การค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ|การค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ

การค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ

มีผู้ที่ค้ำประกันนักเรียนทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ

บทความวันที่ 5 ก.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2655 ครั้ง


การค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ


            มีผู้ที่ค้ำประกันนักเรียนทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ และไม่ชดใช้ทุนหรือไม่กลับมาประเทศไทย ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญาลาไปศึกษาต่อ  ทนายคลายทุกข์จึงนำคำพิพากษาศาลฎีกาที่วางบรรทัดฐานเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันมาเผยแพร่ดังนี้

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2533
            สัญญาการรับทุน ก.พ. เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ระบุว่า เมื่อจำเลยผิดสัญญานอกจากจะต้องรับผิดชดใช้ทุน ก.พ. คืนโจทก์แล้ว ต้องใช้เงินอีกจำนวนหนึ่งเท่าทุนดังกล่าวให้เป็นเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วยดังนี้ เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ไม่ว่าสัญญาดังกล่าวจะทำกับส่วนราชการหรือไม่ก็ตาม

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2523
           พ. ได้รับทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงถือว่า พ. ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย เมื่อ พ.ประพฤติผิดสัญญาด.ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ได้. แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม่ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ขอทุนกับ พ. ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น
          สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่พ.ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อ และสัญญาค้ำประกันที่ ด. ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
           เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขตโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ. ลูกหนี้ของโจทก์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
          แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขอลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่งมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539
            เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่1ได้รับโอนตรงจากประเทศมาเลเซียเป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลและถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบมิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่1ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรมทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง กรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุนความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่1ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่3จะต้องรับผิด

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2533
            การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนของสภาประชากรแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนตัวโดยมิได้ผ่านทางหน่วยงานราชการ แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญากับโจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาแล้วไม่กลับมารับราชการหรือกลับมารับราชการเป็นเวลาน้อยกว่า 3 เท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือที่ได้รับเงินเดือน รวมทั้งเงินเพิ่มสุดแต่เวลาใดจะมากกว่ากัน จำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้คืนซึ่งทุน และหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและหรือเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากทางราชการในระหว่างเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรืออบรม รวมทั้งเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็มีผลเพียงต้องชดใช้เงินเดือนที่ได้รับระหว่างศึกษาต่อพร้อมเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ไม่ต้องชดใช้ทุนคืนให้โจทก์แต่อย่างใด เพราะเงินทุนดังกล่าวมิได้เป็นเงินที่ได้รับจากทางราชการในระหว่างได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรม และมิได้เป็นทุนที่เจ้าของทุนมอบให้ทางรัฐบาลไทยหรือสถาบันในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วยเช่นกัน

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529
           จำเลยที่1ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศและได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นหากปรากฏว่าจำเลยที่1หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลาและกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าวดังนี้ถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาเพราะคำว่าหนีราชการเป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่1ออกเองอันไม่เป็นการผิดสัญญาหาได้ไม่ เงินเดือนที่จำเลยที่1ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้นอยู่ในความหมายของคำว่าเงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษาตามข้อสัญญาที่จำเลยที่1ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้ การที่จำเลยที่1ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ2ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาโดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อนจากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่1และครั้งที่2 ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2ที่3รับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในหนี้คนละจำนวนจำเลยที่2ที่3จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2536
           จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติและความรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศ ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนส่วนตัว (ทุนประเภท 2) มีกำหนด2 ปี นับแต่วันออกเดินทาง โดยเมื่อจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อ หรือจำเลยที่ 1ถูกเรียกตัวกลับ และจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและจำเลยที่ 1 ไม่ชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ส่วนที่หลังจากครบกำหนด2 ปี แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขอลาศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัวอีก 5 ปี9 เดือน 4 วัน และโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาศึกษาต่อโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการลาไปศึกษาต่อเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แต่อย่างใดจำเลยที่ 2 จึงคงมีความรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี เท่านั้น สัญญาค้ำประกันระบุว่า หากโจทก์จะผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไป มีความหมายเพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนให้โจทก์พร้อมเบี้ยปรับภายในกำหนด 30 วัน ถัดจากวันได้รับแจ้งจากโจทก์ตามสัญญาข้อ 4 และ ข้อ 5 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน แม้โจทก์ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไปข้อความดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ทุกประการโดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในอนาคตไม่

7. คำพิพากษาศาลฎีกาที่  939/2537
           จำเลยที่ 1 ได้รับทุนให้ไปฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ วิชาบรรณารักษ์ มีกำหนด 9 เดือน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ฝึกอบรมแล้วขอรับทุนศึกษาวิชาบรรณารักษ์ชั้นปริญญาโทต่ออีก 2 ปี และฝึกอบรมต่ออีก 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่รับราชการชดใช้ทุน ดังนี้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันรับผิดเฉพาะหนี้ที่เกิดจากการฝึกอบรม 9 เดือนแรกเท่านั้น

8. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2537
           สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดระยะเวลาไม่แน่นอนว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อเป็นเวลา 5 ปี ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ภายในกำหนด 5 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อไปอีกเกินกว่ากำหนด 5 ปี โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2  ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยอมด้วยในการขยายกำหนดเวลาการศึกษาจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับกำหนดระยะเวลาที่เกินกว่า 5 ปี
            ผู้ที่ได้รับทุนไปศึกษาต่อบางคนเป็นข้าราชการอยู่แล้ว ขณะที่เรียนอยู่ต่างประเทศ นอกจากจะได้รับทุนแล้วยังได้รับเงินเดือนในฐานะที่เป็นข้าราชการด้วย ต่อมาเมื่อมีการผิดสัญญา ผู้รับทุนจะต่อสู้ว่าต้องถือเวลาขณะที่ศึกษาต่อเป็นเวลารับราชการด้วยไม่ได้เพราะมิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญาการรับทุนจึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษาต่อรวมกับเวลาที่ปฏิบัติราชการจริงได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก