แกล้งร้องเรียน, แจ้งความ ฟ้องผู้อื่นระวังจะถูกฟ้องกลับ ถ้าไม่สุจริต|แกล้งร้องเรียน, แจ้งความ ฟ้องผู้อื่นระวังจะถูกฟ้องกลับ ถ้าไม่สุจริต

แกล้งร้องเรียน, แจ้งความ ฟ้องผู้อื่นระวังจะถูกฟ้องกลับ ถ้าไม่สุจริต

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แกล้งร้องเรียน, แจ้งความ ฟ้องผู้อื่นระวังจะถูกฟ้องกลับ ถ้าไม่สุจริต

ผู้เสียหายมีอำนาจร้องขอความเป็นธรรม ร้องทุกข์กล่าวโทษ ฟ้องร้องดำเนินคดี

บทความวันที่ 11 มิ.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 48680 ครั้ง


แกล้งร้องเรียน, แจ้งความ ฟ้องผู้อื่นระวังจะถูกฟ้องกลับ ถ้าไม่สุจริต

           ผู้เสียหายมีอำนาจร้องขอความเป็นธรรม ร้องทุกข์กล่าวโทษ ฟ้องร้องดำเนินคดี สิทธิดังกล่าวเป็นไปตาม ป.วิ.พ. หรือ ป.วิ.อ.แต่การใช้สิทธิต้องกระทำโดยสุจริต ไม่กลั่นแกล้งหรือรู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จไม่เป็นความจริง แต่ไปแกล้งร้องเรียนหรือแกล้งฟ้องร้องถือว่า เป็นการกระทำละเมิด
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2503
            การที่จำเลยแจ้งความเท็จเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยไม่มีอำนาจเอาความไม่จริงไปแจ้งความกล่าวหาโจทก์ และเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยทำให้โจทก์ถูกจับกุมและควบคุมเสียเสรีภาพจำเลยต้องรับผิดฐานละเมิด
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2533
            ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 บัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้นเป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยินหรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น ดังนี้ แม้คำเบิกความของ ฉ.และว.เป็นพยานบอกเล่า และแม้ผู้บอกเล่ายังมีตัวอยู่และสามารถนำสืบมาได้ศาลก็ย่อมมีอำนาจรับฟังคำพยานโจทก์ทั้งสองปาก ซึ่งเบิกความประกอบพยานเอกสารดังกล่าวได้
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2543
             แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ของจำเลย แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ใยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจำเลยหรือจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้วครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420
4.คำพิพากษาฎีกาที่ 1051/2495
             เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดบ้านเรือน โดยมีเหตุผลให้เชื่อโดยสุจริตว่าบ้านเรือนที่ยึดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จนถึงขายทอดตลาดบ้านเรือนนั้นไป ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำไปโดยใช้สิทธิของศาล เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้แทนกระทำไปโดยมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใดแล้ว ถึงแม้จะปรากฎว่าบ้านเรือนที่นำยึดเป็นของผู้อื่นการกระทำนั้น ไม่เป็นละเมิด
    การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาถือว่าเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ.การยึดทรัพย์นี้บางครั้งทรัพย์ที่ยึดเป็นของบุคคลอื่น ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อโดยสุจริตว่าทรัพย์ที่ไปยึดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ก็ถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามที่ ป.วิ.พ. ให้อำนาจไว้ไม่เป็นการจงใจทำให้ผู้อื่นเสียหาย จะมีปัญหาเฉพาะเรื่องประมาทเลินเล่อหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาครอบครองหรือใช้สอยอยู่ ซึ่งสามัญชนทั่วไปย่อมเชื่อได้ว่าทรัพย์ที่ยึดถือครอบครองหรือใช้สอบอยู่ เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็คงไม่ประมาทเลินเล่อ แต่ถ้าเป็นพวกอสังหาริมทรัพย์ก็น่าจะตรวจสอบจากเอกสารหนังสือสำคัญเกี่ยวกับสิทธิที่ดินก่อนหรือ ถ้าเชื่อว่าเขาครอบครองแทนกัน ก็จะต้องมีข้อเท็จจริงที่หนักแน่นให้ฟังได้ว่า หรือให้เข้าใจโดยสุจริตได้ว่า เป็นทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา มิฉะนั้น อาจจะเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ซึ่งเป็นละเมิดได้
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2529
            จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เลี่ยมกรอบพระเครื่องให้4องค์แต่ไม่ไปรับพระเครื่องที่โจทก์เลี่ยมกรอบเสร็จแล้วคืนโจทก์จึงขายพระเครื่องไปเช่นนี้การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ฐานยักยอกทรัพย์โดยไม่ได้ความว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งกล่าวหาย่อมถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตและการที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาควบคุมตัวและดำเนินการสอบสวนโจทก์จนกระทั่งพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์. การฟ้องเรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาทรัพย์ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้จึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826 - 827/2514
           โจทก์ฟ้องจำเลยด้วยเรื่องหุ้นส่วนเลี้ยงและขายไก่แบ่งปันกำไรกันขอให้พิพากษาบังคับจำเลยใช้ทุนคืนและจ่ายผลกำไร ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ไม่ใช่เรื่องเข้าหุ้นส่วน เป็นเรื่องจำเลยซื้อสินค้าเชื่อค้างชำระกันอยู่ พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อให้โจทก์ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
           เมื่อพฤติการณ์ที่จำเลยไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ จำเลยได้กระทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิและใช้สิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่ได้ความว่าจำเลยจงใจแกล้งให้โจทก์เสียหาย กรณียังไม่เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2528
            การใช้สิทธิทางศาล หากกระทำโดยไม่สุจริต จงใจแต่จะให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยใช้ศาลเป็นเครื่องกำบัง ก็เป็นการกระทำละเมิดได้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่มีสิทธิในทางภาระจำยอมอีกแล้ว กลับมายื่นคำร้องและนำสืบพยานหลักฐานในการไต่สวนคำร้องโดยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายหากได้ความเป็นความจริงตามฟ้องก็จะถือว่าจำเลยใช้สิทธิในทางศาลโดยสุจริตมิได้การกระทำของจำเลยอาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ห้ามโจทก์ โอนขาย จำหน่ายที่ดิน หากมีคำสั่งไปเพราะหลงเชื่อตามพยานหลักฐานเท็จหรือปกปิดความจริงที่จำเลยนำสืบ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ได้เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อนการสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียจึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าคำสั่งศาลมิใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยยื่นคำร้องการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้อง เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 227 แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2487
           ในเรื่องหมิ่นประมาทเขาซึ่งหน้าอันเป็นผิดฐานลหุโทษนั้นถือว่าเป็นการทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา420 ซึ่งศาลคำนวณค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์ตามมาตรา 438
           คำว่าสิทธิหมายถึงประโยชน์อันบุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นต้องเคารพหรือได้รับการรับรองและคุ้มครองของกฎหมาย
9.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2502
          ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยร้องเรียนและแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ถ้าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่า ข้อความที่จำเลยร้องเรียนและแจ้งแก่เจ้าพนักงานนั้น เท็จอย่างใดและความจริงเป็นฉันใด อันพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้ข้อความในตอนท้ายจะมีกล่าวว่าโดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า เป็นข้อความเท็จหรือมิได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น ก็เป็นข้อความที่กล่าวอย่างเคลือบคลุม ไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้ว่าเป็นเท็จในข้อใด คำว่า "หรือมิได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น" ก็เป็นคำกล่าวอย่างกว้างๆ ไม่แน่ชัดว่าเหตุที่ไม่มีการกระทำผิดเกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะไม่มีการกระทำหรือว่าเป็นเพราะการกระทำนั้นไม่เป็นผิดอาญาทั้งมีคำว่า "หรือ" ประกอบอยู่ในฟ้อง ซึ่งเป็นถ้อยคำที่แสดงถึงการไม่ยืนยันให้แน่ชัด ฟ้องโจทก์เช่นนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
           โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไปแจ้งความเท็จหาว่าโจทก์ลักทรัพย์เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานจับโจทก์ไปควบคุมไว้ ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพนั้น การที่โจทก์ถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวดังที่กล่าวในฟ้อง ย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งจะเห็นสมควรปฏิบัติต่อโจทก์อย่างใดตามควรแก่กรณี เพียงแต่พิจารณาฟ้อง ก็ยกฟ้องได้แล้ว เพราะตามที่บรรยายในฟ้องจำเลยยังไม่มีความผิดฐานนี้
10.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2516
            เอกสารที่บุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำได้ ได้ทำขึ้นนั้น แม้ข้อความในเอกสารนั้นจะไม่ตรงกับความจริง ก็หาเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารไม่
            จำเลยไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ยักยอกทรัพย์ จนโจทก์ถูกพนักงานสอบสวนกักขัง ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนใช้ดุลพินิจว่าจะกักขังโจทก์หรือไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310
11.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2531
            คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายถ้วยแก้วขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายที่โจทก์ต้องไปซื้อถ้วยแก้วจากผู้อื่นแพงขึ้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการที่โจทก์ต้องชำระเงินตามเช็คที่จำเลยโอนไปให้แก่บุคคลภายนอกและเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่โจทก์ต้องแต่งตั้งทนายความสู้คดีและต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องต่างประเด็นกัน และโจทก์เพิ่งชำระเงินตามเช็คไปหลังจากศาลชั้นต้นในคดีก่อนพิพากษาคดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 คำให้การของจำเลยต่อสู้ปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจึงชอบแล้ว จำเลยผิดสัญญาโอนเช็คที่โจทก์จ่ายเป็นประกันการชำระราคาซื้อขายถ้วยแก้วให้บุคคลภายนอก โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องและได้ชำระเงินตามเช็คให้บุคคลภายนอกไปแล้ว ค่าดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกผู้เป็นโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยได้ เพราะไม่เป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา ความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเรื่องละเมิดเกี่ยวกับการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณนั้น มีแต่เฉพาะการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติยศเพราะถูกจำคุกตามคำพิพากษา ค่าจ้างทนายความต่อสู้คดีที่โจทก์ผู้สั่งจ่ายถูกผู้ทรงฟ้องไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาและแม้จะเป็นเรื่องละเมิดก็นับว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเอาแก่จำเลย
12.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542
           จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายเทปเพลงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่มีผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้ทำซ้ำไว้แล้วเท่านั้น แม้การกระทำดังกล่าวจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ประชาชนขาดความเชื่อถือ และโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเทปเพลงลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเป็นเงินจำนวนมากก็ตามแต่ความเสียหายของโจทก์ที่ได้รับจากการกระทำของจำเลยโดยตรงที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้คงมีเฉพาะที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการที่จำเลยนำเทปเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกจำหน่าย อันอาจทำให้การจำหน่ายเทปเพลงของโจทก์ตกต่ำไป 175 ม้วน ซึ่งคิดเป็นเงินที่โจทก์จำหน่ายราคาม้วนละ 90 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท ส่วนความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือในกิจการของโจทก์นั้นมีไม่มากนัก ค่าเสียหายในส่วนนี้จำนวน 50,000 บาท จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยแล้ว แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่สำนักงานทนายความเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายเพื่อรักษาประโยชน์ในการดำเนินกิจการของโจทก์เท่านั้น มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยได้
           โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
13.คำพิพากษาฎีกาที่ 877/2531(ประชุมใหญ่)
            พิพากษาว่า การที่ไปเชื่อมสายไฟเอาไฟฟ้ามาใช้ในบ้านถือว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เพราะกระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่ในคดีแพ่งไม่มีปัญหาเมื่อกระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์สินแล้วทำละเมิดก็ถือว่าทำให้เสียหายต่อทรัพย์สิน การที่ขับรถโดยประมาทชนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าหักล้ม กระแสไฟฟ้าวิ่งลงดินหมด นอกจากเสาไฟฟ้าหักเสียหาย ซึ่งเป็นการเสียหายต่อทรัพย์สินแล้วยังเสียหายต่อกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์สินอีกอย่างหนึ่งด้วย+

14.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2553
           จำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธินำประเด็นที่ถึงที่สุดในคดีแรกมาฟ้องโจทก์ การที่จำเลยรู้อยู่แล้วยังนำคดีมาฟ้องโจทก์ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันนั้นอีก เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริตของจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายกระทำละเมิดต่อโจทก์และค่าว่าจ้างทนายความเข้าต่อสู้คดีกับจำเลยในเหตุที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องเสียไปในการปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์ไม่ให้เสียไปจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 10

กรณีเพื่อนน้องเอารถที่พ่อซื้อมาให้เอามาจำไว้ยืมเงิน4000 บาท แล้วเราถามตลอดเมื่อไหร่จะมาเอารถไม่มาเอาสักที เรารอพร้อมคืนให้ พอพ่อมาบอกว่าจะมาเอาเราก้อเอาไปให้แต่หัวหมอไม่อยากคืนตังทั้งที่ตอนแรกบอกจะมาไถ่ เลยเวลาคืนตั้งนานผมก้อไม่สนใจคิดดอกหรือยึดรถเพราะเป็นการให้ยืมแบบเพื่อนฝูง มาถึงแล้วมาพูดประมาณว่าจะไม่จ่าย ผมก้อเลยบอกงันเอาไปเลยไม่อยากมีปันหา แต่ซักพักไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านว่ารถถูกโขมยมาทั้งๆที่แกก้อรู้อยู่แล้วว่าลูกตัวเองมายืมตังคเพือนอีกอย่างแกเมาด้วยแล้วก้อไปพูดกับชาวบ้านว่าผมขโมยมาแล้วจะไปแจ้งความที่สถานีด้วยอันนี้ถือว่าพยามปรักปรำผมรึป่าวอีกอย่างผมเสียหายด้วยชาวบ้านนินทาแต่ผู้ใหญ่บ้านรู้ดีว่าเค้าเมาเลยจะเรียกร้องเงินกับผมประมานว่าถ้าไม่อยากมีคดีทั้งที่เค้ารู้อยู่แล้วว่าลูกเอามาแล้วจะมาไถ่ด้วยกรณีนี้ถือว่าพยามแจ้งความเท็จไหมครับผมเค้าใจว่าเรื่องเงินไม่มีลายลักอักษรไม่ได้คืนอยู่แล้วแต่เรื่องพยามจะให้ผมเป็นโขมยมานิสิผมมีหลักฐานแชทกับลูกเค้าด้วยพอสู้คดีได้ไหมครับ

โดยคุณ เอกพงษ์ 19 เม.ย. 2562, 14:49

ความคิดเห็นที่ 9

ถูกร้องเรียน โดยทีแรก ไม่ได้ระบุชื่อเรา ในข้อร้องเรียนเขียนว่า "บางคน" แต่กล่าวด้วยวาจาว่าเป็นเรา


ผู้บังคับบัญชารับเรื่องร้องเรียนให้ผู้ร้องเรียนเขียนเพิ่มเติม โดยให้ระบุชื่อเรา


ผู้ถูกร้องเรียนขอดูหลักฐานต้นฉบับแรก ที่ไม่ระบุชื่อ ผู้บังคับบัญชาไม่อนุญาตให้ดู และแจ้งว่า การให้ผู้ร้องเรียนมาระบุชื่อเพิ่มเติม แทนที่จะใช้คำว่า "บางคน" เพื่อให้สามารถดำเนินการไต่สวนข้อร้องเรียนได้ถูกคน


ขอความเมตตาท่านทนายและผู้รู้ช่วยให้ความรู้ว่า ในกรณีนี้ ผู้ถูกร้องเรียนมีสิทธิ์ขอดูเอกสารร้องเรียนฉบับแรก ที่ระบุคำว่า "บางคน" ก่อนที่ผู้บังคับบัญชาจะแจ้ง ให้ผู้ร้องเรียนมาระบุชื่อผู้ถูกร้องเรียนหรือไม่


และผู้บังคับบัญชา มีสิทธิ์ให้ผู้ร้องเรียนระบุชื้อผู้ถูกร้องเรียน เป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากที่ผู้ร้องเรียนกล่าวโดยวาจาหรือไม่


ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงล่วงหน้าสำหรับการตอบกระทู้

โดยคุณ U 22 พ.ค. 2561, 01:22

ความคิดเห็นที่ 8

เรื่องแบบนี้คุณคิดว่ามีจริงใหม?

ผมทำการค้าโดยทุจริตเป็นตัวแทนขายและผู้จัดหาสินค้า เหตุเกิดกับคนธรรมดาคนหนึ่ง(เด็กบ้านนอก)เติบโตจนได้ถือครองโค๊วต้าน้ำตาลส่งออกการค้าจึงสดุดด้วยสาเหตุขัดผลประโยชน์หรืออะไรไม่ทราบ มีคนติดต่อมาชื้อน้ำตาลและขอทำสัญญาชื้อขายโดยระบุว่า1มีจุดประสงค์ขอชำระเงินล่วงหน้าเพื่อให้เรานำไปชำระน้ำตาลทันทีเพื่อให้ราคาไม่ปรับขึ้นลง(เงินเกืบถึง10ล้านบาท)การจัดหาจัดส่ง1ปี

2 ส่งไปด่านแม่สอด

3 ระงับพิพาทอนุโญโตตุลาการ

4 ทำสัญญาที่ กทม  ติดต่อขอชื้อถึง5ครั้ง ผ่านตัวแทนและเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถทำสัญญาได้จนครั้งที่5 ถึงตลงทำสัญญาได้ มีการชีแจงและแจ้งระเบียบการค้าสินค้าควบคุม

5 ผู้ชื้อนำหลักฐานการมีเงินฝากหลายบัญชีมีเกือบ60ล้านบาล

6 ในเวลาใกล้เคียงกันมีคนมาทำสัญญาชื้อขายลักษณะเดียวกันวางเงินรวม10ล้านแต่ละราย แต่ไปคนละที่ ด่านเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และ ด่านคำม้วน นครพนม และไปท่าเรือแหลมฉบัง ต่างคนต่างที่มาต่างที่ไปต่างราคาตกลงชื้อขาย

7 พอถึงเวลาเทรดเด้อเดินทางมาไทย พวกเขาเหลานี้ไปหาเทรดเด้อเจ้าของโค๊วต้าน้ำตาลตรงเพื่อชื้อขายกันตรง โดยได้ข้อมูลมาจากใบเสร็จโอนเงินไปชำระค่าสินค้าทันที่ตามสัญญาและเขารับใบเสร็จไปตามข้อตกลงสัญญา พอต่างประเทศไม่ขายพวกเขาให้ใครไม่ทราบ(แคบรู้ที่ด่านคนตรวจคนเข้าเมืองสุวรรณภูมิหน้าจอคอมพิวเตอร์เลยพร้อมวันเวลาเดินทางไปกลับพักโรงแรมใหน)แล้วไปข่มขู่เอาชีวตเขาถึงโรงแรมจนต้องเดินร้องขอเจ้าหน้าที่คุ้มครองแล้วกลับออกไปก่อนกำหนด

7 ความล่าช้ามีถึงสองเดือน พวกเขาคุกคามบุกรุกทำร้ายพวกเราสาระพัดจนต้องขอความเมตตาจากพวกเขา และถึงเวลารับน้ำตาลเอกสารออกบางคนมีชื่อบนใบกำกับสินค้าของรัฐบาลไทยออก พวกเขาทั้งหมดไม่ขอรับน้ำตาล?และสูญหายไปนอกจากข้อความว่ายกเลิกรับตอนนี้เพราะล่าช้า

8 พวกเขาไปแจ้งความที่ กองปราบ DSI ศูนย์ณรงธรรม ความมั่นคง และสถานนีตำรวจ หลังหายไปเกือบ4เดือนมาพร้อมข่าวแจ้งความ

9 แถลงข่าวทีวีหนังสือพิมพ์ว่าเราฉ้อโกงมีผู้เสียหาย5,000-6,000คนไปร้องเรียนแถลงข่าวทุกๆที่โดยคนออกแถลงข่าวไม่ใช่คนทำสัญญาแต่บอกเป็นตัวแทนผู้เสียหาย(เด็กบ้านนอกคนหนึ่งโด่งดังภายในคำคืน)

10 พวกเขาไปฟ้องคนละที่โดยฟ้องที่ไม่ใช่เกิดเหตุ และสิ่งที่แปลกอีกพวกเขารวมเป็นพยานการฟ้องคดีในชั้นศาลนัดไต่สวนพยาน เอกสารที่เรามีล้วนเป็นเอกสารการออกมาจากรัฐบาลที่อนุญาติให้ค้าขายและการส่งมอบน้ำตาลตาม พรบ.อ้อยและน้ำตาล ชัดเจนแม้กนะทั้งการขออนุญาติโอนเงินไปชำระสินค้า ตามกฏหมายควบคุมการแลกเปลียนเงินตราและกฏหมายควบคุมการป้องกันและปราบปราบการฟอกเงิน

11.พนักงานออกหมายเรียกครั้งที่1-2ทนายคนที่1และผมไปพบพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกใหม่ครั้งที่1-2ผมและทนายคนใหม่คนที่2ไปพบพนักงานสอบส่วนๆออกหมายเรียกใหม่อีก1-2ผมและทนายคนที่สามไปพบใหม่อีก 

12 ผู้ชื้อไปฟ้องที่ศาลเอง ศาลที่แม่สอด(คดีเกิดที่กรุงเทพ)ศาลรับฟ้องมีมูลโดยแจ้งว่ามีการโทรมาจากแม่สอดติดต่อชื้อครั้ง(ไม่มีการติดต่อมาก่อนมีนายหน้าตัวแทนมาเจรจาถึง4ครั้ง ครั้งที่5ถึงเกิดสัญญาชื้อขายบรรลุข้อตกลงการเจรจาการค้า ศาลรับฟ้อง นัดไต่สวนพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกใหม่ไปพบพนักงานสอบสวนทั้งที่มีการประกันตัวแล้วที่ศาล พนักงานสอบสวนจะนำตัวไปสอบสวนและไปฝากขัง? สรุปทั้งศาลและเจ้าหน้าที่สอบสวนเขาสอบสวนและอยู่ในอำนาจจริงใหม?ผมไม่ทราบข้อกฏหมายถึงมาอ่านที่นี้

13 ประกันตัวคดีอาญาในคดีฉอโกงมูลค่าทรัพย์ 6 ล้านบาท ประกันตัวที่ศาลถึง4ล้านหลักทรัพย์โฉนดที่ดินประเมินกรมที่ดิน(ราคาต่ำกว่าราคาจริงมาก)ไปยื่นประกันศาลตีมูลค่าให้มากสุดราคาประเมิน70%และ40% ใช่โฉนดถึง4แปลงไม่พอ เพิ่มเงินสด220,000บาท(น้ำตาจะใหล)

14.เราโดนสื่อทีวีและโลกออนไลน์จากที่พวกเขาไปแถลงข่าวกล่าวพาดพิงชื่อนามสกุลชื่อบริษัทอยางหนักสถานะทุกวันนี้ขายสินค้าไม่ได้เลย5เดือนเต็ม 

15.ถ้าผมฉ้อโกงผมจะจ่ายค่าสินค่าทำไม?ถ้าผมฉ่อโกงจะจ่ายค่าสินค้าก่อนที่ได้รับเงินพวกเขาทำไมจ่ายค่าสินค้า100%ก่อนส่งมอบและจ่ายค่าสินค่า30%ก่อนพวกเขาจ่ายเงินผม7%-10%ทำไม

16 มีสิทธิขอความเป็นธรรมใหมพวกเขาปลอมแปลงสัญญาที่ทำไม่ตรงวันที่ทำไม่ตรงเนื้อหาบางส่วน พยานไห้ปากคำไม่มีตัวตนจริงและเกียวข้อง ผมไม่รู้จักพวกเขาเลยแต่อ้างเสียหาย? ผมและภรรยาทำได้แค่กอดกันร้องให้กับลูกสาวคนเล็กอายุได้1ปีพอดี


ทุกคำและข้อความที่พิมพ์นี้ ข้าพเจ้าผู้เขียนข้อรับรองเป็นข้อมูลจริงและยอมรับเบิกความทุกศาลในโลกว่าไม่ได้เบิกความเท็จ (นี้เป็นแค่บ้างส่วนที่จะบอกเล่าได้)


การเขียนเรื่องนี้ไม่ข้อพาดพิงผู้ใดเสียหาย เพียงขอความเมตตาและความถูกต้องความยุติธรรมให้ครอบครัวและตัวผมเองเท่านั้น ผมสามารถร้องเรียนร้องขอความเป็นธรรมได้ที่ใหนสิทธิที่ผมกระทำได้อะไรบ้างครับ

โดยคุณ ผู้ตกเป็นจำเลยสังคม 27 พ.ค. 2560, 18:24

ความคิดเห็นที่ 7

 โดนผู้ที่ไม่หวังดีโทรไปร้องเรียนที่สำนักงานใหญ่ว่าข้าพเจ้าบริการไม่ดีซึ่งความจริงคือบุคคลดังกล่าวไม่เคยมาใช้บริการที่สาขาที่ข้าพเจ้าทำงานอยู่แต่อย่างใดซึ่งเขาโทรไปร้องเรียนเพื่อนหวังจะกลั่นแกล้งให้ข้าพเจ้าโดนไล่ออกจากงานข้าพเจ้าสามารถกระทำการอย่างใดเพื่อนปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนเองได้บ้างหรือไม่ค่ะและหากจะฟ้องกลับบุคคลดังกล่าวที่กระทำการร้องเรียนเท็จได้อย่างไรบ้างไหมค่ะ ขอรบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ สุนิษา 14 มี.ค. 2560, 00:34

ความคิดเห็นที่ 6

กรณีของหนูตอนนี้คือมีคนรู้จักคนหนึ่งเดือดร้อนเรื่องเงินแล้วเขาเอารถที่ติดไฟแนนท์มาให้แฟนหนูส่งงวดต่อประมาณ5-6เดือนได้แต่แล้วเจ้าของรถก็ไปแจ้งความที่โรงพักว่าแฟนหนูขโมยรถเขามาตำรวจมายึดรถที่บ้านอย่างนี้ถ้าเราจะแจ้งความกลับได้ไหมค่ะ

โดยคุณ ข้าวฟ่าง 22 ก.พ. 2560, 10:18

ความคิดเห็นที่ 5

 ข้าพเจ้าถูกเรียกเอาเงินจำนวน 40,000 บาท โดยผู้เรียกอ้างว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินแปลงหนึ่งของผู้ถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ไปโดยไม่มีพยานหลักฐาน และไม่รู้ว่าของหายไปเมื่อใด ดังนี้ มีวิธีจัดการตามกฏหมายอย่างไร

โดยคุณ ปู 16 เม.ย. 2559, 09:23

ความคิดเห็นที่ 4

กรณีถูกร้องเรียนจากกลุ่มคนที่ออกจากงานไปแล้ว

และข้อร้องเรียนได้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง

จะมีวิธีจัดการกับผู้ร้องเรียนได้อย่างไรบ้าง

โดยคุณ สรวิศ 16 พ.ย. 2558, 08:01

ความคิดเห็นที่ 3

 ผมโดยฟ้องข้อหาฆ่าคนตายแต่ผมไม่ได้ทำคดีตัดสินยกฟ้องผมชนะคดีความผมสามารถฟ้องกลับเอาค่าเสียหายได้หรือไม่เพราะผมหมดเงินจ้างทนายสู้คดีหลายบาทต้องเป็นหนี้เป็นสินคับ

โดยคุณ สรอรรถ ช่วยชัย 6 ก.ย. 2558, 04:34

ความคิดเห็นที่ 2

 อาชีพเกียวกับการให้บริการ ถ้าเราปฏิบัติตามระเบียบแล้วมีการร้องเรียนไปที่บริษัทที่เราทำงานอยู่ โดยใส่สีตีไข่ไม่เป็นความจริง โดยมีกล้องวงจรปิดหรือภาพถ่ายบัตรเป็นหลักฐาน เราสามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้หรือไม่คะ อยากให้มีคดีบรรทัดฐานให้กับอาชีพผู้ให้บริการบ้าง เช่น ใช้บัตรข้าราชการหมดอายุปี 56 มาทำธุรกรรม พอชี้แจงบอกว่าดูถูกความเป็นข้าราชการของเค้า, หรือ อ้างเป็นทายาทมาทำนิติกรรมแทนผู้ตายโดยไม่มีเอกสารแสดงตนเป็นทายาท เป็นต้น เพราะเดี๋ยวนี้รู้สึกว่าไม่ค่อยฟังเหตุผลกัน  และไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด ถือว่าอำนาจการร้องเรียนอยู่ในมือ ถ้าเกิดความเสียหายกับผู้ถูกร้องเรียน สามารถฟ้องฐานละเมิดได้หรือไม่คะ

โดยคุณ Jeab 23 ก.ค. 2558, 01:40

ความคิดเห็นที่ 1

มีปัญหา อยากถาม ค่ะ นาย ก. แจ้งความต่อเจ้าพนักงานสืบสวน โดยรับมอบอำนาจ จากบริษัทไฟแนนท์ ว่า แม่ ยักยอกทรัพย์ โดย เจ้าหน้าที่แจ้ง เบื้องต้น ว่า เค้าแจ้งว่า เค้า จำนำรถมอเตอร์ไซ แล้ว จะมา ถ่าย เราไม่มีรถ คืน แต่ แม่ไม่เคยรับจำนำรถเค้า เราบอกเจ้าหน้าที่ ก็พูด คำเดียว งั้น เดี๋ยวผมส่งฟ้องไปสู้ในศาล เจ้าหน้าที่แจ้งว่าเค้าจะใกล่เกลี่ย รถเค้าราคา 4 หมื่น แม่ไม่รู้จะทำไง ก็เค้าไม่เคยรับจำนำรถใครแล้วจะไปเอารถที่ไหนมาคืน แบบนี้ แม่ผิด ตรงไหน ค๊ะ ตำรวจบอกว่า ยังไม่ได้เป็นผู้ต้องหาให้ไกล่เกลี่ยแม่บอกว่าเค้าเคยเห็นนาย ก. 2 ครั้ง ไม่เคยคุยกันเลย แจ้งผิดคนแล้ว ตำรวจ ก็พูดคำเดียวนั่นป้าต้องไปให้การในชั้นศาล อยากทราบว่าแม่เราจะมีความผิดไหมค๊ะ แล้วทำไมตำรวจรับแจ้งความแค่คำพูดปรักปรำ แล้วทำไมดค้าถึงพูดว่าราคารถ 40000 บาท ความจริงเค้าโกหก เราควรทำไงค๊ะ ตำรวจก็ไม่เชื่อเรา

โดยคุณ Aey 25 พ.ค. 2558, 17:55

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก