การเลือกปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30|การเลือกปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30

การเลือกปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเลือกปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30

มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ

บทความวันที่ 19 มิ.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4726 ครั้ง


การเลือกปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30

           มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ เช่น ตำรวจจับผู้กระทำความผิดคนหนึ่ง  แต่ไม่จับผู้กระทำความผิดอีกคนหนึ่ง หรือสำนักงานเขตสั่งให้บ้านหลังหนึ่งรื้อถอน เนื่องจากปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่อีกหลังหนึ่งทำผิดเหมือนกันแต่ไม่สั่งรื้อ ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่  ศาลปกครองสูงสุดวางบรรทัดฐานไว้แล้วว่า มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เพราะผู้ฟ้องคดีก็เป็นผู้กระทำความผิด จึงไม่สามารถอ้างสิทธิตามกฎหมายได้  แต่ผมเห็นว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ตาม ป.อ.มาตรา 157 (อ้างอิงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.251/2551)


คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.251/2551
             การเลือกปฎิบัติที่ถือว่าไม่เป็นธรรมนั้น ต้องเป็นกรณีของการออกคำสั่งทางปกครองที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคและเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายจะกระทำมิได้ การจะกล่าวอ้างว่าเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้กล่าวอ้างสิทธิตามกฎหมายจะได้รับสิทธินั้น ๆ แต่ไม่ได้รับสิทธินั้นเพราะการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หาใช่เป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดด้วยกัน แต่ผู้กระทำผิดบางคนยังมิได้ถูกดำเนินคดี ฉะนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีตั้งสุสานและทำการฝังศพในสถานที่ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำผิดในทำนองเดียวกันกับเจ้าของสุสานรายอื่นที่ยังมิได้ถูกดำเนินคดี จึงมิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

[โดนเลิกจ้างงาน จ่ายค่าชดเชย ตามกฎหมาย และสถานะเป็นคนพิการมีบัตร เมื่อเดือน ที่แล้วประเภทที่ 3 แต่ก่อนก็ปกติดีเหมือนคนทั่วไป ทำงาน ในตำแหน่งบริหาร ผจก จังหวัด เจ็บป่วย กล้ามเนื้อออ่นแรง จากการบาสพาสเส้นเลือดหัวใจ เกิดอาการสโตรกมา และมีการแต่งตั้งคนทำการแทน ให้อยู่เฉยๆดูงานทั่วไป และไม่มีการมอบหมายงานแต่อย่างไดเลย ในส่วนค่าชดเชยนั้นไม่ติดใจ แต่ความเสียหายจากความพิการนั้นซึ่งตัวเองก็ยังมีภาระครอบครัว ต้องส่งเสียค่าใช้จ่าย ครอบครัว เดือนละ 15000-20000 บาททุกเดือนอยู่แล้ว

ซึ่งจากการเลิกจ้างงาน ซึ่งตัวเองเป็น พนักงาน ประจำ เกษียน 60 ตามกฎหมาย มาเลิกจ้างตอนนี้ แม้เป็นธรรมแล้ว แต่ยังมีความเสียหาย ซึ่งจะ ไม่มีโอกาส หางานใหม่ เพราะเดินใช้วอกเกอร์ 4 ขา และอายุ ก็ 50 ปีแล้ว ซึ่งมันเป็นการปฎิบัติไม่เป็นธรรมต่อคนพิการแล้วยังทำร้ายจิตใจอีกด้วย ซึ่งยังต้องมีภาระอีกต่อไปนั้น เพราะลูกยังเล็กอยู่ ป5 ม1 เรียน แต่ละปีต้องใช้เงิน ครึ่งแสนเลยที่เดียวตอนมีงานก็พอได้โบนัสช่วยได้บ้างค่าเทอมลูก ซึ่งกรณีเลิกจ้างจะเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่แม้จะเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้วก็ตาม ตาม พรบ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ 2541 เลือกปฎิบัติไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ

โดยคุณ ปรึกษา เรื่องเลิกจ้าง แรงงาน 31 พ.ค. 2562, 10:08

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก