คดีเกี่ยวกับสามีภริยาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน|คดีเกี่ยวกับสามีภริยาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน

คดีเกี่ยวกับสามีภริยาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คดีเกี่ยวกับสามีภริยาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน

ท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับคดีที่สามีภริยาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน

บทความวันที่ 17 มิ.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2064 ครั้ง


คดีเกี่ยวกับสามีภริยาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน

           ท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับคดีที่สามีภริยาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน เช่น เจ้าพนักงานที่ดิน  เรื่องสินสมรส  เจ้าหน้าที่ตำรวจ  เป็นต้น  ทนายคลายทุกข์จึงได้รวบรวมคำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นประโยชน์ต่อสามีภริยามีรายละเอียดดังนี้

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2518
            โจทก์จำเลยยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส และจำเลยให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อนาทะเบียนสมรสว่า จำเลยยังไม่เคยสมรสมาก่อนความจริงเป็นคู่สมรสกับหญิงอื่นอยู่แล้ว ซึ่งโจทก์ไม่ทราบ นายทะเบียนสมรสจดทะเบียนให้เพราะเชื่อถ้อยคำของจำเลยดังนี้ ผลจากการจดทะเบียนสมรสย่อมทำให้การสมรสนั้นสมบูรณ์ ทำให้โจทก์เปลี่ยนฐานะไปเป็นหญิงมีสามี การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของจำเลยจึงเกี่ยวกับฐานะบุคคลของโจทก์ที่ได้เปลี่ยนไปในขณะนั้น ถ้อยคำของจำเลยจึงกระทบกระเทือนถึงความเป็นอยู่ของโจทก์ด้วย การจดทะเบียนสมรสนั้นผิดเงื่อนไขแห่งการสมรส เป็นโมฆะ และฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1451 ถ้ามีบุคคลอ้างและศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ โจทก์อาจได้รับความเสียหายเพราะตกอยู่ในฐานะเป็นหญิงมีสามีไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อโจทก์ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดของจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2518(ฉบับเต็ม)

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2530
           โจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับน้องสาวของโจทก์ไว้ก่อนแล้ว การที่จำเลยแจ้งต่อนายทะเบียนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ให้จดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสาร ราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรส ณ ที่ใดมาก่อนเพื่อขอจดทะเบียนสมรส กับโจทก์ นายทะเบียนจึงจดทะเบียนสมรสให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2530(ฉบับเต็ม)

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2544
            ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. ในวันที่ 10 สิงหาคม2531 จำเลยไม่มีคู่สมรสเพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากับ ค. แล้วตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2515 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 การที่จำเลยไม่มีคู่สมรสอยู่ในขณะที่จดทะเบียนสมรส แม้จำเลยจะแจ้งว่าจำเลยเคยสมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลอย่างเดียวกันว่าจำเลยไม่มีคู่สมรสในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. นั่นเองการที่นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้จำเลยกับ ส. โดยเชื่อว่าจำเลยไม่เคยสมรสมาก่อนจึงไม่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายและไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2544(ฉบับเต็ม)

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8739/2552
           จำเลยซื้ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดในระหว่างสมรสกับโจทก์ อาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ การที่จำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นโสดไม่เคยมีคู่สมรสไม่ว่าจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการแจ้งความอันเป็นเท็จอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137
          เมื่ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย อำนาจการจัดการจำนองอาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวจำเลยก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้จำนองหรือโจทก์มีสินสมรสเพิ่มขึ้นหรือไม่ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
           การคุมความประพฤติจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่า ความผิดที่จะกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติต้องเป็นความผิดร้ายแรง หรือจำเลยต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสังคม หรือติดยาเสพติดให้โทษดังที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8739/2552(ฉบับเต็ม)

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก