นิติบุคคลอาคารชุด ไม่ต้องรับผิดในกรณีคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในห้องชุด|นิติบุคคลอาคารชุด ไม่ต้องรับผิดในกรณีคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในห้องชุด

นิติบุคคลอาคารชุด ไม่ต้องรับผิดในกรณีคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในห้องชุด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

นิติบุคคลอาคารชุด ไม่ต้องรับผิดในกรณีคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในห้องชุด

มีผู้อยู่อาศัยหลายคนสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องของหายในห้องชุด

บทความวันที่ 12 มิ.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2362 ครั้ง


นิติบุคคลอาคารชุด ไม่ต้องรับผิดในกรณีคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในห้องชุด

           มีผู้อยู่อาศัยหลายคนสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องของหายในห้องชุดและไม่มีใครรับผิดชอบ ทั้งๆ ที่มี รปภ. ปัจจุบันมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า นิติบุคคลไม่ต้องรับผิดแต่ถ้าจะให้รับผิด จะต้องมีข้อเท็จจริงปรากฎเพิ่มเติมว่า นิติบุคคลมีการกระทำใดที่มีลักษณะเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จึงจะต้องรับผิดในผลละเมิดที่ รปภ. ก่อให้เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย
          ความเห็นท่าน อ.เพ็ง  เพ็งนิติ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ความเห็นกฎหมายว่า ตามฎีกา 3220/2553 ถ้าโจทก์นำสืบได้ว่า ก่อนเข้าไปในห้องชุดคนร้ายจะต้องเดินไปตามที่เดินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง ขณะงัดแงะหรือใช้กุญแจปลอมเปิดประตูเข้าไปในห้องชุด จะต้องยืนหน้าห้องชุดอันเป็นทรัพย์สินส่วนกลางงัดแงะหรือเปิดกุญแจปลอมเข้าไป ก็เรียกได้ว่า รปภ. ไม่ดูแลป้องกันคนร้ายขณะอยู่ที่ทรัพย์สินส่วนกลางแล้วจำเลยต้องรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2553
           การกระทำอันเป็นละเมิดนั้นต้องเป็นการประทุษกรรมต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย หรือละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้กระทำ หรือที่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อ การละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำนั้นหาเป็นละเมิดไม่ เมื่อนิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่จัดการและดูแลเฉพาะทรัพย์ส่วนกลางซึ่งหมายถึง ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดและที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้เพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 4 วรรคสามเท่านั้น นิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่มีหน้าที่ดูแลรักษาห้องชุดซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลตามมาตรา 4 วรรคสองแต่อย่างใด ดังนั้นการที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตรวจตราอาคารชุดโดยใกล้ชิดและมีคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในห้องชุดของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าการลักทรัพย์เกิดจากการที่จำเลยที่ 1 งดเว้นหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2553 (ฉบับเต็ม)

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก