ผู้ต้องหาในคดีอาญาจะให้การอย่างไรก็ได้ ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ|ผู้ต้องหาในคดีอาญาจะให้การอย่างไรก็ได้ ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

ผู้ต้องหาในคดีอาญาจะให้การอย่างไรก็ได้ ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้ต้องหาในคดีอาญาจะให้การอย่างไรก็ได้ ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

ท่านผู้อ่านสอบถามว่า ผู้ต้องหาให้การเท็จในชั้นพนักงานสอบสวนมีความผิดฐานแจ้งความเท็จหรือไม่

บทความวันที่ 17 มิ.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 13955 ครั้ง


ผู้ต้องหาในคดีอาญาจะให้การอย่างไรก็ได้ ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

           ท่านผู้อ่านสอบถามว่า ผู้ต้องหาให้การเท็จในชั้นพนักงานสอบสวนมีความผิดฐานแจ้งความเท็จหรือไม่  ทนายคลายทุกข์ได้ไปรวบรวมคำพิพากษาศาลฎีกาพบว่าไม่มีความผิด ยกเว้นให้การในฐานะอื่น ไม่ใช่ในฐานะผู้ต้องหาหรือให้การก่อนถูกแจ้งข้อหาหรือก่อนเป็นผู้ต้องหา

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2522
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างใดก็ได้ แม้คำให้การของผู้ต้องหาจะไม่เป็นความจริง ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
            พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส แล้วสอบสวนจดคำให้การของจำเลยไว้ ต่อมามีพยานหลักฐานว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับรถชนผู้เสียหายมิใช่จำเลย พนักงานสอบสวนเห็นว่าคำให้การของจำเลยที่จดไว้เป็นความเท็จจึงแจ้งข้อหาจำเลยเพิ่มเติมว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังนี้ คำให้การของจำเลยที่พนักงานสอบสวนจดไว้เป็นคำให้การในฐานะผู้ต้องหาแม้ไม่เป็นความจริง จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2522(ฉบับเต็ม)

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2536
           เมื่อจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว จำเลยจะให้การเท็จจริงอย่างไรหรือไม่ให้การอะไรก็ได้ ไม่มีกฎหมายใดบังคับดังนั้น โจทก์จะอ้างคำรับของจำเลยในชั้นสอบสวนซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยได้ปฏิเสธ ให้เห็นว่าคำเบิกความชั้นศาลของจำเลยเป็นความจริงมาใช้ประกอบเพื่อให้ฟังว่าข้อความที่จำเลยให้ไว้แก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความเท็จหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2536 (ฉบับเต็ม)

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2528
           การที่จำเลยเป็นคนสัญชาติญวนไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หลังหนึ่งเลยแล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียน จดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่งว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้นการกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
           การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2528 (ฉบับเต็ม)

4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2508
         ร้อยตำรวจตรีกมลกับพวกจับกุมจำเลยในข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ และค้นตัวจำเลยได้บัตรรับฝากรถจักรยานและกระดาษฟุลสแก๊ปมีเขียนเลข 2 ฉบับ จำเลยแจ้งว่าเป็นสลากกินรวบซื้อมาจากโจทก์ดังนี้ ถือว่าจำเลยกล่าวในฐานะผู้ต้องหาหรือเสมือนผู้ต้องหาจำเลยหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2508 (ฉบับเต็ม)

ยกเว้นผู้ต้องหาต้องรับผิดฐานแจ้งเท็จ
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2484
          จำเลยถูกจับฐานทำร้ายร่างกาย ในขณะเดียวกันจำเลยได้กล่าวหาว่า ผู้เสียหายเข้าไปลักมะม่วง เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานสอบสวนเป็นอีกคดีหนึ่ง ย่อมเป้นผิดตามมาตรา188.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2484(ฉบับเต็ม)

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2540

           จำเลยแจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนขณะปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า"ภายหลังเกิดเหตุรถชนกันแล้ว ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้หลบหนีไป" ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วคนขับรถสามล้อเครื่องยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยน่าจะทำให้พนักงานสอบสวน หรือประชาชนเสียหาย แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาก็ตามแต่ได้ความจากคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่า พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2539 โดยระบุในคำร้องดังกล่าวว่าจำเลยถูกจับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 และถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายไม่หยุดให้การช่วยเหลือ ไม่แสดงตนและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4),78,157,160 วรรคหนึ่ง และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวตามฟ้องแก่เจ้าพนักงานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเช่นนั้นแก่เจ้าพนักงานก่อนจำเลยถูกสอบสวนว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 หรือไม่ มิใช่เป็นการให้การของจำเลยในฐานะผู้ต้องหาในความผิดดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนอันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2540 (ฉบับเต็ม)

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ถ้าผู้ต้องหาการหรือเบิกความในฐานะพยาน จะมีความผิดหรือไม่

โดยคุณ ภัทรภูมิ จำปาทอง 15 ก.พ. 2561, 08:29

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก