ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์|ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์

ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์

มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับคดีบัตริเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต บัตรเดบิต

บทความวันที่ 9 มิ.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 27909 ครั้ง


ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์
 

            มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับคดีบัตริเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต บัตรเดบิต  ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาเยอะมาก แยกออกเป็นดังนี้
           1. การปลอมบัตร
           2. การขโมยข้อมูลบัตร
           3. การนำบัตรบุคคลอื่นไปใช้โดยความยินยอม
           4. การนำบัตรบุคคลอื่นไปใช้โดยไม่ยินยอม
           ผมได้รวบรวมฎีกาที่เกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดมานำเสนอท่านผู้อ่าน หากท่านได้รับความเดือดร้อนจากการที่คนอื่นนำบัตรของท่านใช้โดยมิชอบ มีด้วยกันหลายฎีกา ซึ่งเคยออกข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2556 และเคยออกข้อสอบอัยการผู้ช่วยมาแล้ว หวังว่าท่านจะได้รับประโยชน์จากคำพิพากษาที่ได้รวบรวมมา  มีข้อสงสัยเกี่ยวกับคดีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ สอบถามได้ที่ 02-9485700


1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2539
จำเลยนำโทรศัพท์มือถือมาปรับจูนและก๊อปปี้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายแล้วใช้รับส่งวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเพียงการแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายโดยไม่มีสิทธิ มิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ต้องพิพากษายกฟ้อง

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8177/2543
การกระทำของจำเลยตามฟ้องที่ระบุว่าจำเลยร่วมกับพวกลักเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอันเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับวิทยุคมนาคม โดยจำเลยกับพวกนำเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ปรับคลื่นสัญญาณและรหัสเลขหมายของโทรศัพท์ผู้อื่นมาใช้ติดต่อสื่อสารโทรออกหรือรับการเรียกเข้าผ่านสถานีและชุมสายโทรศัพท์ระบบเซลลูลาร์ของผู้เสียหายนั้น เป็นเพียงการรับส่งวิทยุคมนาคมหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์โดยไม่มีสิทธินั่นเอง จึงมิใช่เป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยทุจริตการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(7) วรรคสอง แต่จำเลยคงมีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมฯ

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2540
จำเลยปลอมบัตรเครดิตธนาคารแล้วใช้บัตรเครดิตดังกล่าวรูดกับเครื่องรูด บัตรเครดิตซึ่งธนาคารให้ไว้แก่จำเลยและปลอมเซลสลิปของบุคคลหลายคนเพื่อแสดงว่าผู้เป็นเจ้าของบัตรเครดิตได้ซื้อหรือใช้บริการด้วยบัตรเครดิตดังกล่าว จำเลยกระทำอยู่หลายครั้งอย่างมีระบบเป็นลักษณะมืออาชีพพฤติการณ์เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศจึงไม่สมควรรอการลงโทษให้จำเลยแต่ภายหลังกระทำผิดจำเลยรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้าย โดยชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายจนผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง จึงสมควรวางโทษให้เบาลง

4.คำพิพากษาฎีกาที่ 9276/2553 

จำเลยรู้อยู่แล้วว่า บัตรเครดิตที่จำเลยใช้ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบัตรเครดิตปลอม เมื่อจำเลยนำบัตรเครดิตดังกล่าวไปใช้จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ทั้งการที่จำเลยปกปิกชื่อจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งต่อพนักงานขายโดยจำเลยเซ็นชื่อที่ปรากฎในบัตรว่าเป็นจำเลยซึ่งไม่เป็นความจริง เมื่อผู้ขายรู้ว่าบัตรเครดิตดังกล่าวเป็นบัตรเครดิตปลอม จึงไม่ส่งมอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้แก่จำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและพยายามฉ้อโกงด้วย

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2543
การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม.ไปจากผู้เสียหายแล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็มดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหาย โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
            การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปนั้นเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 188
            บัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบการกระทำของจำเลยที่ใช้บัตรเอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายแล้วลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกันแม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2550

โจทก์ฟ้องจำเลยแยกเป็น 2 ข้อ คือ ข้อ 1.1 และข้อ 1.2 การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมาแต่ละข้อเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง โดยโจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 ว่า จำเลยได้ลักทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ก. ที่ออกให้แก่ผู้เสียหายไปโดยทุจริต ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ธนาคาร ก. ผู้อื่นและประชาชน ความผิดดังกล่าวย่อมสำเร็จเมื่อจำเลยลักเอาบัตรดังกล่าวไป และโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อ 1.2 ว่าภายหลังการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 แล้ว จำเลยได้นำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปใช้ลักทรัพย์เบิกถอนโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายโดยทุจริต ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ธนาคาร ก. ผู้อื่นและประชาชน ดังนี้ การกระทำของจำเลยในข้อ 1.2 จึงเป็นคนละวาระกันกับการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือ ทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.2 คือเงินจำนวน 92,640 บาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดหลายกรรม หาใช่กรรมเดียวดังที่จำเลยฎีกาไม่

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2551
จำเลยลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายแล้วนำไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ ดังนั้น การลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายกับลักเงินของผู้เสียหายโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติในแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าการกระทำแต่ละครั้งดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา 269/7 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยรวม 14 กระทง ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225


8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2551
จำเลยลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายแล้วนำไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ ดังนั้น การลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายกับลักเงินของผู้เสียหายโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติในแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าการกระทำแต่ละครั้งดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา 269/7 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยรวม 14 กระทง ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 11

ผมทำธุรกรรมการเงินการเงินกับบริษัทเงินกู้แห่งหนึ่งที่ถูกกฎหมายโดยในสัญญาจะต้องนำบัตรเอทีเอ็มกับสมุดบัญชีไว้เป็นหลักประกันซึ่งทุกสิ้นเดือนทางผู้ให้กู้เงินจะหักเงินผ่านบัญชีทุกวันที่30ของเดือนจนกว่าจะครบตามที่ตกลงในสัญญาแต่ในวันที่28-10-22 ได้มีเงินออกในบัญชี500บาท ซึ่งได้ตรวจสอบจากธนาคารพบว่ามีการนำบัตรไปกดจากATM ในปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งซึ่งเงินที่ค้างอยู่ในบัญชีเป็นเงินที่ผมเพิ่งให้น้องสาวโอนมาให้เนื่องจากไม่มีตังกินข้าวก็เลยอยากทราบว่าผมสามารถฟ้องได้มั้ยครับซึ่งเขาได้นำเอทีเอ็มไปกดโดยไม่ได้รับความยินยอมและไม่ได้แจ้งผม


โดยคุณ Panyathan 28 ต.ค. 2565, 21:43

ความคิดเห็นที่ 10

ผมได้เอาบัตรไม่ใช่ของตนไปกดมา10000โดยไม่ได้รัยอนุญาติ จะมีความผิดประการได

โดยคุณ วิศววัชกรณ์ มะสุวรรณ 14 มิ.ย. 2563, 14:48

ความคิดเห็นที่ 9

การที่เรานำบัตร เอทีเอ็ม แฟน ไปกดเงิน โดยได้รับอณุญาติ จะมีความผิด ไหมคะ

โดยคุณ ปัง ปัง 23 ธ.ค. 2562, 15:03

ตอบความคิดเห็นที่ 9

หากมีการอนุญาตจากเจ้าของบัตรไม่มีความผิด แต่ทั้งนี้ขอให้มีหลักฐานหรือคำพูดว่าอนุญาตให้ใช้จะได้คุ้มครองมากขึ้น

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 2 ก.พ. 2563, 13:45

ความคิดเห็นที่ 8

ผมสมัครบัตรอิออนตอนอยู่กับแฟนเก่า ตอนนี้ได้เลิกลากันไปแล้ว และมีข้อตกลงกันว่า แฟนเก่าผมจะเป็นคนรับผิดชอบเรื่องค่าบัตร แต่ตอนนี้ทางอิออนโทรแจ้งมากับผมว่า ค้างจ่ายค่าบัตรเป็นเวล 1 ปี จากยอด 2 หมื่นกว่าบาท ตอนนี้ทั้งต้นทั้งดอกเพิ่มเป็น 5 หมื่น แต่แฟนเก่าปฏิเสธที่จะรับผิดชอบ ผมจะทำยังงัยดีคับ ซึ่งบัตรแฟนเก่า็เอาไปด้วย

โดยคุณ ธนกฤติ แสนแก้ว 29 ต.ค. 2562, 20:23

ตอบความคิดเห็นที่ 8

ไม่ทราบว่าจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ครับ ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันเป็นหนี้ส่วนตัวครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 8 พ.ย. 2562, 09:53

ความคิดเห็นที่ 7

สอบถามหน่อยค่ะ ถ้าเราใช้บัตรเอทีเอ็มคนอื่นไปกด โดยได้รับความยินยอม โดยที่เราและเจ้าของบัตรไปโกงเงินบริษัทมา เราจะโดนข้อหาอะไรบ้างค่ะ หรือเราจะโดนคนเดียว รบกวนตอบหน่อยนะค่ะ

โดยคุณ จิราทิพย์ 22 พ.ค. 2562, 23:42

ตอบความคิดเห็นที่ 7

กรณีนี้การใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้อื่นไม่เป็นความผิดตามป.อาญามาตรา269/5 แต่จะเป็นความผิดก็จะผิดในส่วนเงินที่คุณไปโกงบริษัทมาในข้อหาฉ้อโกงได้ครับตามมาตรา 341 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 4 มิ.ย. 2562, 11:35

ความคิดเห็นที่ 6

 อยากสอบถาม

ดิฉันถูกขโมยบัตรเครดิตแล้วคนร้ายก้เอาไปกดเงินสดจนเต็มวงเงิน อยากทราบว่าคนร้ายจะมีความผิดอะไรบ้างค่ะ พึ่งโดนไปมาเลยค่ะ

โดยคุณ แหม่มไหม 12 ก.พ. 2562, 18:59

ความคิดเห็นที่ 5

ดิชั้น ถูกจับกุมเมื่ออายุ15ปี คดี ฉ้อโกงและปลอมแปลงบัตรอีเลค์ทรอนิค เสร้จแล้วได้ประกันตัวที่สถานพินิจและไม่ได้ไปรายงานตัวผ่านมา10กว่าปีได้มีหมายจับมาตอนนี้อายุ28ไม่ทราบว่า ถ้าเราจะเข้าหมอบตัวคดีจะร้ายแรงไหมค้ะ

โดยคุณ apirak 23 เม.ย. 2561, 17:21

ความคิดเห็นที่ 4

อยากสอบถาม

ดิฉันได้ทำการนำเลขบัตรเครดิผู้อื่นมาซื้อของในแอบไลท์แล้วถูกจับได้รวมจำนวนเงินที่สังของไปเป็นจำนวนเงิน25000

ฉันจะโดนรับโทษอย่างไร

โดยคุณ ขอโอกาส 4 เม.ย. 2561, 12:28

ความคิดเห็นที่ 3

 ความผิดใช้รับเครดิตปลอม ศาลชั้นต้นตัดสิน4ปี ถ้าชั้นอุธรณ์ขอประกันตัวจะได้ไม แต่จำเลยเป็นมาเลย์เซีย ชั้นศาลให้การรับ ใช้บัตรราคา6000บาท แต่มีในครอบครองทั้ง17บัตรใช้ได้ใบเดียว อยากทราบจะขอประกันได้ไม 

โดยคุณ จีรพันธ์ หาญกล้า 4 ม.ค. 2559, 00:54

ความคิดเห็นที่ 2

ข้าฯเป็นจำเลยในข้อหาดังกล่าวนี้เช่นกัน   ศาลชั้นตัน พิพากาาลงโทษลักในที่เกิดเหตุที่จำเลยอ้างว่าบัตรหาย 1 ปี ลงโทษว่าลักกดตังที่ตู้ ATM 3 เดือน...ข้าฯอุธรณ์ ศาลอุธรณ์ ยกฟ้องลักที่เกิดเหตุที่ผู้เสียหายอ้างบัตรหาย (เพราะไม่มีร่องรอยใดๆบ่งบอกว่ามีการลักทรัพย์เกิดขึ้น) จึงลงโทษเพียงกระทงความผิดเดียวคือลักกดตังที่ตู้ ATM แต่เพิ่มโทษเป็น 1 ปี.....ข้าฯยื่นฎีกา ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองฎีกาสองท่าน และให้เหตุผลว่า มีเหตุต้องสงสัย ควรขึ้นศาลสูง...ข้าฯขอทราบแนวทางว่าคำพิพากาาฎีกาจะไปในทิศทางใด เช่น ลงโทษ ยกฟ้อง หรือรอลงอาญา.....ข้อเท็จจริงในคดีนี้ ข้าฯปฏิเสธเหตุผลคือเป็นเพียงแพะรับบาป สิ่งที่ต่อสู้ได้และได้ส่งพิสูจน์แล้วนำส่งศาลฎีกาแล้วคือภาพถ่ายจากกล้อง CCTV ซึ่งไม่ใช่ภาพของข้าฯแต่อย่างใดและเวลาที่คนอ้างตนเป็นประจักษ์พยานว่าเห็นข้าไปกดตัง ต่างกับเวลาที่บันทึกในภาพ 1 ชั่วโมงกว่า....โปรดตอบข้าฯด้วย ปัจจุบันมีความทุกข์เป็นอย่างมากครับ.....ด้วยความนับถือ  จ.ส.ต.เดชฤทธิ์  ทองงาม จนท.ศทส.ฉก.ตชด.43...ตชด.ชายแดนใต้ครับ

โดยคุณ จ.ส.ต.เดชฤทธิ์ ทองงาม 11 มี.ค. 2558, 09:48

ความคิดเห็นที่ 1

อยากได้คำวินิจฉัยด้วยอ่ะค่ะพอดีต้องทำรายงาน สรุปด้วยค่ะ

โดยคุณ นฤมล 18 ก.ย. 2556, 21:41

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก