายจ้างได้แจ้งว่าให้มาทำงาน ส่งมอบงานให้เรียบร้อยก่อน แล้วรับเงินเดือนไป แต่พนักงานไม่ขอรับเงินเดือนเพราะไม่อยากกลับมาทำงาน นายจ้างจึงไม่จ่ายค่าจ้าง แต่พนักงานมาขอรับเงินเดือนภายหลัง นายจ้างไม่จ่ายพนักงานจึงฟ้องแรงงานจังหวัด นายจ้างต้องทำอย่างไร

โดยคุณ น้อยหน่า นิดน้อย 8 พ.ค. 2559, 10:42

ความคิดเห็นที่ 1

 แฟนเข้ารพ. ต้องไปดูแล เข้าวันพุธช่วงตี3 ได้โทรแจ้งหัวหน้างานวันพฤหัสฯ และวันศุกร์ วันเสาร์ไม่ได้โทรแจ้งว่าจะลากะว่าจะให้หักเงินเลย วันอาทิตย์แฟนก็ออกจากรพ. วันจันทร์ต้องไปเดินเรื่องเอกสารอีกที่รพ.วันอังคารต้องหาข้าว หายาให้แฟนก่อนถึงที่ทำงานก็เที่ยง วันพุธก็เช่นกันแต่ช่วงสายๆทางบุคคลโทรแจ้งว่าผู้บริหารให้หนูออก เพราะขาด ลา สายบ่อย โดยหนูทำงานได้2ปี11เดือน และต้องเข้าไปเคลียร์งานให้เสร็จก่อนที่จะออกจึงจะได้เงินค่าประกันงานคืน เงินส่วนนี้คือหักจากเงินเดือนๆละ100บาท ถึงวันที่25เพราะตัดweekของบริษัท ไม่งั้นก็จะไม่ได้คืน ในส่วนนี้หนูจะได้ค่าชดเชยอะไรไหมค่ะ

โดยคุณ สุกานดา 13 พ.ย. 2557, 20:36

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก