เกิดอุบัติเหตุในบ้าน ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย|เกิดอุบัติเหตุในบ้าน ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

เกิดอุบัติเหตุในบ้าน ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เกิดอุบัติเหตุในบ้าน ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

เมื่อประมาณวันที่ 23-4-56 คุณพ่อได้เดินทางไปรื้อถอนบ้าน

บทความวันที่ 14 พ.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1146 ครั้ง


เกิดอุบัติเหตุในบ้าน ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย


            เมื่อประมาณวันที่ 23-4-56 คุณพ่อได้เดินทางไปรื้อถอนบ้านที่ต่างจังหวัดเป็นบ้านปูนชั้นเดียว เพื่อที่จะสร้างหลังใหม่ และทำเหมือนแคมป์คนงานไว้ข้างๆ พื้นที่บริเวณบ้านและขนย้ายสิ่งของมาไว้เพื่อการอยู่อาศัยและขายของชำ มีคุณตาอายุประมาณ 70 ปีอยู่อาศัย จนกระทั่งวันที่ 29-4-56 คุณพ่อได้เดินทางกลับมาบ้านที่กรุงเทพ
            จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1-5-56 เวลาประมาณบ่าย 3-4 ที่บ้านต่างจังหวัดได้ว่าจ้างรถขนดินมาถมพื้นที่ แต่เกิดการเฉี่ยวชนและเกี่ยวสายไฟที่ต่อพ่วงไปยังบ้านพักขาดและห้อยลงมา พอหลังจากรถขนดินกลับไปไม่นาน มีลูกค้าอุ้มลูกชายวัยขวบ 11 เดือน มาซื้อสินค้าที่ร้าน และปล่อยให้ลูกวิ่งเล่น ไปโดนไฟดูดเสียชีวิต  ทางผู้เสียหายแจ้งความเอาผิดกับคุณตา ซึ่งเป็นผู้พักอาศัยในข้อหา ทำการประมาทเป็นเหตุให้ผุ้อื่นถึงแก่ความตาย เรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาท  แต่เหตุที่เกิดเป็นเหตุสุดวิสัย ทางเจ้าของบ้านมีเงินช่วยเหลือเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ได้ในจำนวนเงิน 3 หมื่นบาท ผู้เสียหายไม่ยอมรับเงินจำนวนนี้ ไม่ทราบว่าจะปล่อยให้ฟ้องเลยจะดีหรือไม่ค่ะ หรือว่ามีทางออกอื่นที่ดีกว่านี้


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์

           ไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพผู้ครอบครองหรือควบคุมต้องรับผิดโดยกรณีไฟฟ้าที่พาดสายไปตามถนน ถือว่าผู้ครอบครองคือผู้จำหน่ายไฟฟ้า แต่ถ้าต่อสายไฟฟ้าเข้าไปยังสถานที่ของผู้ใช้ไฟฟ้า เช่น บ้านพักอาศัยหรือร้านค้าตามกรณีข้อเท็จจริงตามปัญหาแล้ว ถือว่าสายไฟฟ้าในช่วงดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของผู้ใช้ไฟฟ้าแล้ว หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากไฟฟ้าและ ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 437 วรรคสอง ดังนั้น ถ้าไม่สามารถไกล่เกลี่ยตกลงประนีประนอมยอมความกันได้คู่กรณีจำต้องนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลวินิจฉัยตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทจากพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไป
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก