ความหมายของ |ความหมายของ

ความหมายของ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความหมายของ

คำว่า

บทความวันที่ 4 มิ.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11143 ครั้ง


ความหมายของ "บังคับคดีตามคำพิพากษานั้น..คืออะไร"

    
          1.คำว่า " บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271คือ? "1..หมายถึงถ้าเราโดนศาลสั่งให้บังคับคดี 10 ปี หลังจากการฟ้องร้อง ภายใน 10 ปี เราไม่สามารถมีทรัพย์สินอื่นๆ ได้ หรือ หมายความอย่างไรคะ ?
          2. สินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความ 5 ปี  ถ้าภายใน 5 ปี ไม่มีการฟ้องร้อง หลังจาก 5 ปีแล้ว เราสามารถมีทรัพย์สินได้ไหม? จะมีคดีหลังจาก 5 ปีนี้อีกไหมคะ ?


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
           1. การบังคับคดีนั้นเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับเมื่อใดก็ได้ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 ไม่ได้บัญญัติว่า ต้องมีการบังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีด้วยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 โดยไม่มีกฎหมายห้ามการที่ลูกหนี้นั้นมีทรัพย์สิน แต่หากมีทรัพย์สินแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการดังกล่าวได้
          2. สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ เจ้าหนี้ก็ฟ้องร้องได้ แต่ลูกหนี้มีสิทธิที่จะยกอายุความต่อสู้เพื่อปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/10, 193/29
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก